- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 11 hours ago
- อย่าไปอินPosted 4 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 7 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
“รางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์ ปี 2565” โดย เกรียงศักดิ์ โยธาประเสริฐ
คณะกรรมการรางวัลโนเบลได้ประกาศมอบรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2565 ให้แก่ นักเศรษฐศาสตร์ 3ท่าน คือ นาย ดักลาส ไดมอนด์ (Douglas Diamond) ศาสตราจารย์ด้านการเงิน มหาวิทยาลัย ชิคาโก ,นาย ฟิลิป ดิบวิก(Philip Dybvig) ศาสตราจารย์การเงินการธนาคาร มหาวิทยาลัย วอชิงตัน ก่อนหน้านั้น สอนที่มหาวิทยาลัย เยล และนาย เบน เบอนานเก (Ben Bernanke) อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐปี 2549-2557(2006-2014) ทั้งสามท่านอยู่ในวัยใกล้เคียงกัน คือ 68-69 ปี สถาบันฯได้กล่าวยกย่องงานของ 3 ท่านว่าทำให้เราเข้าใจบทบาทของระบบธนาคารในทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ผลงานวิจัยได้ช่วยเปลี่ยนทัศนะของผู้คนต่อระบบธนาคารและสร้างพื้นฐาน ให้ธนาคารกลาง ผู้ควบคุมกติกา คนออกนโยบาย รวมถึงนักวิชาการ ในการเข้าถึงระบบการเงินสมัยใหม่
ทฤษฎี และโมเดล
ศาสตราจารย์ ดักลาส และศาสตราจารย์ ฟิลิป ได้ร่วมกันวิจัยและสร้างโมเดล ทางเศรษฐศาสตร์ Diamond-Dybvig model พิมพ์เผยแพร่ในปี 2526 (ในทางคณิตศาสตร์ก็จะมี กราฟและสมการ) เพื่ออธิบายการทำงานของระบบธนาคาร และเหตุผลที่เกิดความหวาดวิตกของคนฝากเงิน ต่างรีบไปถอนเงินพร้อมๆกัน ธนาคารจ่ายไม่ได้ เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ โมเดลได้อธิบายว่า คนฝากระยะสั้นหรือคาดหวังว่าจะถอนเมื่อไรก็ได้ แต่ธนาคารทั่วไป ปล่อยกู้กับกิจการต่างทำธุรกิจมักเป็นระยะยาว คนจำนวนมากจะไม่มาขอถอนเงินพร้อมกัน ดังนั้น ธนาคารจึงสำรองเงินสดหรือทรัพย์สินที่พร้อมเปลี่ยนเป็นเงินสด เพียงบางส่วนเพื่อรองรับการถอนเงิน อย่างไรก็ดีหากเกิดการหวาดวิตก ผู้คนก็จะแห่กันไปถอนเงิน ด้วยจิตสำนึกว่าขอให้ถอนได้ก่อนคนอื่นเหตุการณ์ข้างหน้าจะเป็นจริงตามที่ตัวเองคิด (Self-fulfilling prophecy) และแม้ลูกหนี้ธนาคารจะมีฐานะกิจการดีอย่างไร ธนาคารก็ไม่สามารถเรียกคืนเงินกู้ได้ทันที เพราะได้นำไปลงทุนในทรัพย์สินต่างๆแล้ว ไม่สามารถคืนเงินให้ผู้ฝากได้ ในทางปฏิบัติแม้ธนาคารจะประกาศระงับการให้ถอนได้ แต่ก็เสี่ยงต่อการ เกิดความตื่นตระหนกมากขึ้น วิธีการที่ดีคือ รัฐหรือธนาคารกลางค้ำประกันเงินฝาก ความเสี่ยงของรัฐที่จะต้องจ่ายชดเชยเงินฝากอยากที่จะเกิด เพราะผู้ฝาก รู้ว่ารัฐค้ำ ก็จะไม่ถอน
เพียงทำวิจัยและพิมพ์งาน แค่นี้ ได้รางวัล โนเบลแล้วหรือ ?
นำมาใช้จริงและได้ผล
เบน เบอนานเก (Ben Bernanke) จบการศึกษา จากฮาร์วาร์ดและเอ็มไอที อดีตประธานธนาคารกลาง สหรัฐระหว่างปี 2549 – 2557 (2006-2014) แม้ไม่ได้ร่วมสร้างและทำวิจัยโมเดล ดังกล่าว แต่ก็เป็นผู้ได้รับรางวัลร่วมเป็นคนที่สาม เนื่องจากผลงานในการแก้ปัญหาสถาบันการเงินของสหรัฐในปี 2551 (200)8] (ที่รู้จักกันในชื่อวิกฤตแฮมเบอร์เกอ) ตามแนวทางทฤษฎี ที่โดดเด่น
ในครั้งนั้น เบอนานเก ได้ผลักดันให้ ธนาคารกลางเข้าไปแทรกแซงอย่างแข็งขัน ลดดอกเบี้ยและจัดตั้งกองทุน (bailout) เพื่อช่วยเหลือ ธนาคาร บริษัทประกัน และกิจการขนาดใหญ่และคนผ่อนบ้าน แม้จะมีผู้ไม่เห็นด้วยในทางการเมือง ผลของการแก้ปัญหาในครั้งนั้น ทำให้มีการรับซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงิน ด้วยเงินลงทุนจากรัฐและเอกชน มีการค้ำประกันเงินลงทุนเอกชน จากสถาบันค้ำประกันเงินฝาก และธนาคารกลาง ทั้งหมดนี้เป็นการขายทรัพย์สินสถาบันการเงินที่ดำเนินการอยู่ ซึ่งต่างจากไทยทีปิดสถาบันการเงินแล้วนำทรัพย์สินมาขาย ผู้ถือหุ้นจึงมีใบหุ้นที่ไร้ค่า กรณีสหรัฐ กิจการและชื่อ ธนาคารหรือบริษัทดังต่างๆยังอยู่ เช่น ธนาคารแห่งอเมริกา เชสแมนฮัตตัน ของเรา กิจการของหลายตระกูลหายไปเลย แต่ก็มีเรื่องแปลกที่ธนาคารกลางและรัฐบาลสหรัฐช่วยกิจการต่างๆอย่างเต็มที่ มีเพียงบริษัท สี แมน บราเดอ ที่มาหลอกซื้อทรัพย์สินในราคาถูกจากไทย เมื่อครั้ง ต้มยำกุ้งล้มละลาย จะว่าถูกเทวดาที่ดูแลสยามลงโทษก็น่าจะได้
อย่างไรก็ดี ความสำเร็จในการแก้ปัญหาของเบอนานเกในครั้งนั้นอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านประธานาธิบดีจากจอร์จ บุช มาเป็น โอบามา รัฐมนตรีการคลังก็เปลี่ยนด้วย แต่คณะผู้บริหารทั้งสองชุดร่วมมือกันอย่างดี เช่น ในเดือนธันวาคม 2551 จอร์จบุช อนุมัติเงินกู้ 14300 ล้านเหรียญ เพื่อช่วย จีเอม และไครสเลอร์ ว่าที่ ประธานาธิบดีโอบามาก็กล่าวชื่นชม
นี่น่าจะเป็นบทเรียนทางการเมืองของไทย โครงการแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลที่ถูกยึดอำนาจเมื่อ11 ปีก่อนไม่ได้นำมาสานต่อแต่ประการใด
You must be logged in to post a comment Login