วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2567

“สถาบันที่น่าเป็นห่วง” โดยเกรียงศักดิ์ โยธาประเสริฐ

On August 26, 2022

ขึ้นหัวข้อบทความเช่นนี้ ผู้อ่านคงนึกถึง สถาบันกษัตริย์ แต่บทความนี้จะพูดถึง พระพุทธ ศาสนาในประเทศไทย ซึ่งอยู่ในสองสถานะ คือศาสนาที่เรานับถือทั้งคนไทยและคนทั่วโลก ที่นำธรรมะมา อ่าน ฟัง และปฏิบัติ  อีกสถานะหนึ่งก็เป็นสถาบัน เป็นคำสอนที่เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นบ่อเกิดของประเพณี วัฒนธรรมไทย ทำบุญ ตักบาตร แห่นาค  ก่อเจดีย์ทราย แต่งงาน เผาศพ ฯลฯ   อุดมการณ์ สถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ นั้น  มาจาก Nation Religion  and King[Queen]  ของอังกฤษ ซึ่งเรานำมาปรับใช้ มีเรื่องเล่าว่า(ย้ำ เรื่องเล่า)  ผู้บังคับการเรืออังกฤษ ตรวจลาดตระเวน พบกองเรือต่างชาติ กำลังเข้ามาในน่านน้ำ อังกฤษ ก็ติดต่อไปยังชายฝั่งว่าจะให้ปฏิบัติ อย่างไร ทางชายฝั่ง จะติดต่อไปทางเมืองหลวงเห็นว่าก็คงใช้เวลาเป็นวันไม่ทันการ จึงตอบกลับไปว่า ทำอะไรก็ได้ ที่จะไม่ทำให้องค์สมเด็จพระราชินี เสื่อมเสียพระเกียรติ( นอกจากพระราชินีอลิซาเบธองค์ปัจจุบัน ตรงกับสมัย ร.4 อังกฤษก็ปกครองโดย พระราชีนิ วิคตอเรีย) 

สำหรับไทย พระมหากษัตริย์ ไทยที่ส่งเสริม และรักษา พระพุทธศาสนา ที่เห็นได้ในความแตกต่าง ในสมัย ร.3 เหตุที่ไทยต้องทำสงครามกับญวน โดยเฉพาะในสมรภูมิเขมร ก็เนื่องจาก ญวนต้องการเปลี่ยนให้ชาวเขมรเปลี่ยนเป็นแบบญวนทั้งประเพณี การแต่งกายและการนับถือศาสนา ซึ่งทาง ร. 3 ยอมไม่ได้ โดยเฉพาะสงสารพระสงฆ์ สงสารพระพุทธศาสนา  ผลของสงครามเท่ากับ ไทย ได้ปกป้องรักษาสถาบันพุทธศาสนา   ในกรณี ร.4 ท่านบวช มาหลายสิบปี เห็นความบกพร่อง ความเสื่อมในข้อปฏิบัติทางพุทธศาสนา ท่านจึงรื้อ ปรับปรุง ตั้งนิกาย ธรรมยุติ ขึ้นมา เป็นเรื่องปรับปรุงแก้ไข ที่เกี่ยวโดยตรง กับคำสอนทางศาสนา  ในสมัย ร.3 มีคำกล่าวว่า ใครสร้างวัดก็โปรด จึงมีการสร้างวัดขึ้นมากในสมัยท่าน แต่ในยุค ร.4 ซึ่งท่านบวชมานาน มีคำกล่าวว่า ใครรู้ภาษาอังกฤษก็โปรด   

ปัจจุบันมีข่าวทางไม่ดีในการปฏิบัติ ของพระสงฆ์ และวัด ก็มีการแย้งว่า ศาสนาเราไม่เสื่อมคำสอน ของศาสนายังดีเช่นเดิม ประเด็นก็คือ คนทั่วไป คิดเช่นนั้น และเข้าใจศาสนาได้ดีหรือไม่ ลองดู ที่จีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น จาก ประวัติศาสตร์ วัด พระพุทธรูปก็รู้อยู่ว่า ทั้งสามประเทศ ศาสนาพุทธน่าจะเป็นสถาบันหลัก เช่นกัน แต่ปัจจุบัน คงไม่ใช่ กรณีจีน เรดการ์ดเข้าทำลายสิ่งปลูกสร้างและเลิกปฏิบัติในสิ่งที่คิดว่างมงาย ทั้งพุทธและศาสนาอื่นๆ ตรุษจีนก็ไม่ไหว้เจ้า(ตรุษจีนในจีนกับตรุษจีนในไทยปัจจุบันจึงไม่เหมือนกัน)   กรณีเกาหลีใต้คนก็เข้านับถือ คริสต์มากขึ้น และศรัทธามากไปเผยแพร่ในประเทศอื่นรวมถึงไทย  กรณีญี่ปุ่น เมื่อ นายอาเบะถูกลอบยิง ก็เป็นที่เปิดเผยว่า นิกาย Unification Church ซึ่งก่อตั้งในเกาหลีใต มีคนนิยมและสายสัมพันธ์สนับสนุนนักการเมืองหลายคน

