- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
นโยบายก้าวไกลเรื่องลาคลอดและขึ้นค่าแรง ทำได้จริง!?!
ผู้เขียน : ดร.โสภณ พรโชคชัย
(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 6 มิ.ย. 66 )
หลายคนมองว่านโยบายของพรรคก้าวไกลเรื่องค่าแรงและการลาคลอด 180 วันไม่มีความเป็นไปได้ เรามาดูกันให้ชัดเจนว่าได้หรือไม่
ในกรณีลาคลอด ก้าวไกลให้ลาคลอด 180 วัน จะไหวหรือไม่ ฟัง ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ในฐานะกรรมการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย
การลาคลอดสูงสุดมีดังนี้ (https://t.ly/qz_F):
- บัลกาเรีย – 58.6 สัปดาห์
- กรีซ – 43 สัปดาห์
- อังกฤษ – 39 สัปดาห์
- สโลวาเกีย – 34 สัปดาห์
- โครเอเทีย – 30 สัปดาห์
- ชิลี – 30 สัปดาห์
- สาธารณรัฐเชค – 28 สัปดาห์
- ไอร์แลนด์ – 26 สัปดาห์
- ฮังการี – 24 สัปดาห์
- นิวซีแลนด์ – 22 สัปดาห์
สำหรับในประเทศอาเซียน เป็นดังนี้:
- สิงคโปร์ 12 สัปดาห์
- มาเลเซีย 8 สัปดาห์
- ฟิลิปปินส์ – 8 สัปดาห์
- ไทย – 14 สัปดาห์ (98 วัน)
จะเห็นได้ว่าในขณะนี้ ระยะเวลาในการลาคลอด อาจจะถือว่าสูงสุดในอาเซียนอยู่แล้ว
ในช่วงปี 2565 มีประชากรไทยเกิดรอดจำนวน 502,107 ราย (https://t.ly/7uyR) หากประมาณ 1/3 เป็นแม่เด็กที่ทำงานในภาคเอกชน และแม่เด็กมีรายได้เดือนละ 30,000 บาท หากต้องจ่ายเพิ่มอีก 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน ก็ต้องจ่ายเพิ่มเป็นเงิน 15,063 ล้านบาท เงินจำนวนนี้ควรนำมาจากไหน หากให้นายจ้างและประกันสังคมจ่าย ก็คงจะเป็นปัญหาสำหรับนายจ้างและสำนักงานประกันสังคม ดังนั้นทางออกประการหนึ่งก็คือการให้รัฐบาลจัดงบประมาณเพิ่มเติมมาจ่ายให้กับลูกจ้างที่เป็นหญิงคลอดใหม่น่าจะเป็นทางออกที่เป็นไปได้มากที่สุด
ถ้าเรือดำน้ำลำละ 12,000 ล้านบาท (https://t.ly/AxXa) การที่ต้องใช้เงินเพื่อการเพิ่มวันลาคลอด 15,063 ล้านบาทก็เท่ากับการซื้อเรือดำน้ำเพียง 1 ลำเศษเท่านั้น
ส่วนในกรณีค่าแรง ค่าแรงเพิ่ม 450 บาท จะทำให้ราคาบ้านเพิ่มขึ้นมากจริงหรือ มาดูคำตอบที่ชัดเจน พร้อมการคำนวณอย่างง่ายและเข้าใจได้ง่าย โปรดอย่าทำให้สังคมสับสนด้วยการกล่าวอ้างกันหลายๆ คน ในวงการเดียวกันเพื่อลวงให้เกิดความสับสนและรักษาผลประโยชน์ตนเองโดยไม่เห็นแก่ส่วนรวม มาดูกันชัดๆ
1. สมมติบ้านหลังหนึ่งมีราคา 3 ล้านบาท (บ้านเดี่ยวเล็กๆ สักหลักหนึ่ง)
2. ปกติส่วนแบ่งระหว่างราคาที่ดินและราคาบ้านคือ 2:1 ดังนั้นตัวบ้านจะมีราคาประมาณ 1 ล้านบาท
3. ใน 1 ล้านบาทของราคาบ้าน เราสามารถแยกเป็นค่าแรงและค่าวัสดุ โดยจะเป็นค่าแรงเพียง 200,000 – 300,000 บาท สมมติเป็น 300,000 บาท หรือ 30% ที่เหลือก็คือค่าวัสดุก่อสร้าง
4. ถ้าค่าแรงเพิ่มจาก 353 บาทในปัจจุบันเป็น 450 บาท ก็เท่ากับเพิ่มขึ้น 27% สมมติให้เป็นตัวเลขกลมๆ 30% ก็จะทำให้ค่าแรงในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น จาก 300,000 บาท เป็น 390,000 บาท หรือสมมติเป็น 400,000 บาท
5. ดังนั้นการที่ค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเป็น 450 บาท จะทำให้ราคาบ้านเพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านบาท เป็น 3.1 ล้านบาทเท่านั้น หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 3% ไม่ได้เพิ่มขึ้นมหาศาลตามที่เข้าใจแต่อย่างไร
