- อย่าไปอินPosted 13 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 1 day ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 2 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ม.มหิดลเรียนรู้วัฒนธรรมจากอาหาร เพิ่มค่ามรดกสำรับครอบครัว
เมนูอาหารที่สืบทอดกันมาของครอบครัว เมื่อเวลาผ่านไปอาจกลายเป็น “ขุมทอง” สร้างรายได้ เพิ่มความมั่นคงให้กับชีวิตได้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้รับผิดชอบรายวิชา “คติชนวิทยา” (Folklore) ของสาขาวิชาภาษาไทยที่ว่าด้วยการศึกษาวัฒนธรรมจากรากเหง้า ต่อยอดสู่รายวิชา “อาหารและวัฒนธรรม” ที่เปิดกว้างให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหิดลจากทุกคณะได้มีโอกาสลงทะเบียนเรียนร่วมกัน พร้อมขยายผลสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) ให้ประชาชนทั่วไปได้ศึกษาด้วยตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์ MUx ของมหาวิทยาลัยมหิดลในอนาคต
เนื้อหาที่น่าสนใจของรายวิชาฯ ได้แก่ การบอกเล่าถึงที่มาของอาหารไทย ซึ่งอาจไม่ได้มาจากวัฒนธรรมไทยโดยตรง แต่เกิดจากการประยุกต์ดัดแปลงจนกลายมาเป็นอาหารไทย และเป็นที่นิยมจวบจนปัจจุบัน อาทิ ขนมที่น้อยคนนักจะทราบว่ามาจากวัฒนธรรมมลายู อย่างเช่นขนมชั้น และขนมสังขยา เป็นต้น และการเปิดโอกาสให้นักศึกษาในชั้นเรียนรู้จักกับอาหารไทยที่มีชื่อเรียกจากการสังเกตสิ่งรอบตัว อาทิ ขนมถั่วแปบ ที่มีชื่อเรียกจากการทำให้ขนมมีรูปร่างคล้ายฝักถั่วแปบ และขนมกลีบลำดวน ที่มีชื่อและลักษณะตามดอกลำดวน เป็นต้น
เสน่ห์ของรายวิชา “อาหารและวัฒนธรรม” ที่ทำให้ได้รับความสนใจจากผู้เรียนอยู่ที่ การเปิดกว้างทางความคิดโดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้กลับไปลองรวบรวมสำรับอาหารของที่บ้านมาแลกเปลี่ยน “เคล็ดลับความอร่อย” กันในชั้นเรียน
รวมทั้งได้มีการเปิดมุมมองทางด้านอาหารที่เรียนรู้และเชื่อมโยงกับศาสตร์ด้านต่างๆ ตามความถนัดของนักศึกษาจากแต่ละคณะฯ อาทิ นักศึกษาจากคณะแพทย์เชื่อมโยงกับเรื่องสุขภาวะ นักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์เชื่อมโยงกับการสร้างนวัตกรรม และนักศึกษาศาสนศึกษา เชื่อมโยงกับมุมมองทางด้านศาสนาและความเชื่อที่แตกต่างกันไปตามหลักคำสอนของแต่ละศาสนา เป็นต้น รวมทั้งการได้เพลิดเพลินกับกิจกรรมนอกห้องเรียน จากการลงพื้นที่จริงสัมผัสกับครัวไทยโบราณ และทดลองทำอาหารไทยพื้นบ้านด้วยตัวเองกับปราชญ์ชุมชนโดยตรง
ทั้งหมดนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า “อาหาร” มีความเกี่ยวข้องกับ “วัฒนธรรม” หรือวิถีชีวิตของมนุษย์เพียงใด ซึ่งอาหารชนิดเดียวกัน อาจมีรสชาติที่ไม่เหมือนกัน แต่สามารถทำให้เกิด “ความแตกต่าง” ได้ โดยไม่จำเป็นต้องหาความเป็นมาตรฐานของรสชาติ
ด้วยเคล็ดลับในการทำอาหารที่เป็นมรดกตกทอดกันมาของแต่ละครอบครัว อาจ “สร้างมูลค่า” ได้จากความสามารถในการสร้างสรรค์ทำให้อาหารชนิดเดียวกันมีรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันตามแบบฉบับของแต่ละครอบครัว ต่อยอดสร้างเป็นธุรกิจอาหาร ลดการนำเข้าและความนิยมอาหารจากต่างประเทศ ตลอดจนลดมลพิษซึ่งเป็นผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยี โดยการหันมาทำอาหารแบบดั้งเดิมที่ไม่เบียดเบียนต่อสิ่งแวดล้อม
You must be logged in to post a comment Login