- อย่าไปอินPosted 19 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ม.มหิดล พร้อมมุ่งสู่มาตรฐานโลก พัฒนาศักยภาพตรวจสารต้องห้ามนักกีฬา ควบคู่งานวิจัย
ปัจจัยสำคัญที่ได้รับการพัฒนาควบคู่ไปกับการแข่งขันกีฬาระดับโลก คือกระบวนการตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา (Doping Test) เพื่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมของการแข่งขัน ซึ่งประเทศไทยได้พิสูจน์แล้วถึงความเป็นหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬาที่ได้รับการสนับสนุนจาก องค์กรต่อต้านสารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Agency) หรือ วาดา (WADA) ให้เป็นหน่วยงานระดับชาติ ภายใต้โครงสร้างของมหาวิทยาลัยมหิดล
รองศาสตราจารย์ ดร.สิริพงษ์ ฐิตะมาดี ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล (Analytical Sciences and National Doping Test Institute) นับตั้งแต่ที่สถาบันฯ ได้รับการยกระดับจาก “ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา” เดิมซึ่งมีประวัติและผลงานมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี ให้มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีพันธกิจที่ครอบคลุมทั้งในด้านการบริการวิชาการ การวิจัย และการจัดการเรียนการสอน
ภารกิจที่ท้าทายของสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบันนอกจากการผลิตมหาบัณฑิตหลักสูตรวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์ (Analytical Sciences) ของมหาวิทยาลัยมหิดลรุ่นแรก ซึ่งออกแบบเพื่อรองรับการพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมไทยแล้ว ยังมีความโดดเด่นให้ด้านการทุ่มเททำงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และการตรวจในการกีฬาซึ่งกำลังเป็นที่น่าจับตา
จากผลงานการพัฒนางานวิจัยเพื่อยกระดับเทคโนโลยีในการตรวจวิเคราะห์สารต้องห้ามในการกีฬา นอกจากการใช้หลักการทางเคมีวิเคราะห์ (Chemical Analysis) ซึ่งมีข้อจำกัดในการตรวจจับสารต้องห้ามฯ บางประเภทที่สลายตัวได้ง่าย
สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีแนวคิดเพื่อเปิดมิติใหม่ในการตรวจสารต้องห้ามฯ ด้วยวิธีการโอมิกส์ (Omics) เช่น การตรวจระดับการแสดงออกของ RNA ที่ตอบสนองต่อการใช้สารต้องห้ามฯ แบบจำเพาะ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การค้นพบตัวบ่งชี้ระดับโมเลกุล (Molecular Marker) ที่สามารถใช้เป็นวิธีการทางเลือก นอกเหนือไปจากหลักการเคมีวิเคราะห์ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม รองศาสตราจารย์ ดร.สิริพงษ์ ฐิตะมาดี กล่าวว่า ในปัจจุบันไม่เพียงสารต้องห้ามในนักกีฬาเท่านั้นที่นับวันจะมีการพัฒนารูปแบบอย่างรวดเร็ว ยังพบว่าเริ่มมีการใช้วิธีการใหม่ๆ เพื่อเพิ่มสมรรถภาพให้กับนักกีฬากันมากขึ้น อาทิ การโด๊ปเลือด (Blood doping) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดงในร่างกายจากเลือดนักกีฬาเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสันดาปพลังงานแบบใช้ออกซิเจนให้กับร่างกายนักกีฬา
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการใช้วิธีการสังเคราะห์สารกระตุ้นสมรรถภาพทางการกีฬา ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับสารธรรมชาติที่ร่างกายมนุษย์ผลิตขึ้นได้เอง รวมทั้งการดัดแปลงในระดับพันธุกรรมที่เรียกว่า Gene Doping ซึ่งทำให้การตรวจมีความยากซับซ้อนขึ้น จึงทำให้ต้องมีการพัฒนางานวิจัยให้ทันกับโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นตามไปด้วย
เช่นเดียวกับทิศทางการจัดการเรียนการสอนของสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบันที่เน้นหนักไปทางด้านการทำงานวิจัย เพื่อนำไปสู่การใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้จริง ทั้งในแง่มุมของการตรวจจับสารต้องห้ามในการกีฬา และการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมบนพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ด้วยปณิธาน “ปัญญาของแผ่นดิน” สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมเดินหน้าพัฒนาขีดความสามารถในการใช้องค์ความรู้วิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์และการตรวจในการกีฬา ควบคู่ไปกับการทำงานวิจัย เพื่อให้พวกเราชาวไทยได้ภาคภูมิใจในศักยภาพที่ได้มาตรฐานไม่แพ้ชาติใดในโลก
You must be logged in to post a comment Login