วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

คน กทม. ครึ่งนึง เป็นโรคอ้วน !!!BMI ≥ 25 อ้วน เสี่ยงโรคแทรกซ้อน > 200 โรค

On February 16, 2023

ลองเช็ค BMI กันหน่อยไหม??
(BMI = น้ำหนักตัวตัว (kg)/ส่วนสูงกำลังสอง (m2)

สมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย ร่วมกับ บริษัทโนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์ม่า (ประเทศไทย) จำกัด จัดเสวนาวิชาการแก้ปัญหา”โรคอ้วน” ในหัวข้อ “OBESITY”: A Public Health Crisis” ภายในงานประชุมวิชาการประจำปี Thai NCD Alliance 2023 ภายใต้ Theme “Fighting the Obesity Pandemic” แก่แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ ทั่วประเทศ ณ ศูนย์การประชุม ทรูไอคอน ฮอลล์ ไอคอนสยาม กรุงเทพมหานคร โดยได้พูดคุยถึงในหลายแง่มุม ไม่ว่าเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ทางภาครัฐต้องแบกรับจากปัญหาโรคอ้วน ความเร่งด่วนในการจัดการปัญหาโรคอ้วนจากทุกภาคส่วน การมีนโยบายป้องกันโรคอ้วนและผลักดันแนวทางการรักษาโรคอ้วนที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาสำหรับคนไข้กลุ่มนี้

โดยภายในงาน ได้รับเกียรติในการสัมภาษณ์จาก
• รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เพชร รอดอารีย์ นายกสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย
• ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงวรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย
• คุณ Enrico Canal Bruland Vice President & General Manager

บริษัทโนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์ม่า (ประเทศไทย) จำกัด
โดยกล่าวถึงใจความสำคัญหลัก ดังนี้
“โรคอ้วน” เป็นโรคสำคัญที่ควรตระหนักอย่างเร่งด่วน เนื่องจากส่งผลต่อโรคแทรกซ้อนร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา ถึง 200 โรค อาทิเช่น โรคเบาหวาน ความดัน ไขมัน หัวใจและหลอดเลือดสมอง เป็นต้น แนวโน้มของโรคอ้วนในประเทศไทย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากผลสำรวจในปี 2563 โรคอ้วนเพิ่มขึ้นสูงถึง 42% โดยกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นสูงถึง 56% ซึ่งสูงขึ้นมาก เทียบได้ว่าครึ่งหนึ่งของคนกรุงเทพเป็นโรคอ้วน โดยในงานมีการกล่าวถึง สถิติการศึกษา หากลดน้ำหนักผู้ป่วยได้ 10% จะสามารถลดการเกิดโรคเบาหวานได้ถึง 29% ใน 10 ปีข้างหน้า ณ วันนี้เอง ประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายโดยรวมอยู่ที่ 6.6% GDP แต่ในขณะที่ 1.5% GDP เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับโรคอ้วน และโรคแทรกซ้อนต่างๆจากโรคอ้วน ซึ่งในอนาคตจะมีโอกาสเพิ่มขึ้นเป็น 6.4 % GDP หรือมากกว่า 4 เท่า หากไม่มีการจัดการอย่างเหมาะสม ทำให้ต้องร่วมมือเร่งหาวิธีป้องกันและแก้ไขวิกฤตโรคอ้วนนี้ ทั้งภาครัฐและเอกชน

ในบรรยากาศหัวข้อการเสวนา
“OBESITY”: A Public Health Crisis” เป็นไปด้วยดีภายใต้ความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยโรคอ้วนในประเทศไทย จากหลายภาคส่วน โดยได้รับเกียรติจาก

• ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงวรรณี นิธิยานันท์ นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย
• รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดิลก ภิยโยทัย คณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
• นายแพทย์กฤษฎา หาญบรรเจิด
ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
• รองศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์ สถิตย์ นิรมิตรมหาปัญญา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
• คุณรชตะ อุ่นสุข ผู้อำนวยการกลุ่มงานกฎหมายด้านสวัสดิการรักษาพยาบาล กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

กล่าวโดยสรุปในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญว่า

• ในกรุงเทพมหานคร จำนวนประชากรทั้งหมด ประมาณ 5,490,000 คน คำนวณจากประชากรที่มีโรคอ้วน ซึ่งมีอายุอยู่ระหว่าง 20-69 ปี, BMI 30-50 จำนวน 356,000 คน พบว่า อีก 10 ปีข้างหน้า หากสามารถลดน้ำหนักได้ 10% จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ถึง สองพันล้านบาท
• ปัจจุบันภาครัฐ อาทิเช่น กรมควบคุมโรค มีการดำเนินการจัดการโรคอ้วน ในระบบ Health Service ผ่าน “NCD Clinic Plus” ซึ่งจะดูแลเรื่องการควบคุมน้ำหนักในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว / มีกลยุทธ Workplace Policy ในการผลักดันนโยบายที่จะทำให้หน่วยงานราชการและเอกชน มีนโยบายสุขภาพดีให้กับคนในองค์กร และมีการผลักดันการดำเนินการ “NCD Clinic Plus” ไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และอีกลายๆภาคส่วน เป็นต้น
• การผ่าตัดโรคอ้วน ปัจจุบันสามารถเบิกจ่ายได้ (มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสิทธิ์การรักษาพยาบาล) โดยจะมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ได้แก่ ในกรณีที่ผู้ป่วย มีค่า BMI≥37.5 (ไม่มีโรคร่วม) หรือ ≥ 32.5 + โรคร่วม 1 โรคขึ้นไป แต่ในปัจจุบันยังไม่มีเกณฑ์ในการเบิกจ่ายยารักษาโรคอ้วนที่ชัดเจน หากเรามองว่าโรคอ้วนอาจส่งผลกระทบในระยะยาว ทั้งต่อผู้ป่วยและเศรษฐกิจ การมีข้อกำหนดและแนวทางการรักษาโรคอ้วนที่ชัดเจน จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านการเบิกจ่ายสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลกับผู้ป่วยโรคอ้วนในอนาคต โดย “Payment mechanism related to Medical service เสมอ” ดังนั้นแนวทางการรักษาที่ชัดเจน มีการศึกษาความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ (Cost Effectiveness) ในการรักษาผู้ป่วยก่อนที่จะไปถึงการผ่าตัด อาทิเช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือยารักษาโรคอ้วน เป็นต้น


You must be logged in to post a comment Login