วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

เปิดตัวฉลาก CEC หนุนผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมที่ดี

On March 31, 2023

ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้รับเครื่องหมายการันตีจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภคได้อีกทางหนึ่ง แต่การจะได้รับเครื่องหมายการันตีได้นั้นส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์สินค้าจากผู้ผลิตขนาดใหญ่ ส่วนผู้ผลิตขนาดเล็กหรือ SME อาจจะพลาดโอกาสดีๆได้ทั้งๆที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ CEC (Chumchon label for the protection of the environment and consumers ) หรือ ฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค เกิดจากความร่วมมือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และ สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เปิดตัวฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน และคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค

นายชาติวุฒิ วังวล  ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า หัวใจสำคัญประการหนึ่งในการลดปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 และมลพิษจากสิ่งแวดล้อม คือ การใช้กลไกผู้ผลิตสินค้าที่ใส่ใจในการผลิตที่ลดการสร้างมลพิษ และกลไกผู้บริโภคที่ตื่นตัว มีส่วนร่วมในการจัดการปัญหารอบด้าน โดยสะท้อนผ่านการทำงานของ สสส. ที่มุ่งเป้าในการแก้ไขปัญหามลพิษจากสิ่งแวดล้อมในหลากหลายรูปแบบและตอบสนองปัญหาอย่างเร่งด่วน ฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคนี้ เป็นตัวอย่างสำคัญในการสานพลังผู้เกี่ยวข้องทุกระดับที่ตั้งใจ ใส่ใจ เต็มใจ ผนึกกำลังแก้ปัญหามลพิษจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาวะคนไทยอย่างมีทิศมีทาง

ทั้งนี้  CEC เป็นฉลากใหม่ของประเทศ โดยมี 5 วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการแสดงเจตนาเฉพาะอย่าง 1.ใช้สื่อสาร หรือจูงใจให้ผู้บริโภคเห็นความสำคัญของการเลือกใช้สินค้าที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงสิทธิ์ของผู้บริโภค 2.สนับสนุนการยกระดับวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ พัฒนาไปสู่การวางจำหน่ายบนแฟลตฟอร์มชั้นนำของประเทศ 3.สร้างความตระหนักรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วัสดุรีไซเคิล หรือนำไปรีไซเคิลได้ 4.ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ประหยัด

พลังงาน ใช้พลังงานทดแทน ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ดิน อากาศ 5.สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค ด้วยการรับประกันสินค้า มีข้อมูลสินค้า คำแนะนำที่ชัด เจน มีการทดสอบหรือควบคุมสินค้าเพื่อความปลอดภัยขณะใช้งาน

ด้าน ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) กล่าวว่า ได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาเกณฑ์ข้อกำหนดฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับการรับรองผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ฉลากเขียว สำหรับฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค หรือ ฉลาก CEC สถาบันฯ ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน เนื่องจากที่ผ่านมาพบปัญหาผลิตภัณฑ์จากชุมชน ที่ใช้วัสดุธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิต ไม่สามารถขอรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมที่มีหลักเกณฑ์ข้อกำหนดที่เข้มงวด และมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบสูง จึงไม่สามารถเข้าถึงตลาด หรือไม่ได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภค ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายของฉลาก CEC จะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP   และ SME รวมถึงรัฐวิสาหกิจชุมชน ในเบื้องต้นมี 3 ผลิตภัณฑ์นำร่องและจุดเด่นของผลิตภัณฑ์  ได้แก่ 1.บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ เป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ลดปัญหาการเกิดไฟป่า และการเผาทิ้ง สามารถแปรรูปได้หลากหลาย เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า 2.ผ้าและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้า เป็นการถ่ายทอดวิถีชีวิตชุมชนผ่านลวดลาและภูมิปัญญา การใช้ทรัพยากรท้องถิ่นมาช่วยในการสร้างสรรค์ผลงานและอาชีพของคนในชุมชน และ 3.ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย(สบู่ แชพู) จัดทำจากวัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่น เป็นการนำภูมิปัญญาสมุนไพรของไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ มีความปลอดภัยต่อผู้บรโภค โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วม 10 ราย ผ่านการประชาสัมพันธ์ผ่าน FB: chumchonabel

ข้อดีของฉลาก CEC ได้แก่  1. พัฒนาศักยภาพการผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการใช้วัสดุธรรมชาติและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 2. มีแนวปฏิบัติเพื่อลดผลกะทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการจัดการพลังงานน้ำและของเสีย 3. มีความรับผิดชอบต่อสังคม ใส่ใจต่อผู้บริโภค และความปลอดภัยเมื่อใช้งาน และ 5. ได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้บริโภคและเพิ่มช่องทางการจำหน่าย ด้วยข้อมูลของผลิตภัณฑ์และข้อมูลการติดต่อผู้ผลิตจะถูกแสดงไว้ในเว็บไซต์ของโครงการ

คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ต้องการยื่นคำขอฉลาก CEC  จะต้องเป็นบุคคล หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ เป็นผู้ผลิตในชุมชนของโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP) ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ(กอ,นตผ,) ,เป็นกลุ่มหรือสมาชิกของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มสสหกรณ์ หรือ กลุ่มอื่นๆตามกฎหมายวิสาหกิจชุมชน เช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มอาชีพก้าวหน้า กลุ่มธรรมชาติเป็นต้น  หรือเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานสิ่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว,)

สำหรับหลักการในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์

1.อนุรักษ์ภูมิปัญญา

2. เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีวัสดุหลักในการผลิตมาจากธรรมชาติ

3. เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถปรับปรุงการผลิตเพื่อตอบโจทย์ เช่น การลดการเผาซากทางการเกษตร ,ลด PM2.5 ,ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ,แก้ปัญหาขยะที่ย่อยสลายได้ยาก

ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายฉลากเขียวและฉลากสิ่งแวดล้อม มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เมืองทองธานี จ.นนทบุรี E-mail:chumchonable@gmail.com


You must be logged in to post a comment Login