- อย่าไปอินPosted 13 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 1 day ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 2 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ม.มหิดลเชิดชู ‘นักแบบจำลองคณิตศาสตร์’ อาชีพท้าทายทางรอดมวลมนุษยชาติ
บทบาทของนักแบบจำลองคณิตศาสตร์ (Mathematical Modeller) เริ่มมีความสำคัญตั้งแต่เมื่อกว่าศตวรรษที่ผ่านมา จนกลายเป็นอาชีพที่ท้าทายในโลกยุคปัจจุบัน
รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ โหมดชัง อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นักแบบจำลองคณิตศาสตร์ชาวไทยผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เมื่อเร็วๆนี้ ได้รับการยกย่องจากมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เป็น 1 ในผู้ทรงคุณวุฒิ 17 รายที่ได้เข้ารับรางวัล Mahidol University’s Top 1% Researchers ประจำปี พ.ศ. 2566
ผลงานสร้างชื่อในการสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ โหมดชัง ที่ผ่านมาถือเป็นทิศทางสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคระบาด
โดยในระดับชาติ ได้ร่วมกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) สร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อช่วยวางแผนรับมือการระบาดของโรค COVID-19 ในประเทศไทย
และในระดับโลกเคยมีผลงานสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โรคอีโบลา โรคไข้ซิกา และโรค COVID-19 ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การป้องกันและควบคุมโรคระบาดถือเป็นภารกิจร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากสหสาขาวิชา ไม่ใช่เพียงหน้าที่ของแพทย์หรือบุคลากรด้านสาธารณสุขแต่เพียงฝ่ายเดียว สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ย่อมมาพร้อมความเสี่ยงที่ไม่อาจควบคุม หากไม่มีการใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์เข้าช่วยออกแบบการทดลองการใช้วัคซีนและยา
การสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์ ถือเป็นการทำงานวิจัยพื้นฐานที่สำคัญ นอกจากเพื่อความปลอดภัยจากความเสี่ยงในการเกิดโรคที่จะเกิดกับประชากรแล้ว ยังสามารถใช้ต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ในการลดความเสี่ยงจากการลงทุน และการทำประกัน จากการพยากรณ์สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแบบจำลองคณิตศาสตร์จะมีประสิทธิภาพเพียงใด ขึ้นอยู่กับผู้สร้างด้วยว่าจะสามารถตีโจทย์จากความเข้าใจในธรรมชาติของระบบได้มากน้อยเพียงใด
การวิจัยต้องทำควบคู่ไปกับการระบาด ไม่มีผู้ใดทราบแน่นอนว่าในอนาคตจะมีโรคอุบัติใหม่อะไรเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ทุกคนจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอ บนพื้นฐานของการสร้างองค์ความรู้ ที่จะนำไปสู่พลังแห่งชีวิตเพื่อทางรอดของมวลมนุษยชาติ
You must be logged in to post a comment Login