- ปีดับคนดังPosted 16 hours ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 2 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 7 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหิดล แจงบทบาทของคณะฯ กรณีผลิตภัณฑ์สเปรย์จมูกเบซูโตะ เคลียร์
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าวเพื่อสร้างความเข้าใจ และตระหนักถึงสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน กรณีผลิตภัณฑ์สเปรย์จมูกเบซูโตะ เคลียร์ (Besuto Qlears) โดยมี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์อกนิษฐ์ จิตต์มิตรภาพ ภาควิชาจุลชีววิทยาและอิมมิวโนโลยี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ ดร. นายแพทย์สัณฑ์ ม่วงน้อยเจริญ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแถลงข่าว ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการร้องขอให้ทดสอบประสิทธิภาพในห้องปฏิบัติการซึ่งดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการไวรัส ภาควิชาจุลชีววิทยาและอิมมิวโนโลยี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ในการยับยั้งเชื้อไวรัสก่อโรคทางเดินหายใจ SARs-CoV-2 (COVID-19), Influenza A (H1N1), Human Coronavirus 229E, และ Enterovirus 71 (EV71) ต่อผลิตภัณฑ์สเปรย์พ่นจมูกเบซูโตะ เคลียร์ (Besuto Qlears nasal spray) ตามวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการเท่านั้นแต่ยังมิได้มีการทดลองหรือทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์นี้ในมนุษย์ และผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการนี้ยังไม่ได้บอกถึงประสิทธิภาพการใช้ในมนุษย์ซึ่งยังคงต้องมีขั้นตอนการทดสอบ ในอาสาสมัครตามขั้นตอนหลักวิชาการต่อไป ส่วนบทบาทของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการให้บริการทางวิชาการเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น ซึ่งเป็นบริการทางวิชาการตามปกติที่คณะฯ ให้บริการอยู่ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการผลิต การขออนุญาตขึ้นทะเบียน การจัดจำหน่าย หรือกิจกรรมอื่นของผลิตภัณฑ์แต่อย่างใดทั้งสิ้น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อกนิษฐ์ จิตต์มิตรภาพ ภาควิชาจุลชีววิทยาและอิมมิวโนโลยี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ห้องปฏิบัติการไวรัส ภาควิชาจุลชีววิทยาและอิมมิวโนโลยี คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล มี “โครงการทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อจุลชีพ การตรวจหาค่าความเป็นพิษต่อเซลล์เพาะเลี้ยง และการระเหยแห้งสาร” ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการเปิดให้บริการทดสอบฤทธิ์ของยา สารเคมี สารสกัดสมุนไพร และน้ำยาต่าง ๆ ให้แก่ นักวิจัย หน่วยงานและห้องปฏิบัติการ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการทดสอบประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อหรือการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลชีพตามมาตรฐานสากล น้ำยา Besuto Qlears nasal spray เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มาขอรับการทดสอบกับทางโครงการฯ โดยได้ขอยื่นทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อไวรัสก่อโรคทางเดินหายใจ อันได้แก่ SARs-CoV-2 (COVID-19), Influenza A (H1N1), Human Coronavirus 229E, และ Enterovirus 71 (EV71) ตามวิธีมาตรฐาน ASTM E1053-20 และการทดสอบความเป็นพิษในเซลล์ (Cell viability) ด้วยวิธี MTT assay กับเซลล์ Human Colon (Caucasian colon adenocarcinoma, CACO-2) น้ำยา Besuto Qlears nasal spray ที่รับมาทดสอบครั้งนี้ มีลักษณะเป็นสารละลายใสไม่มีสี โดยบริษัทได้แจ้งในใบนำส่งข้อมูลเพื่อใช้ในการออกรายงานผลการทดสอบว่ามีสาร Quercetin เป็นส่วนผสมสำคัญ (Active ingredient) ซึ่งผลการทดสอบเป็นไปตามที่ได้แถลงข่าวไปแล้วคือ ผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการพบว่า ผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อไวรัสก่อโรคทางเดินหายใจ และไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์
อาจารย์ ดร. นายแพทย์สัณฑ์ ม่วงน้อยเจริญ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 กระทรวงสาธารณสุขได้ปรับให้โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 และลดระดับกลายเป็น โรคประจำถิ่น (Endemic) แต่ยังคงเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง และมีมาตรการการป้องกันที่เหมาะสม สถานการณ์ปัจจุบันของโรคโควิด-19 พบว่ามีแนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ยังคงให้บริการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) และรักษาพยาบาลมาโดยตลอดตั้งแต่มีการระบาดของโรค ขอแนะนำและเน้นย้ำให้ปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ รวมถึงการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ และมีการฉีดเข็มกระตุ้น จะสามารถลดความรุนแรงของโรคลงได้
You must be logged in to post a comment Login