วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ต้มยำกุ้ง 2540 และ 3ป 2565 โดย เกรียงศักดิ์ โยธาประเสริฐ

On July 22, 2022

ความสำคัญของประวัติศาสตร์ก็คือ การถ่ายทอด เหตุการณ์ในอดีตที่คนรุ่นก่อนได้เห็นได้เรียนรู้ เพื่อนำมาเปรียบเทียบและประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ในปัจจุบัน ไม่ต้องเสียเวลา เกิดความเสียหาย ในการแก้ไขเหตุการณ์ลักษณะเดียวกัน วิกฤตต้มยำกุ้งที่ไทยเริมในเดือน กรกฎาคมปี 2540 นับถึงทุกวันนี้ ก็ 25 ปีแล้ว ดังนั้น เชื่อว่าคนที่อายุปัจจุบันไม่เกิน 35 หรืออาจถึง 40 ปี ไม่รู้ไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะยังไม่เกิดหรือโตพอ ในขณะเดียวกันคนรุ่นนี้อีกไม่นานก็จะต้องเข้ามามีบทบาทในการบริหารประเทศ แน่นอนคนรุ่นปัจจุบันได้เห็นและอยู่รวมกับปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบัน หากบ้านเมืองดำเนินไปตามปรกติ ก็คงไม่มีอะไรที่ต้องศึกษาหรือกังวลมากมาย แต่ดูท่า จะคงไม่เป็นเช่นนั้น ปัจจุบันพวกเขาอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ ที่ไม่เคยรุนแรงมาก่อน เงินเฟื้อ ขี้นกว่าร้อยละ ๗ต่อปี ค่าเงินบาทอ่อนค่าอย่างรวดเร็วจาก 33 บาทมาที่ราว  37 บาทเพียงไม่กี่เดือน และก่อนหน้านั้น เศรษฐกิจติดลบอย่างมากเพราะโรคระบาทโควิดและไม่กี่เดือนที่ผ่านมาก็ถูกซ้ำเติมด้วยสงครามยูเครน อาจกล่าวได้ว่าปีนี้และปีถัดไป เราเจอวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว จึงน่าศึกษาเปรียบเทียบกับวิกฤตต้มยำกุ้งที่เกิดขึ้นเมื่อ 25 ปีก่อน

วิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540  ภาวะเศรษฐกิจ 4-5 ปีก่อนหน้า สดใส ช่วงปี 2636-2539  เศรษฐกิจไทย โตเฉลี่ยราว 8 % (และถ้าย้อนไประหว่างปี 2531-2533  เราโตถึงสองหลัก ปี 2531  โต 13.3 % ทีผ่านมาในเอเชียมีเพียง 4ประเทศ ที่เคยเติบโตสองหลัก คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย ตามมาด้วยจีน เว้นไทย ประเทศที่กล่าวได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกหมด เสถียรภาพทางการเมืองทั้งหมด นิ่งกว่าไทย)   เพราะความเจริญก่อนปี 40 และรัฐเปิดเสรีทางการเงิน ทำให้ภาคเอกชนกู้เงินมาทำอสังหาริมทรัพย์ เก็งกำไร และปล่อยต่อ กล่าวได้ว่าวิกฤตต้มยำกุ้งมีสาเหตุมาจากภาคเอกชนคนเมือง(เมื่อมีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในไทยแล้ว ค่าเงินบาทไทยร่วงลงอย่างหนัก โดยทำสถิติต่ำสุดตลอดกาลไว้ที่ 56.50 บาทต่อดอลลาร์ ส่งผลให้ผู้มีหนี้ต่างประเทศต้องแบกรับภาระหนี้ที่สูงขึ้นเกินเท่าตัว โดยหลังจากการลอยตัวค่าเงิน ประเทศไทยมีหนี้ต่างประเทศรวมอยู่ที่ 109,300 ล้านดอลลาร์ จำแนกเป็นหนี้ภาครัฐ 24,700 ล้านดอลลาร์ และหนี้ภาคเอกชน 85,200 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 22.5% และ 77.5% ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมด ตามลำดับ( กมลวรรณ มาดายัง,ครบรอบ 25 ปี…..,กรุงเทพธุรกิจ 2 ก.ค. 65 )

