- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
สสส. – กทม. สานพลังภาคีเครือข่าย ขยายห้องเรียนสู้ฝุ่น จากภาคเหนือและอีสานสู่กรุงเทพมหานคร

เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2565 ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.) และภาคีเครือข่าย ได้แก่ กรมอนามัย กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ-ThaiPBS สำนักการศึกษา และห้างหุ้นส่วนจำกัด เติมเต็มวิสาหกิจเพื่อสังคม จัดกิจกรรมเปิดตัวและอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการห้องเรียนสู้ฝุ่นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” เพื่อรับมือสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) โดยมีโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เข้าร่วม 34 โรงเรียน

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า จากความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนทุกช่วงวัยทั้งในพื้นที่กรุงเทพและหลายจังหวัด โดยมีแหล่งกำเนิดและช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและเพิ่มโอกาสเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็ก เยาวชน หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วย สำหรับพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล พบสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 เกิดขึ้นเป็นประจำในช่วง พ.ย. – มี.ค. ของทุกปี ซึ่ง สสส. ได้สานพลังทุกภาคส่วนร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง
“สสส. ร่วมกับ กทม. และภาคีเครือข่าย จัดโครงการ “ห้องเรียนสู้ฝุ่น” สร้างองค์ความรู้ด้านสุขภาพในพื้นที่เสี่ยงผ่านการเรียนการสอนจากครูสู่เด็กและเยาวชน แล้วส่งต่อไปยังครอบครัว ชุมชน และสังคม มุ่งเป้าสำคัญ 3 ประการ 1.สร้างสถานศึกษาต้นแบบรับมือฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพ 2.พัฒนาระบบข้อมูล องค์ความรู้ และสื่อ ให้เป็นเครื่องมือในการขยายผลและสร้างกลไกที่เกี่ยวข้องระดับชุมชน สำนักงานเขต และสังคม 3.สานพลังหน่วยงานและภาคีเครือข่ายในพื้นที่กรุงเทพ รับมือกับภัยจากฝุ่น PM2.5 ร่วมกัน ทั้งนี้ สสส. มีแผนจัดกิจกรรมธงสุขภาพ ครอบคลุม 437 โรงเรียนในสังกัด กทม.” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพ ก็เหมือนกับมหานครอื่นๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการก่อสร้างถนน รถไฟฟ้า ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาอื่นๆ ตามมา โดยเฉพาะปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน เนื่องจากฝุ่น PM2.5 สามารถแพร่กระจายได้แบบไม่มีขอบเขตพื้นที่ และอากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการดำรงชีวิต จึงเป็นความท้าทายของทุกหน่วยงานที่จะต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบและเร่งด่วน โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สนับสนุน ระดมสรรพกำลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศให้เกิดประโยชน์สูงสุด บรรลุผลเป้าหมาย กรุงเทพมีค่าฝุ่นละอองอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ภายในปี 2566 ทำให้กรุงเทพเป็นมหานครที่น่าอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป





You must be logged in to post a comment Login