- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 5 hours ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 1 day ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 2 days ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 3 days ago
- อย่าไปอินPosted 6 days ago
- ปีดับคนดังPosted 1 week ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
สนจ. จัดงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2565” น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปิยมหาราช
สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) จัดแถลงข่าว “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2565” เชิญคนไทยน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปิยมหาราช พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมชวนคนรุ่นใหม่บริจาคเลือด “เติม ‘เลือดใหม่’ ช่วยคนไทย ไม่ขาดเลือด” ผ่าน Line OA ‘เลือดใหม่’ โดยมี อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมฯ, ผศ. ดร. ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2565 ร่วมแถลง ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ
ผศ. ดร. ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี จุฬาฯ กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า “ในทุกๆ ปีที่ผ่านมา เมื่อถึงวันปิยมหาราช พวกเราชาวจุฬาฯ จะจัดงานปิยมหาราชานุสรณ์ขึ้น โดยปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Siam Renaissance” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปิยมหาราช ธ ผู้ทรงพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆ และทรงเล็งเห็นว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันสมัยเทียบเท่าอารยประเทศ จึงบุกเบิก ด้านการศึกษา ทรงจัดตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย โดยถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานชัยศรีในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. 2442 และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2445 ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นว่า ภาคราชการและเอกชนมีความต้องการบุคลากรทำงานในสาขาวิชาต่างๆ กว้างขวางมากขึ้น จึงทรงมีพระราชดำริขยายการศึกษาสู่ประชาชนทั่วไปที่ต้องการศึกษาขั้นสูง และทรงโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459
สำหรับจุฬาฯ ก้าวสู่ปีศตวรรษที่ 2 ได้น้อมนำระบบบริหารราชการแผ่นดินที่จำเป็นต้องผลิตบุคลากรที่มีความเป็นเลิศ จึงได้วางรากฐานสำคัญด้าน Future Leader เป็นผู้นำแห่งอนาคต ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในยุคนี้ พร้อมนำพาประเทศก้าวไปข้างหน้าแข่งขันได้บนเวทีโลก และด้าน Impactful Research & Innovations ที่ต้องควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืนหรือ Sustainability ด้วยเช่นกัน”
นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมฯ กล่าวว่า “นับเป็นความภาคภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่รับใช้ประชาชน สมเกียรติภูมิของชาวจุฬาฯ และขอใช้โอกาสนี้เชิญชวนชาวจุฬาฯ และชาวไทยทุกหมู่เหล่าร่วมรำลึกถึงพระปิยมหาราชพระผู้เป็นที่รักและเทิดทูนยิ่ง โดยทุกปี สนจ. จะจัดงานปิยมหาราชานุสรณ์ รวมถึงจะมีการระดมทุนจุฬาสงเคราะห์ให้กับนิสิตที่อาจมีปัญหาด้านค่าครองชีพ เพื่อดูแลค่าเทอม ค่าหอพัก อุปกรณ์การเรียน ค่าใช้จ่ายส่วนตัว จนจบการศึกษา ปัจจุบันยังคงให้ทุนมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 15 ซึ่งในปีที่ผ่านมา สามารถจัดสรรทุนได้ 476 ทุน รวมถึง ทุนอาหารกลางวัน ซึ่งปรับจากในอดีตที่ใช้อาคาร สนจ. เป็นโรงอาหารเป็นการให้ทุนรายเดือน
นอกจากนี้ สนจ. ยังมีกิจกรรมด้านสาธารณกุศลอื่นๆ เช่น โครงการข้าวแสนกล่อง กล่องรอดตาย เกิดขึ้นในยามที่ประเทศเกิดวิกฤติ และจัดหาทุนให้กับมูลนิธิเด็กโรคหัวใจในพระอุปภัมภ์ เป็นต้น ล่าสุดได้เปิดกิจกรรมใหม่“CU-DSR : เติมเลือดใหม่ ช่วยคนไทย ไม่ขาดเลือด” ชวนคนรุ่นใหม่ทั่วไทยมาบริจาคโลหิตวิถีใหม่ เพียงแอด Line OA “เลือดใหม่” ลงทะเบียนนัดหมายเตรียมบริจาคเลือดล่วงหน้าได้ทั้งปี 1 ปี บริจาคเลือดได้ 4 ครั้ง ใกล้ที่ไหน ไปบริจาคที่นั่น”
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานฯ กล่าวเสริมว่า “งานปิยมหาราชานุสรณ์ 2565 ปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Siam Renaissance” นำพาคนไทยย้อนกลับไปซึมซับพระราชกรณียกิจแห่งการวางรากฐานและพระราชทานกำเนิดกิจการต่างๆ จนรุ่งเรืองจวบจนถึงปัจจุบัน
ในปีนี้ เราได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานองค์กรในกิจการต่างๆ มาร่วมกันเทิดพระเกียรติ ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายทั้งแบบออนกราวด์และออนไลน์ อาทิ ผลงาน Digital Art ชุด “Siam Renaissance” นำภาพเก่ามาเล่าใหม่ให้ร่วมสมัยโดนใจคนทุกวัย กิจกรรมเพื่อระดมทุนบริจาคให้กับทุนจุฬาสงเคราะห์ และทุนอาหารกลางวัน รวมถึงสนับสนุนกิจกรรมสาธารณกุศลของสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ สามารถร่วมบริจาคกันได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผ่าน 5 ช่องทาง