ปี 2565 วิกฤต 3 ป ภาวะเศรษฐกิจ สามสี่ปีก่อน ไม่สดใสปี 2562 มีโควิด โตเพียง 2.2 ปีถัดมาติดลบ 6.2 ปี 2564 โตเพียง 1.5  ภาคเอกชนทั้งสูงต่ำไม่หน้าชื่นตาบานไม่ มีกิจกรรมที่จะนำไปสู่หายนะทางเศรษฐกิจ มีแต่ซีกรัฐที่กู้ยืม (รวมทั้งการซื้ออาวุธ) จนต้องเพิ่มเพดานเงินกู้

สถานการณ์โลก -ปีต้มยำกุ้ง ไม่มีเหตุการณ์ปัจจัยที่กระทบการแก้ปัญหาหรือก่อให้เกิดปัญหาที่เด่นชัด

ปี 2565 วิกฤต 3ป มีโรคระบาดโควิดในปี2562 ส่งผลให้ปีถัดมาเศรษฐกิจติดลบ 6.2 %ปัจจุบันยังมีโรคระบาดอยู่ ซ้ำเติมด้วยสงครามยูเครน ลำพังโควิดก็ทำให้ยอดนักท่องเที่ยวจาก 40 ล้านเหลือเข้ามาเพียงเล็กน้อยแต่สงครามยูเครนยิ่งส่งผลหนัก

เพราะเกิดขึ้นในหมู่ประเทศเจริญแล้ว กระทบปัจจัยพลังงานแก๊ส น้ำมัน และอาหารคือข้าวสาลีมีข้อสังเกตุว่าหนึ่งปีหลังต้มยำกุ้งไทยโตติดลบ 7.6 แต่โลกยังเติบโตถึง 2.8 แต่ปี  2552 หนึ่งปีหลังแฮมเบอเกอรวิกฤตโลกโตติดลบ 1.3 ( เรื่องเล่าสำหรับ วิกฤตแฮมเบอเกอ ก็คือรัฐบาลสหรัฐทุมเงินช่วยเหลือบริษัทเอกชน เว้น บริษัทเลห์แมนบราเดอ ที่เมื่อครั้งเข้ามาเป็นทีปรึกษา ไทยได้หลอกซื้อสินทรัพย์ถูกๆ ปรากฎว่ารัฐบาลสหรัฐปล่อยให้ล้มละลาย)

สถานการณ์การเมือง ปีต้มยำกุ้ง 2540 รัฐบาลอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญปี40 คนออกมาเดินขบวนเรียกร้องให้พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ลาออก ไม่กี่พันคน พลเอกชวลิตก็ลาออก เปิดทางให้รัฐบาลชวนได้เข้ามา บริหารอีกสามปีเศษ แล้วยุบสภา

ปี 2565 วิกฤต 3ป รัฐบาลอยู่ภายใต้ รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ซึ่งมี สว 250 คน หนุนอยู่ โดยสรุปวิกฤตเศรษฐกิจปัจจุบันจะแก้ไขยากกว่า เมื่อครั้งต้มยำกุ้ง เพราะภาวะเศรษฐกิจ ก่อนหน้าก็ไม่ดี ทั่วโลกก็มีโรคระบาด สงครามประเทศขนาดเล็กใหญ่ ล้วนมีปัญหา เศรษฐกิจที่รุนแรงมากก็แบบศรีลังกา ซ้ำร้ายปัจจัยทางการเมืองก็ไม่เปิดโอกาสให้คัดเลือกรัฐบาลได้ง่ายๆ

ภาพที่เราได้เห็นในช่วง ปีต้มยำกุ้ง คือการเปิดท้ายขายของ เพื่อหารายได้ของคนตกงาน ภาพตึกร้าง ขาดเงินก่อสร้าง และอดีตเศรษฐีหลายคนให้สัมภาษณ์ทำนอง ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย

อัตราเติบโตเศรษฐกิจไืทยย้อนหลัง(จากธนาคารโลก)

You must be logged in to post a comment Login