- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 7 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
หอการค้าไทย-จีน เผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นไตรมาส 1/2566
ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย-จีน ไตรมาส 1/2566ความท้าทายที่น่ากังวลของเศรษฐกิจไทย ปี 2566 ปัจจัยในประเทศ ได้แก่ หนี้ครัวเรือน และหนี้เสียในระบบสถาบันการเงินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ ได้แก่ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน การส่งออกที่ชะลอตัว และการกลับมาของ นทท.ต่างชาติ (โดยเฉพาะจากจีน)
นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน เปิดเผยว่า หอการค้าไทย-จีน และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่น จาก คณะกรรมการกิตติมศักดิ์ คณะกรรมการบริหาร และสมาชิกหอการค้าไทยจีน และประธาน ผู้บริหาร กรรมการสมาพันธ์หอการค้าไทยจีน และกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าไทยจีน จำนวน 200 คน ระหว่างวันที่ 24 พ.ย. ถึง 1 ธันวาคม 2565 เพื่อคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ของปี 2566 ได้ดังนี้
เหตุการณ์เหนือความคาดหมายที่เกิดขึ้นในปี 2565 จาก ความขัดแย้งระหว่างประเทศจนนำไปสู่สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อเพราะแนวร่วมนานาชาติมาสนับสนุนยูเครน โรคระบาดครั้งใหญ่มาตลอดระยะเวลา สาม ปี ที่หลายประเทศประกาศเป็นโรคประจำท้องถิ่นและเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในแต่ละพื้นที่ไม่ทัดเทียมกัน ก่อให้เกิดความแตกต่างในการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ต่างกันส่งผลต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และความซับซ้อนของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อระเบียบโลกใหม่ต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ การสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทยจนครั้งนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาเพื่อกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ในการดำเนินการค้าและการลงทุนของนักธุรกิจ
ประเด็นแรกของการสำรวจคือ เรื่องความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกในปี 2566 พบว่าความท้าทายที่น่ากังวลมากที่สุด คือ ปัญหาของเงินเฟ้อที่ส่งผลไปถึงการใช้นโยบายทางการเงินในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกัน ที่กระทบต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และการที่สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนจะยืดเยื้อยาวนาน และซึ่งทั้งสองประเด็นมีความสำคัญมากกว่าราคาของพลังงานเพราะแนวโน้มปรับตัวลดลง อีกด้านคือ ความท้าทายที่น่ากังวลของเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ประกอบไปด้วย 4 เรื่อง ที่ได้รับน้ำหนักเท่าๆกัน คือ ปัจจัยในประเทศ คือ (1) หนี้ครัวเรือน และหนี้เสียในระบบสถาบันการเงิน และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ คือ (2) ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน (3) การส่งออกที่ชะลอตัวเพราะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญยังไม่ฟื้นเต็มที่ และ (4) การรอคอยการกลับมาของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ (โดยรอนักท่องเที่ยวจากจีนเป็นสำคัญ)
หากจะมาพิจารณาถึงโอกาสของไทยบ้าง เงื่อนไขประการใดที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยพลิกฟื้นได้อย่างรวดเร็วในปี 2566 พบว่ามี สอง ปัจจัยหลัก ซึ่งเกี่ยวข้องกับการต่างประเทศทั้งสิ้นคือ การกลับมาเยือนไทยอย่างมีนัยยะสำคัญของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ และ ความสำเร็จที่จะดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศมาลงทุนโดยตรงใน “อุตสาหกรรมใหม่ๆ” และผู้ตอบการสำรวจยังให้ความสำคัญต่อปัจจัยในประเทศ อีก สอง ด้าน (แม้ว่าระดับความสำคัญจะต่างจากปัจจัยต่างประเทศมาก) ประกอบด้วย ความเชื่อมั่นของประชาชนที่จะเริ่มจับจ่ายใช้สอย และภาครัฐลงทุนเพิ่มในปรับระบบสาธารณูปโภค
