- ปีดับคนดังPosted 9 hours ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 2 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 3 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 7 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 1 week ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
ปัญญาประดิษฐ์สำหรับการพิสูจน์เอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ยาเม็ดโดยการพิมพ์ข้อความ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภก.บรมพจน์ พฤฒิวนาสัณฑ์ ผู้ที่ได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2564สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม ได้กล่าวถึงผลงาน เรื่อง “ปัญญาประดิษฐ์สำหรับการพิสูจน์เอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ยาเม็ดโดยการพิมพ์ข้อความ” ว่า เป็นโปรแกรมที่ใช้พิสูจน์เอกลักษณ์ทางยา ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมรูปภาพและข้อมูลของผลิตภัณฑ์ยาเม็ด โดยผู้ใช้งานสามารถนำลักษณะทางกายภาพของเม็ดยาสืบค้นจากฐานข้อมูลดังกล่าวได้ อีกทั้งสามารถช่วยบุคลากรทางการแพทย์สืบค้นผลิตภัณฑ์ยาเม็ดที่ผู้ป่วยเคยได้รับ ในกรณีไม่มีข้อมูลที่สามารถระบุชนิดยาได้ ผลงานดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในรูปแบบโปรแกรมติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ในปี พ.ศ. 2547 โดยมีผู้ร่วมดำเนินการของคณะเภสัชศาสตร์ ได้แก่ อาจารย์ ดร. ภก.สุเมธ จงรุจิโรจน์ และ คุณโสรัจ ทัศนเจริญ และรองศาสตราจารย์ ดร. ภก.เนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษา และได้ปรับปรุง พัฒนา และปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้มีความทันสมัยและสามารถทำงานบนเว็บไซต์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนเป็นผลงานที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้งานสะดวก และสามารถเข้าถึงได้ง่าย
รูปแบบของโปรแกรมในระยะแรก ใช้วิธีการค้นหาโดยการกรอกข้อมูลรายละเอียดลงในแบบฟอร์มที่เตรียมไว้บนเว็บไซต์ ซึ่งเป็นลักษณะการป้อนข้อมูลที่ไม่สะดวกและช้า จึงเป็นที่มาของการพัฒนารูปแบบการป้อนข้อมูลให้มีความยืดหยุ่นและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น จึงได้พัฒนาการพิมพ์ข้อความเพื่อค้นหาทดแทนการใช้แบบฟอร์ม ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีที่นิยมสำหรับการสืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน รวมถึงการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือนวัตกรรม AI มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความยืดหยุ่นในการค้นหาให้ผู้ใช้งาน โดยระบบ AI จะช่วยตัดสินใจว่าคำที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาเป็นคำผิดหรือถูก หากผิดจะแก้ไขให้เป็นถูกเพื่อให้สามารถใช้ข้อความค้นหาต่อไปได้ จึงเป็นที่มาในการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใส่ตัวโปรแกรมซึ่งถือเป็นจุดเด่นของผลงานกล่าว โดยเฉพาะในกรณีผู้ใช้งานเป็นประชาชนทั่วไป ไม่ทราบคำสำคัญ (keyword) ในทางการแพทย์ สามารถใช้คำทั่วไปในการค้นหา เช่น หากพิมพ์คำว่า “พารา” ความมุ่งหวังของประชาชนอาจต้องการค้นหายาพาราเซตามอล แต่หากค้นหาด้วยวิธีการเดิมด้วยคำว่า “พารา” จะไม่พบในฐานข้อมูล จะต้องพิมพ์คำว่า “พาราเซตามอล” ให้ถูกต้อง แต่ถ้ามีการป้อนข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ ให้พิมพ์คำว่า “พารา” ที่ป้อนเข้ามาหมายถึงยาพาราเซตามอล คอมพิวเตอร์ที่ผ่านการเรียนรู้จะทราบว่าข้อความที่ส่งเข้ามาผิดและช่วยแก้ไขให้เป็นคำที่ถูกต้องให้
หลักแนวคิดในการทำงาน ในแง่การสร้างสรรค์นวัตกรรม อันดับแรก คือ ต้องทราบปัญหาที่แท้จริงที่เราสนใจคืออะไร หลังจากที่เราทราบ จะต้องมีการแสวงหาความรู้ ผ่านการคิดการอ่านเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดการตกผลึกทางด้านของตัวเทคโนโลยีหรือสิ่งที่เราคิดแก้ปัญหา ที่สำคัญที่สุด คือ การลงมือทำให้สิ่งที่คิดเป็นจริงขึ้นมา หลังจากที่คิดและประดิษฐ์เป็นผลงานยังไม่จบเพียงเท่านี้ สิ่งที่ทุกคนต้องทำคือจะต้องเข้าใจว่า นวัตกรรมที่ทำปัจจุบัน ช่วยแก้ปัญหา ณ ตอนนี้ได้ แต่ในอนาคต หรือเวลาที่เปลี่ยนไป ปัญหาหรือความต้องการอาจจะเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้น จะต้องมีการพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง และอาจจะมองเทคโนโลยีในปัจจุบันมีอะไรที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ กระบวนการ ต้องมีการพัฒนาตัวเองอยู่เรื่อย ถึงจะออกมาเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง
สุดท้ายอยากกล่าวขอบพระคุณผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยและคณะเภสัชศาสตร์ทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการประเมินและให้โอกาสในการส่งผลงานเข้าไปเพื่อคัดเลือก ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยมหิดล ที่เป็นสถาบันที่ช่วยอบรมขัดเกลา เพิ่มพูนความรู้ ให้เราได้เรียนรู้พัฒนาตนเองตลอดเวลา และมอบโอกาสที่ดีให้ทุกท่านได้สามารถแสดงศักยภาพของตนเอง
You must be logged in to post a comment Login