เป็นที่ยอมรับว่าในวงการสงฆ์ วัดมีการทำผิดมาก ทั้งเรื่องเงินและเรื่องทางเพศ การใช้ชีวิต สุรา ทำให้เสื่อมศรัทธา  แต่ก็ควรเข้าใจว่าเรื่องทำนองนี้ก็มีในศาสนาอื่นเช่นกัน แต่บางกรณีเขาทำได้เพราะไม่ได้ห้าม เช่นดื่มเหล้าหรือไม่ได้บัญญัติ ว่าเป็น ผู้ทำงานศาสนา เลยทำอะไรก็ได้สิทธิทางการเมืองก็ไม่ถูกตัด(คำสั่งที่ 42/2560  – 27  ก.ย.60 ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณาว่า อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ควรถูกตัดสิทธิ ทางการเมือง เหมือนนักบวชในศาสนาอื่น) ก็ถือว่าเป็นการได้เปรียบพุทธศาสนาในไทยอย่างหนึ่ง

หนังสือที่พิจารณาข้อเท็จจริงและแนวทางแก้ไขทีอยากแนะนำ “ภัยแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทย โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ซี่งแต่งเมื่อปี 2545 เหตุการณ์ปัจจุบัน จริงๆแล้วก็มีมาตั้งแต่เมื่อกว่า 20 ปี ไม่ว่าจะเรื่อง พระอมเงิน มั่วสีกา ใช้ความรุนแรงต่องกันถึงฆ่ากันก็มี พระเณร ไปเล่นเนทในร้าน หรือ คนระดับรัฐมนตรี รับตำแหน่ง ไปกราบไหว้อะไรก็ไม่รู้แทนที่จะไหว้พระพุทธรูป  ในระดับชาวบ้านก็อยู่กับความฝันหวังลาภลอย บ้างกราบไหว้สัตว์วิปริตพิการ   ในหน้า 49-50 เขียนว่า

….อย่างพระประพฤติไม่ดี ก็ว่าพระไม่ได้เรื่อง แทนที่จะมองว่าเกิดภัยอันตรายขึ้นแล้วแก่พระพุทธศาสนา  แล้วฉันจะต้องทำอะไร หรือฉันมีความรับผิดชอบอย่างไร บางที่ดีไม่ดีก็จะยกศาสนาไปให้เป็นของพระเสียเลย เหมือนกับว่าพระนี้เป็นเจ้าของพุทธศาสนา  พุทธศาสนาเป็นของพุทธบริษัท 4 ไม่ใช่มีแค่พระฝ่ายเดียว แต่มีทั้งพระสงฆ์ และญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา…. หนังสือเล่มนี้ยังมีข้อมูลและข้อเสนออีกมาก ที่เน้นมากก็คือให้การศึกษาหลักธรรมกับชาวพุทธให้มาก

โดยส่วนตัว มองว่า พระเข้ามาไม่ดี การบริหารทรัพย์สิน การอบรมพระที่บวชใหม่ เป็นเรื่องการบริหารจัดการ คำสอนทางศาสนาดีอยู่แล้ว ขั้นตอนการบวชการถาม ว่ามีความผิดกฎหมายอยู่หรือเปล่า เป็นต้น นั้นดีอยู่แล้ว ทางรัฐต้องสนับสนุนเป็นกำหนดว่าต้องมีหลักฐานจากบ้านเมืองมาแสดง เพื่อกันโจรมาบวช การบริหารก็น่าส่งนักบัญชีเข้าไปช่วยวัด  เรื่องเช่นนี้ สำนักพุทธต้องรับผิดชอบ


You must be logged in to post a comment Login