วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

Aldagram Inc. เปิดตัว “KANNA” แอปพลิเคชันบริหารจัดการโครงการก่อสร้าง

On August 9, 2023

Aldagram Inc. สตาร์ทอัพสัญชาติญี่ปุ่น เปิดตัว “KANNA” แอปพลิเคชันบริหารจัดการโครงการก่อสร้าง ลดปัญหา เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มกำไร ได้ทันที พร้อมจัดสัมมนา Building the Future with Digital transformation ผลักดันเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารโครงการเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน

● ไม่ว่าจะอยู่ที่ออฟฟิศหรือสถานที่ปฏิบัติงานก็เข้าถึงทุกข้อมูลได้อย่างง่ายดายผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

● รวมเครื่องมือสื่อสารการจัดการงานเอกสารและการติดตามกระบวนการของโครงการไว้อย่างครบครัน

● มีตัวเลือกเสริมเพื่อเพิ่มระดับรักษาความปลอดภัย ตามมาตรฐานเดียวกับบริษัทชั้นนำ

● บริษัทและองค์กรชั้นนำกว่า 20,000 บริษัท มากกว่า 10 ประเทศทั่วโลก เลือกใช้

Aldagram Inc. บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติญี่ปุ่น เปิดตัว “KANNA” แอปพลิเคชันบริหารโครงการก่อสร้าง เชื่อมการทำงานกับหน้างาน การจัดการงานเอกสารและการติดตามกระบวนการของโครงการไว้อย่างครบครัน ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากบริษัทและองค์กรชั้นนำกว่า 20,000 บริษัท มากกว่า 10 ประเทศทั่วโลก ได้จัดตั้งสำนักงานตัวแทนในประเทศไทย พร้อมทั้งจัดงานสัมมนา “Building the Future with Digital transformation” เพื่อผลักดันการใช้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมในการจัดการโครงการ โดยมีเป้าหมายที่จะเป็นส่วนร่วมช่วยในการพัฒนาโครงการก่อสร้างในประเทศไทย โดยงานนี้ได้รับเกียรติจาก Mr. OBA Yuichi อัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย มาเป็นประธานกล่าวเปิดงาน

Mr. Hikaru Nagahama ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Aldagram Inc. หนึ่งในสตาร์ทอัพสัญชาติญี่ปุ่นที่พัฒนา “KANNA” แอปพลิเคชันบริหารจัดการโครงการก่อสร้าง กล่าวถึงที่มาของแอปพลิเคชันว่า “เป็นที่ทราบกันดีว่า ญี่ปุ่นมีค่าใช้จ่ายก่อสร้างสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้จำนวนแรงงานที่ลดลงจากอัตราการเกิดที่น้อยลงและประชากรสูงอายุที่มีจำนวนมากขึ้น ก็ถือเป็นปัจจัยร่วมเช่นกัน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการบริหารโครงการ ให้ส่งมอบงานได้ตามกำหนดเวลา ด้วยคุณภาพที่สูงและควบคุมต้นทุนได้ด้วย

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการโครงการได้เปลี่ยนจาก “การปรับใช้เพียงบางส่วน” เป็น “การใช้เพิ่มประสิทธิภาพโดยรวม” เนื่องจากจากการใช้งานเพียงบางส่วน ทำให้ได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน การถ่ายทอดข้อมูลที่ไม่ราบรื่น ส่งผลให้การบริหารโครงการทำได้ยากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น Aldagram Inc. จึงได้พัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับการบริหารจัดการโครงการที่สามารถแชร์และจัดการข้อมูลได้อย่างราบรื่น และใช้ได้กับอุตสาหกรรมหลายประเภท

แอปพลิเคชัน “KANNA” คำนึงถึงการพัฒนาในเรื่อง การควบคุมคุณภาพ ต้นทุน และกำหนดการส่งมอบงาน  ด้วยความตั้งใจของทีมงานที่มุ่งพัฒนาเพื่อให้การทำงานตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และสามารถเชื่อมข้อมูลการทำงานทุกแผนกผ่านแพลตฟอร์มในแอปพลิเคชัน ด้วยการเก็บรักษาความปลอดภัยของข้อมูลระดับสูง ทำให้ไม่ต้องกังวลในการเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลาที่ต้องการ จึงเรียกได้ว่า “KANNA” เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดให้การจัดการงานโครงการและความปลอดภัยไปพร้อม ๆ กัน