- สแกน QR Code เข้าสู่เว็บบริจาค www.chula-alumni.com/donation
- App CHAM
- LINE OA “CHULA ALUMNI” เลือกเมนู “บริจาค”
- K Plus ที่ฟีเจอร์ K Plus Market และ TTB ให้เข้าไปที่ “ปันบุญ”
- บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 038-4-62388-9 ชื่อบัญชี “สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์”
สำหรับ กิจกรรมตลอดทั้งวันปิยมหาราชานุสรณ์นี้ ภาคเช้าพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพระบรมรูปทรงม้า ลานพระราชวังดุสิต ภาคค่ำ “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2565 : The Charity Gala Night” ณ ศาลาพระเกี้ยว กับคอนเสิร์ตการกุศล โดยนักร้องและศิลปินนิสิตเก่าจุฬาฯ ชื่อดัง นำโดย รัดเกล้า อามระดิษ, วสุ แสงสิงแก้ว, รศ.ดร.นรอรรถ จันทร์กล่ำ, กิตตินันท์ ชินสำราญ, น้ำฝน ภักดี, รัฐพงศ์ ปิติชาญ ติดตามรับชม Live สดได้ทาง FB page : MONO29, Chulalongkorn University และ Chula Alumni”
ในส่วนของการบริจาคเลือดกับกิจกรรม “ผนึกกำลัง CU–DSR : จุฬาฯชวน เติม ‘เลือดใหม่’ ช่วยคนไทยไม่ขาดเลือด” นางสาวปิยนันท์ คุ้มครอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านจัดหาโลหิตและภาพลักษณ์องค์กร ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยกล่าวถึงภาวะการขาดแคลนเลือดว่า “ปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการใช้เลือดประมาณวันละ 7,000 – 9,000 ยูนิต แต่สามารถจ่ายโลหิตเฉลี่ยได้เพียงวันละ 3,000 ยูนิต โดยผู้ที่สามารถบริจาคเลือดได้จะอยู่ในช่วงอายุ 18 – 70 ปี ตามกำหนดของสภากาชาดไทย และในแต่ละปีกลุ่มผู้สูงอายุที่นิยมบริจาคเลือดต่างล้มหายตายจากไป ในขณะที่คนรุ่นใหม่ไม่นิยมบริจาคเลือด ทำให้ทุกวันนี้ สภากาชาดไทยต้องประสบกับสภาวะการขาดแคลนเลือดอย่างหนัก จึงหวังว่ากิจกรรมครั้งนี้จะสามารถดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้มาร่วมชุบชีวิต เป็นการได้บุญกุศลอย่างยิ่งใหญ่”
ดร.ลักขณา ลีละยุทธโยธิน ประธานกิจกรรม CU-DSR กล่าวเสริมว่า “สนจ. เรามีเครือข่ายนิสิตจุฬาฯ อยู่ทั่วทุกมุมโลก และเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จึงมีการรับบริจาคและทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันเสมอ โดยที่ผ่านมา สนจ. ได้ปรับแนวทางการดำเนินงานให้เป็น สนจ. 4D โดย D ตัวที่ 4 นั่นคือ DSR : Digital Social Responsibility กิจกรรมเพื่อสังคมแบบออนไลน์ให้รองรับกับทุกสถานการณ์ และที่ผ่านมา ได้นำเงินบริจาคส่วนหนึ่งมาจัดซื้อ Tablet ให้กับนิสิต เพื่อเข้าร่วมในกิจกรรม สนจ. แบ่งเป็น 8 ด้านตามความสนใจ ได้แก่ Startups, Esport, Chula the master, Media Content, Music Charity, ICT Support, กล่องรอดตาย และ CU Blood โดยปรัชญาในการทำกิจกรรมยังคงเหมือนเดิม แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลง คือ การปรับกิจกรรมให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยนำหลักคิด Digital Platform มาใช้ในการสื่อสาร”
นางสาวภัทรพร เลิศศิริโรจน์ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ในฐานะประธานโครงการ CU Blood เชิญชวนให้มาร่วมกันบริจาคเลือด กล่าวว่า “ปีนี้เราตั้งเป้าเชิญชวนคนรุ่นใหม่ ช่วยกันเติมเลือดใหม่ โดยจะสื่อสารผ่าน Line OA “เลือดใหม่” เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย สามารถบริจาคเลือดที่ไหนก็ได้ที่รับบริจาคใกล้บ้าน เพียงแจ้งรหัสที่ลงทะเบียนไว้เท่านั้น ก็ได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมนี้แล้ว และทุกครั้งที่บริจาคเลือด ยังมีโอกาสได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากองค์กรพันธมิตรของ สนจ. เพิ่มขึ้นอีกด้วย และเมื่อใกล้ถึงวันบริจาคเลือด Line OA เลือดใหม่ ยังจะช่วยเตือนล่วงหน้า เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการทำดีอีกด้วย”
สำหรับกิจกรรมในงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2565 และกิจกรรมต่างๆ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมทั้งหมดได้ทางเพจ Chulalongkorn University และ Chula Alumni และสนับสนุนกิจกรรมสาธารณกุศลของสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ และสามารถร่วมบริจาคกันได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผ่าน 5 ช่องทาง
- สแกน QR Code เข้าสู่เว็บบริจาค www.chula-alumni.com/donation
- App CHAM
- LINE OA “CHULA ALUMNI” เลือกเมนู “บริจาค”
- K Plus ที่ฟีเจอร์ K Plus Market เลือกเมนูบริจาค และTTB ให้เข้าไปที่ “ปันบุญ”
- บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 038-4-62388-9 ชื่อบัญชี “สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์”
You must be logged in to post a comment Login