หากจะขยายความต่อในเรื่องของสัญญานการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ จากที่คาดว่าปลายปี 2565 ที่คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเยือนไทย 10 ล้านคน (แต่ในจำนวนนั้นยังไม่มีชาวจีน) พบว่า ร้อยละ 24.3 และร้อยละ 58.6 ของผู้ตอบการสำรวจ มั่นใจมากที่สุด และ มั่นใจมากพอควร ตามลำดับ ว่าการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คำถามเชิงนโยบายคือทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวคุณภาพที่มีกำลังจ่ายสูงมาเที่ยวเมืองไทยให้มากขึ้น ด้านการลงทุนจากต่างประเทศนั้น ผู้ตอบเกือบทั้งหมดลงความเห็นว่า นักลงทุนจากต่างประเทศจะสนใจอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทยมากที่สุด และตามมาอย่างห่างๆด้วย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เกษตรและอาหาร พลังงานทดแทน และการท่องเที่ยว
ปัญหาของเงินเฟ้อยังถูกหยิบยกขึ้นมาเพราะเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.2 และ 23.7 คาดว่าปัญหาที่เกิดจากเงินเฟ้อจะเริ่มผ่อนคลายลงในไตรมาสที่สอง และสาม ตามลำดับ แต่มีร้อยละ 21 คิดว่าน่าจะเริ่มผ่อนคลายได้ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2566
การคาดการณ์ไตรมาสแรกของปีหน้าเมื่อเทียบกับไตรมาสปัจจุบัน เมื่อได้สอบถามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศจีน ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ร้อยละ 37.6 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะดีขึ้น ขณะที่ร้อยละ 32.6 คาดว่าจะทรงตัว ส่วนการส่งออกของประเทศไทยไปยังประเทศจีน ร้อยละ 50.3 ของผู้ให้ข้อมูลคาดว่าไตรมาสแรกของปีหน้าจะดีกว่าช่วงปัจจุบัน ส่วนร้อยละ 33.7 คาดว่าการส่งออกยังคงทรงๆเช่นปัจจุบัน ร้อยละ 44.8 ของผู้ให้ข้อมูลคาดว่าการนำเข้าของไทยจากจีนจะเพิ่มขึ้น และร้อยละ 32.6 คาดว่าจะทรงๆ ที่น่าสนใจคือ ร้อยละ 56.9 ของผู้ให้ข้อมูลคาดว่าการลงทุนจากจีนมาไทยจะเพิ่มขึ้น สาเหตุอาจจะเป็นเพราะการย้ายฐานการผลิตออกจากจีนที่เริ่มมีอย่างต่อเนื่องมายังประเทศสมาชิกอาเซียน เพราะปัญหาความท้าทายจากภูมิรัฐศาสตร์โลก และสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน และสืบเนื่องจากความสำเร็จของกรอบ RCEP
การสำรวจการคาดการณ์สถานการณ์เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ของไทยโดยรวม ในไตรมาสแรกชองปีหน้าเปรียบเทียบกับไตรมาสปัจจุบัน สรุปได้ว่าร้อยละ 55.3 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น ร้อยละ 31.5 จะทรงๆ เพียงร้อยละ 10.5 ไตรมาสแรกจะชะลอตัวลงอีก ทั้งนี้ภาคธุรกิจที่ยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในไตรมาสหน้า คือ ธุรกิจการท่องเที่ยว พืชผลการเกษตร ธุรกิจบริการสุขภาพ ธุรกิจออนไลน์ และธุรกิจสินค้าเกษตรแปรรูป (เหมือนกับการสำรวจรอบที่แล้ว) ส่วนธุรกิจที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ ธุรกิจการท่องเที่ยว พืชผลการเกษตร อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง พลังงานและสาธารณูปโภค
การคาดการณ์ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในไตรมาสแรกของปี 2566 เมื่อเทียบกับไตรมาสปัจจุบัน ผู้ให้ข้อมูลร้อยละ 37 คาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์น่าจะปรับตัวดีขึ้น ร้อยละ 33.1 คาดว่าคงเดิม ร้อยละ 27.1 คาดว่าจะปรับลดลง แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนในไตรมาสหน้านั้น ผลการสำรวจไม่สามารถสรุปได้เพราะผลการสำรวจถูกแบ่งไปทุกทิศทางของเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนน่าจะยังมีต่อไป
You must be logged in to post a comment Login