วันพฤหัสที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2567

วว. มุ่งมั่นสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนากับประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

On December 15, 2022

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ภายใต้การนำของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กำลังจะครบรอบ 60 ปี ในปี 2566 ถือเป็นบทพิสูจน์ที่ชัดเจนถึงความมุ่งมั่น ในการเป็นองค์กรชั้นนำระดับอาเซียน ด้านวิจัย พัฒนา และบริการด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อต่อยอดสู่ การประยุกต์ใช้ในเชิงอุตสาหกรรม อันเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลาง ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย พร้อมทั้งนำความเชี่ยวชาญของนักวิจัยไทยให้เป็นที่ประจักษ์ในเวทีต่างประเทศ

ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย วว. เปิดเผยว่า “ในฐานะที่ วว. เป็นองค์กรวิจัยพัฒนา จึงมุ่งให้ความสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยพัฒนาที่มีผลกระทบสูงต่ออุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ผ่านการสร้างเครือข่ายพันธมิตรในการทำงาน เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงบูรณาการ โดยอยู่บนฐานของทรัพยากรชีวภาพ (Bio-based) เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ตอบสนองการขับเคลื่อนประเทศและเศรษฐกิจฐานราก ชุมชน และประชาชนเชิงพื้นที่ (Area based) สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และลดความเหลื่อมล้ำ”
ซึ่งตลอดระยะเวลาการดำเนินงานที่ผ่านมาได้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในหลากหลายด้าน ได้แก่ 1) การเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านระบบนิเวศในระดับนานาชาติ โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช (สสส.) ซึ่งตั้ง อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดนครราชสีมา ได้รับการรับรองจาก UNESCO ภายใต้โครงการ Man and Biosphere Program: MAB ให้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งหนึ่งของโลกและแห่งแรกของประเทศไทย โดยบทบาท 3 ประการ ได้แก่ ด้านการอนุรักษ์ (Conservation) ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic development) และด้านการสนับสนุนด้านวิชาการและการศึกษา (Logistic support) 2) การสร้างสรรค์ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การแสวงหาโอกาสในการค้า การลงทุน ตลอดจนการต่อยอดองค์ความรู้และนวัตกรรมกับประเทศที่มีศักยภาพในภูมิภาคต่างๆ วว. ได้สร้างความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งเป็นโอกาส สร้างการรับรู้ให้ วว. เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้นในเวทีโลก เช่น โครงการภายใต้ APEC Policy Partnership on Science, Technology and Innovation (PPSTI) โดยมีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็น Thailand focal point และหน่วยงานจัดสรรทุนสนับสนุนให้ วว. เป็นผู้ดำเนินโครงการ 3) การเป็นผู้แทนภูมิภาคในระดับนานาชาติ ผ่านการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่มาจากทั่วทุกมุมโลก เช่น การได้รับคัดเลือกเป็น Thailand Focal Point on ASEAN Sub-Committee on Food Science and Technology (SCFST), Horizon Europe National Contact Point (NCP) ร่วมถึงเป็น Focal Point ในองค์กรระดับนานาชาติ World Association of Industrial and Technological Research Organizations (WAITRO) เหล่านี้เป็นปัจจัยส่งเสริมให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนวิจัยต่างประเทศมากขึ้น และมีโอกาสในการพัฒนาข้อเสนอโครงการร่วมกับเครือข่ายวิจัยทั่วโลก อาทิ EU Green Deal, Horizon Europe, WAITRO Innovation Award เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนที่ไม่ใช่แต่ในประเทศแต่กระจายไปสู่นอกภูมิภาค 4) การทำงานร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 4. บทบาทร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือร่วมกับภาคีนานาชาติ เพื่อพัฒนาศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถ และพัฒนาต่อยอดงานวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ก้าวไกลสู่ระดับสากล ผลของการดำเนินกิจกรรมยังส่งผลให้ วว. ขยายเครือข่ายความร่วมมือกับต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ้น มีโอกาสผลักดันนักวิจัยเข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ แนวคิดการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม ให้กลับมาสร้างสรรค์ผลงานที่เกิดประโยชน์ต่อประเทศ

เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลงานเชิงประจักษ์ภายใต้การดำเนินงานของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยตลอด 60 ปีของการดำเนินงานที่ผ่านมา สถาบันวิจัยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาสู่การเป็นองค์กรที่เติบโต เปี่ยมด้วยศักยภาพ และพร้อมรับพลวัตรการเปลี่ยนแปลง สู่การเป็นหุ้นส่วนความสำเร็จกับผู้ประกอบการ SMEs และเศรษฐกิจไทยด้วยการวิจัย วิทยศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดสังคมนวัตกรรมอย่างยั่งยืน


You must be logged in to post a comment Login