6. หากสมมติให้ค่าวัสดุ 700,000 บาท ซี่งในนั้นอาจมีค่าแรงอยู่ 20% หรือ 140,000 บาทด้วยหากส่วนนี้เพิ่มขึ้นอีก 30% ก็เท่ากับเพิ่มเป็น 182,000 บาท หรือเพิ่มขึ้น 42,000 บาท ก็จะส่งผลให้ราคาบ้านโดยรวมเพิ่มจาก 3 ล้านบาท เป็น 3.142 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.7% เท่านั้น
7. สรุปแล้วด้วยเหตุนี้ราคาบ้านจึงไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเพราะค่าแรงแต่อย่างใด
ประเด็นสำคัญอีกปราการหนึ่งก็คือในหมู่วงการก่อสร้างนั้น แรงงานพม่าจ้างแพงกว่าค่าแรงขั้นต่ำมานานแล้ว เช่น
1. กรรมกรพม่าที่เพิ่งมาทำงานได้ค่าแรง 500-550 บาท/วัน
2. ช่างพม่าได้ค่าแรง 600 – 700 บาท/วัน
3. ช่างกระเบื้องพม่าได้ค่าแรง 750-800 บาท/วัน
4. ช่างพม่าในงานสถาปัตยกรรมได้ค่าแรง 1,000-1,200 บาท/วัน
ดังนั้นเรื่องที่ว่าค่าแรงเพิ่มจาก 353 บาทเป็น 450 บาทจะทำให้ค่าแรงแพงขึ้น จึงเป็นเรื่อง “แหกตาประชาชน” อย่างชัดเจน ต่อให้เมื่อมีการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ จะทำให้ค่าแรงคนงานพม่าในวงการก่อสร้างเพิ่มขึ้น ก็คงเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยเท่านั้น การโพทะนาว่าจะทำให้ราคาบ้านเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงเป็นเรื่องเหลวไหล
อย่างไรก็ตามราคาบ้านที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะค่าขนส่งแพงขึ้น ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น กรณีนี้คงเกิดขึ้นเพราะการ “สวาปาม” หรือการผูกขาดของทุนใหญ่ต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งรัฐบาลต้องทำลายระบบผูกขาด และการ “ปล้นชาติ” โดยเจ้าของกิจการรายใหญ่ให้ได้ก่อน เมื่อค่าไฟฟ้าและค่าขนส่งถูกลง ทุกอย่างก็จะดีขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ยังอาจหมายรวมถึงการปราบปรามการทุจริตที่เป็นบ่อเกิดของต้นทุนแฝงในวงการก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าน่าจะทำให้ราคาบ้านลดลงได้นับสิบเปอร์เซ็นต์หากปราบปรามการทุจริตได้
ยิ่งกว่านั้นในประเทศไทยของเรายังมีบ้านที่สร้างเสร็จแต่ไม่มีคนอยู่อาศัย เนื่องจากซื้อไว้เก็งกำไร และเมื่อรวมบ้านในมือของประชาชนทั่วไปที่เป็นบ้านมือสองรวมกันนับล้านหน่วยแล้ว ต่อให้วัสดุก่อสร้างเพิ่มราคามหาศาล ค่าแรงเพิ่มอีกมาก ดังเช่นช่วงที่เคยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจและวิกฤติค่าเงินบาท ก็ยังมีบ้านมือสองให้บริการขายให้แก่ประชาชนในราคาที่ถูกกว่าบ้านมือหนึ่งอีกมากมาย การส่งเสริมการซื้อบ้านมือสองจึงทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนในหมู่ประชาชนได้เป็นอย่างดี
การที่พยายามกดค่าแรงให้ต่ำๆ ไว้ ทำให้คนงานอยู่กันอย่างอดๆ อยากๆ ไม่พอกิน ไม่เพียงแต่ทำให้นายจ้างกลายเป็นนายจ้างใจร้าย ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) แล้ว ยังอาจถือว่าเป็นอาชญากรรมแขนงหนึ่ง ที่กดขี่บีฑาประชาชนคนเล็กคนน้อย และส่งเสริมให้เกิดอาชญากรรมในสังคม เพราะเมื่อผู้คนไม่พอกิน บางส่วนก็อาจคิดผิดไปก่ออาชญากรรมปล้นจี้ ทำให้สังคมเดือดร้อนได้
ดร.โสภณกล่าวย้ำว่า ไทยเราจะกลายเป็นสังคมที่พัฒนาแล้วไม่ได้เลย หากค่าแรงยังถูกๆ แทบไม่ปรับมานานแล้ว ส่วนเมื่อค่าแรงเพิ่ม มีคนฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า โดยเฉพาะนายทุนใหญ่ รัฐบาลก็ต้องปราบปรามอย่างเด็ดขาดจริงจัง เพื่อไม่ให้รัฐบาลกลายเป็นเพียง “ขี้ข้า” ของนายทุนใหญ่
You must be logged in to post a comment Login