หลังจากที่เราเปิดตัวในปี 2563 เราได้พัฒนาระบบรองรับภาษาอังกฤษในปี 2565 เพื่อขยายกลุ่มผู้ใช้งานนอกประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้เราได้เพิ่มรองรับการใช้งานในภาษาไทยและภาษาสเปนด้วย ปัจจุบันผู้ใช้งาน “KANNA” มีมากกว่า 20,000 บริษัท จาก 10 กว่าประเทศทั่วโลก เช่น ญี่ปุ่น ดูไบ อังกฤษ อินเดีย ออสเตรเลีย สเปน ไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม เคนย่า และอูกันด้า

ภายในงานเปิดตัว “KANNA” มีการสัมมนา Building the Future with Digital transformation เชื่อมเทคโนโลยีจากญี่ปุ่นสู่ไทย การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในวงการก่อสร้างในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ซึ่งยืนยันโดยวิทยากรที่มาร่วมงาน อาทิ

นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย อัปเดตการก่อสร้างไทยว่า “รูปแบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เปลี่ยนไปตามกลไกตลาดในช่วงวิกฤติโควิด-19 สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับตัวอย่างรวดเร็วของผู้ประกอบการในวงการก่อสร้าง สถานการณ์ตอนนี้ พบว่าการวางระบบสาธารณูปโภค ขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ระบบรางและถนน เมกะโปรเจ็คต่าง ๆ กระจายไปเกือบทุกภูมิภาคแล้ว เราเห็นการขยายตัวของชุมชนเมืองตามจังหวัดใหญ่ ๆ มากขึ้น ดังนั้นบริษัท หรือ ผู้รับเหมารายย่อยถ้าจัดการโครงการได้เร็วก็สามารถรับงานต่อเนื่องได้ทันที หวังว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้จะช่วยให้วงการก่อสร้างของเราพัฒนาได้ทัดเทียมต่างชาติเร็วขึ้นด้วย”

ด้านนวัตกรรมการก่อสร้างจากญี่ปุ่น ได้รับการบรรยายจาก Mr. Masahiko Kanari, Director and Executive Vice President และ Mr. Munenori Takaya, General Manager Property Development, Thai Obayashi Corporation Limited ถึงแนวคิดในการออกแบบและสร้างอาคาร O-NES ว่า “เราใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างจากญี่ปุ่นในการออกแบบอาคาร O-NES ให้มีความสวยงามล้ำสมัย เพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารด้วยเสาโครงเหล็กที่ใช้พื้นที่น้อยกว่าเสาทั่วๆ ไป และได้มาตรฐานความปลอดภัยหากเกิดแผ่นดินไหว ถือเป็นต้นแบบสำหรับการก่อสร้างอาคารอื่น ๆ ต่อไป”

ไม่เพียงแต่เทคโนโลยีด้านดิจิทัลจากญี่ปุ่นที่ถูกนำมาใช้ในการก่อสร้างแล้ว ยังมีแนวคิดวิธีการจัดการต่อธรรมชาติอีกด้วย ซึ่ง ดร. นเรศ วชิรพันธุ์สกุล Senior Vice President, Magnolia Quality Development Corporation Limited  กล่าวว่า “โครงการเดอะ ฟอเรสเทียร์มีพื้นที่สีเขียวกว่า 56% ของพื้นที่ทั้งหมด 398 ไร่ และเป็นโครงการแรกของโลกที่ธรรมชาติและมนุษย์สามารถอาศัยอยู่รวมกันตามแนวคิด ‘For All Well-Being’ สิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เรามั่นใจว่าจะบริหารโครงการต่อไปในระยะยาวได้ ทำให้เราสามารถบริหารและดูแลทั้งพีชและสัตว์ตามธรรมชาติในโครงการได้อย่างดี”

