วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ทักษิณเคยให้ต่างชาติเช่าที่ 99 ปี???

On August 16, 2022

คอลัมน์ :โลกอสังหาฯ

ผู้เขียน : ดร.โสภณ พรโชคชัย              

(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 16 ส.ค.  65)

ที่ผ่านมามี “ข่าวลือ” โจดขานไปต่างๆ นานาว่า “ทักษิณ ชินวัตร” เคยให้ต่างชาติมาเช่าที่ดิน 99 ปี ความจริงเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่พึงศึกษาให้ชัดเจน

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ได้สืบค้นข้อมูลปรากฏว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้จะเกิดขึ้นเพื่อให้การพัฒนาพื้นที่เฉพาะสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่  และความต้องการของประชาชน  และเพื่อให้การพัฒนาระบบบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  อันจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น  และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  โดยเฉพาะเรื่องการถือครองที่ดิน   และการเช่าที่ดินของคนต่างด้าวตามข้อสังเกตกรมที่ดิน เรื่องการอุดหนุนซึ่งอาจขัดต่อพันธกรณีใน WTO ตามข้อสังเกตของกระทรวงพาณิชย์และเรื่องแรงงานต่างด้าวตามข้อสังเกตของกระทรวงแรงงาน  รวมทั้งข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย. . .”

“. . . โดยที่ในบางเรื่องอาจมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว  เช่น  การกำหนดให้เป็นเขตเกษตรเศรษฐกิจ

ตามพระราชบัญญัติเศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. 2522 เป็นต้น จึงสมควรพิจารณาว่า หากจะยกเลิกกฎหมาย

ดังกล่าว   แล้วใช้กฎหมายในเรื่องนี้เพียงฉบับเดียว  จะเหมาะสมหรือไม่   ควรกำหนดความสัมพันธ์ระหว่าง

รัฐบาลกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะจัดตั้งขึ้นเป็นองค์การมหาชนในลักษณะ

ที่ให้สามารถกำกับดูแลการดำเนินงานของสำนักงานให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลได้

นอกจากนี้ให้พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าการเขตเศรษฐกิจพิเศษกับรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระ

ราชกฤษฎีกาจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษด้วย   รวมทั้งกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเขตเศรษฐกิจพิเศษใน

พื้นที่ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาให้ชัดเจน  เพื่อมิให้เกิดความสับสนหรือขัดแย้งกับอำนาจหน้าที่ของ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่นั้น   ในกรณีเป็นที่ดินขององค์กรทางศาสนา  ควรดำเนินการตามแนว

ทางในกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดิน เมื่อตรวจร่างเสร็จแล้ว ควรมีการรับฟังความเห็นจากภาคเอกชนและ

ภาครัฐอีกครั้งหนึ่ง  แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ต่อไป” <1>

ข้อสังเกตสำคัญเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษในยุครัฐทักษิณ กับยุครัฐบาลประยุทธ์มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

1. ในสมัยทักษิณปี 2546 มีเพียง “ร่าง พรบ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ….” ยังไม่เคยประกาศใช้เลย เพียงแต่เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้อนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 <2> ดังนั้นจึงไม่อาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลทักษิณได้ให้ต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปีตาม “ข่าวลือ”

2. ผู้ที่ร่างคือใคร ตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้นระบุว่า “. . .ที่คณะทำงานด้านกฎหมาย ซึ่งมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ได้ยกร่างและแก้ไขเพิ่มเติมตามผลการประชุมหารือร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ  เครืองาม) เป็นประธาน. . .” อาจมีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองท่านร่างขึ้นมาเพื่อ “เจาะยาง” ทักษิณ หวังให้ทักษิณโดนด่า เพราะตอนนี้สองท่านนี้ก็มาทำงานกับรัฐบาลประยุทธ์

3. เขตเศรษฐกิจพิเศษหมายถึงที่ดินของรัฐหรือที่รัฐซื้อ/เวนคืนมา เช่า หรือใช้วิธีการจัดรูปที่ดิน หรือร่วมทุนกับชาวบ้าน ไม่ใช่ให้เช่าที่ดิน 99 ปีเปรอะไปหมดแบบที่เสนอในยุคนี้ที่ต่างชาติอาจไปเช่าที่นาขั้นบันไดตามภูเขา หรืออาจเช่าเกาะยกเกาะก็เป็นไปได้ ข้อนี้ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างเขตเศรษฐกิจพิเศษยุคทักษิณกับยุคประยุทธ์

4. เขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นบริเวณเล็กๆ ที่กำหนดขึ้น ในร่าง พรบ.ฉบับนี้จะมีการยกเลิกกฎหมายนิคมอุตสาหกรรม เพราะจะใช้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษแทน แสดงว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ว่านี้ก็คงคล้ายคลึงกับประเทศเพื่อนบ้าน คือมีขนาดไม่ใหญ่  ไม่ใช่แบบรัฐบาลปัจจุบันที่กำหนดให้ภาคตะวันออกทั้ง 7 จังหวัด โดยเฉพาะฉะเชิงเทรา ชลบุรี  และระยอง และอีก 4 จังหวัดคือ ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด (และอาจรวมนครนายก) เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเท่ากับ 7% ของพื้นที่ทั้งประเทศเป็นเขตเศรษฐกิจเดียว ยิ่งกว่านั้นในเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ ยังมีที่ดินของชาวบ้านด้วย

5. ในเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ สามารถให้เช่าที่ดินได้ 50-99 ปี ไม่ได้กำหนดไว้ว่าต้องเป็น 99 ปีเช่นที่ร่างกันอยู่ในสมัยรัฐบาลประยุทธ์นี้

ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าทักษิณไม่ได้ขายชาติด้วยการให้เช่าที่ดิน 99 ปีดังที่กำลังร่างกันอยู่ และเป็นไปได้ว่าผู้ร่างนั้นอาจเป็นการ “เจาะยาง” เพื่อให้ทักษิณได้รับการต่อต้านว่าเป็น “คนขายชาติ”

อ้างอิง

<1> โปรดดูมติคณะรัฐมนตรีได้ที่ https://bit.ly/3JBSUNs

<2> ดูรายละเอียดร่าง พรบ.ดังกล่าวได้ที่ https://resolution.soc.go.th/PDF_UPLOAD/2548/20170127.pdf


You must be logged in to post a comment Login