- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
หมายเหตุรอมฎอน (1)

คอลัมน์ : สันติธรรม
ผู้เขียน : บรรจง บินกาซัน
(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 8 เม.ย. 65)
ตลอดเดือนเมษายนของปีนี้เป็นช่วงเวลาที่มุสลิมที่บรรลุวัยผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงในประเทศต่างๆทั่วโลกต่างถือศีลอดซึ่งเป็นศาสนบัญญัติสำคัญหนึ่งในห้าประการของอิสลาม มุสลิมคนใดละเว้นการถือศีลอดโดยไม่มีเหตุผลที่พระเจ้าอนุมัติถือว่าทำบาปใหญ่
ประเทศมุสลิมอาจเริ่มต้นเดือนรอมฎอนต่างกันเพราะปฏิทินทางจันทรคติอาศัยการดูดวงจันทร์ มุสลิมในประเทศไทยเริ่มต้นวันที่ 3 เมษายน ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลางเริ่มวันที่ 2 เมษายน
คัมภีร์กุรอานกล่าวว่าเดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่คัมภีร์กุรอานถูกประทานลงมาเพื่อเป็นทางนำแก่มนุษยชาติ ไม่ใช่เฉพาะชาวอาหรับเท่านั้นแม้จะถูกประทานมาเป็นภาษาอาหรับก็ตาม ความจริงแล้ว นบีมุฮัมมัดกล่าวว่าวจนะของพระเจ้าที่ประทานมายังมนุษย์ผ่านทางนบีคนสำคัญอย่างเช่น อับราฮัม โมเสส ดาวูดและเยซัส ล้วนถูกประทานมาในเดือนรอมฎอนทั้งสิ้นและวจนะของพระเจ้าที่ถูกบันทึกไว้เรียกว่าคัมภีร์
ความจริงแล้ว วจนะของพระเจ้าที่ถูกประทานแก่มนุษย์และถูกบันทึกไว้ก็คือกฎหมายในการดำเนินชีวิตทั้งทางด้านส่วนตัวและสังคมนั่นเอง โตราห์ก็คือกฎหมาย แต่สังคมที่จะได้รับประโยชน์จากกฎหมายอย่างเต็มที่คือสังคมที่ผู้คนในสังคมนั้นเกรงกลัวพระเจ้าและกฎหมายที่มาจากพระองค์
นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมพระเจ้าจึงกำหนดให้ผู้ศรัทธาในพระองค์ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน เพราะคัมภีร์กุรอานกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการถือศีลอดไว้ชัดเจนว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธา การถือศีลอดได้ถูกกำหนดแก่สูเจ้าเช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่ผู้คนก่อนหน้าสูเจ้า ทั้งนี้เพื่อที่สูเจ้าจะได้ยำเกรง”

ถ้าสังคมหรือประเทศใดมีกฎหมาย แต่ผู้คนไม่เกรงกลัวกฎหมาย สังคมนั้นก็จะเกิดความวุ่นวายไร้ระเบียบและผู้คนในสังคมนั้นเองจะได้รับความเสียหาย
การถือศีลอดคือการงดเว้นจากการกิน การดื่มและการกระทำบางอย่างที่ได้รับอนุมัติในยามปกติตั้งแต่แสงอรุณเบิกฟ้าจนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า การงดเว้นจากการกิน การดื่มและการกระทำบางอย่างให้บทเรียนแก่ผู้ถือศีลอดว่าเมื่อสิ่งจำเป็นต่อชีวิตยังงดเว้นได้ ทำไมสิ่งที่ไม่จำเป็นเช่นอบายมุขจะงดเว้นไม่ได้ แต่การอดอาหารและน้ำเป็นเพียงวิธีการภายนอกที่ถูกใช้เพื่อฝึกจิตวิญญาณภายในไม่ให้ทำชั่ว นบีมุฮัมมัดจึงเตือนว่าหากใครถือศีลอดและยังนินทาว่าร้ายคนอื่น คนผู้นั้นก็ไม่ได้อะไรนอกจากความหิว
ข้อความจากคัมภีร์กุรอานข้างต้นยังบอกให้รู้อีกว่าก่อนหน้าอิสลาม ชนชาติหรือกลุ่มชนที่พระเจ้าส่งศาสดาหรือนบีให้นำคำสอนของพระองค์มาเผยแผ่ก็เคยถูกกำหนดให้ถือศีลอดเช่นกัน ดังนั้น เราจึงเห็นร่องรอยการถือศีลอดหรือการอดอาหารในบรรดาผู้นับถือศาสนาต่างๆในรูปแบบที่ต่างกัน
พระสงฆ์ในพุทธศาสนาฉันเพลแล้วจะไม่ฉันอาหารอีกจนถึงเวลาฉันเพลในวันรุ่งขึ้น แต่ยังดื่มน้ำได้
โมเสสอดอาหารและน้ำทั้งวันก่อนขึ้นไปรับโตราห์จากพระเจ้าบนภูเขาซีนาย เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า โมเสสจึงกินและดื่ม หลังจากนั้นก็อดอาหารต่อเป็นเวลาสี่สิบวัน ลูกหลานอิสราเอลจึงถือศีลอดอาหารตามโมเสส
แต่เนื่องจากการอดอาหารและน้ำของลูกหลานอิสราเอลมีขึ้นในเดือนที่อากาศร้อนตามปฏิทินทางสุริยคติซึ่งทำให้ต้องถือศีลอดในเดือนที่ซ้ำกันทุกปี ประกอบกับต้องอดอาหารยาวนานและมีกฎห้ามมีความสัมพันธ์ทางเพศในระหว่างการถือศีลอด พวกลูกหลานอิสราเอลจึงไม่สามารถทนการถือศีลอดอาหารตามแบบโมเสสได้ เมื่อพระเยซูถูกส่งมาเพื่อยืนยันธรรมบัญญัติของโมเสส ท่านก็ถือศีลอดเหมือนโมเสส แต่หลังจากพระเจ้ารับท่านไปจากโลกนี้ จึงมีพวกลูกหลานอิสราเอลน้อยคนที่ถือศีลอดตามแบบโมเสส
ด้วยเหตุนี้ ในสมัยของนบีมุฮัมมัด พระเจ้าจึงกำหนดให้ผู้ศรัทธาในพระองค์ถือศีลอดเฉพาะในช่วงเวลากลางวันเท่านั้น หลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าแล้ว การใช้ชีวิตก็เป็นไปตามปกติ และให้ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนตามปฏิทินทางจันทรคติซึ่งมีเวลาน้อยกว่าปฏิทินสุริยคติ 10-11 วัน จึงทำให้ชาวมุสลิมถือศีลอดในทุกฤดูกาลโดยที่วัตถุประสงค์ยังคงเดิม นั่นคือ เพื่อให้ผู้ถือศีลอดเกิดความยำเกรงพระเจ้าและปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์
You must be logged in to post a comment Login