เบื้องหลังความสำเร็จของญี่ปุ่น เกิดจากความร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาตนเองเสมอ ตัวอย่างเช่น โครงการ PX (Panasonic Transformation) ในกลุ่มบริษัทพานาโซนิค ซึ่ง Mr. Hidekazu Ito กรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพิ่มเติมว่า “เราเริ่มโครงการ PX ขึ้นเพื่อพัฒนาและปรับธุรกิจให้ทันกระแสโลกที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ใช้การระดมความร่วมมือของคนและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน สร้างองค์กรใหม่จากบันได 3 ขั้น คือ เทคโนโลยี รูปแบบการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กร ด้วยแนวคิดการใช้ดาต้าและเทคโนโลยีมาผสมผสานกันให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ต่อทั้งองค์กร พนักงาน และผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา”

ภายในงานมีการเสวนาร่วมกันถึงการใช้เทคโนโลยีในวงการก่อสร้างไทย Digital Transformation in Propcon Industries จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน อาทิ รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา นายกสมาคมนักผังเมืองไทย หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมืองคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายไพบูลย์ โชคไพรสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด และ ดร. อิสระ อัคราพิทักษ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอพพลิแคด จำกัด (มหาชน) พบว่า ปัญหาของโครงการก่อสร้างในเมืองหรือชุมชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการสำรวจความต้องการจริงจากผู้ใช้งาน เมื่อโครงการอนุมัติแล้วย่อมมีผลกระทบการใช้งานของชุมชนและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในระยะยาวด้วย เจ้าของโครงการหลายบริษัทยังไม่มีความรู้เพียงพอในการนำเทคโนโลยีมาใช้บริหารจัดการโครงการ ทำให้เกิดปัญหาหน้างานและความล่าช้าเกิดขึ้นบ่อยมาก รวมทั้งปัญหาการลักลอบใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะขาดงบประมาณมีผลต่อมาตรฐานการทำงาน เมื่อต้องแข่งขันกับองค์กรขนาดใหญ่ และความไม่เข้าใจของพนักงานระดับปฏิบัติการในการใช้คอมพิวเตอร์ แอปพลิเคชัน โปรแกรม ทำให้เกิดผลเสียต่อการทำงานจากจุดเล็ก ๆ ที่กระทบต่อโครงการขนาดใหญ่ได้

ดร.พงศ์ธร ธาราไชย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ในฐานะตัวแทน “KANNA” ประเทศไทยกล่าวแนะนำว่า “หัวใจของการบริหารจัดการโครงการก่อสร้าง อยู่ที่การเข้าใช้งานจริงของผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสาน สื่อสาร และจัดเก็บเอกสาร บนแพลตฟอร์มที่แม่นยำ ใช้งานง่าย นี่คือ สิ่งสำคัญที่ทีมงาน Aldagram Inc. พัฒนา “KANNA” ขึ้นมาแก้ปัญหาดังกล่าว และต่อยอดการใช้งาน  ช่วยทำให้เรื่องยุ่งยากหมดไป ขอเชิญผู้ที่สนใจ ลงทะเบียนเพื่อทดลองใช้ฟรี ได้ที่ https://lp.kanna4u.com/th/

Mr. Hikaru Nagahama CEO,  Aldagram Inc. กล่าวสรุปว่า “เราตั้งใจสร้าง “KANNA” ในรูปแบบของแอปพลิเคชันที่เข้าถึงได้ง่าย ไม่เพียงแต่ใช้งานสำหรับกลุ่มบริษัทก่อสร้างเท่านั้น ได้ขยายกลุ่มผู้ใช้ในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกด้วย “KANNA” ช่วยในการแชร์ข้อมูลและบริหารจัดการโครงการได้อย่างง่ายดายจากสถานที่ปฎิบัติงานจริง หวังว่า “KANNA” จะเป็นเครื่องมือ ช่วยให้บริษัททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะพัฒนาการใช้งานอย่างต่อเนื่องต่อไป”

แอปพลิเคชัน “KANNA” ดีอย่างไร

● แชร์ข้อมูลจากสถานที่ปฎิบัติงานอย่างถูกต้องและแม่นยำ

● ลดเวลาในการจัดการงานเอกสารต่าง ๆ และเวลาในการเดินทาง

● บริหารจัดการโครงการต่าง ๆ ได้พร้อมกันในที่เดียว

สนใจติดต่อ info_thai@aldagram.com


You must be logged in to post a comment Login