- อ.เบียร์ช่วยวัดสวนแก้วPosted 1 hour ago
- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 1 day ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 2 days ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 3 days ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 4 days ago
- อย่าไปอินPosted 1 week ago
- ปีดับคนดังPosted 1 week ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 2 weeks ago
สสส.จับมือเครือข่ายหนุนเปิดเส้นทางท่องเที่ยวสีเขียว
เมื่อพูดถึงการท่องเที่ยวแบบ ZERO CARBON บางคนอาจจะสงสัยว่าการท่องเที่ยวนั้นทำให้เกิดคาร์บอนได้ด้วยหรือ? ในเรื่องดังกล่าวยังอาจเป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับคนไทย และอาจมีคำถามตามมาว่า ทำไมเราต้องมีการท่องเที่ยวแบบ ZERO CARBON และเมื่อทำแล้วใครจะได้ประโยชน์ สิ่งแวดล้อมจะดีจริงหรือไม่
ท่องเที่ยวแบบ ZERO CARBON หรือ การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ในครั้งนี้จะขอใช้คำว่า การท่องเที่ยวสีเขียว สำหรับพัฒนาการท่องเที่ยวสีเขียวครั้งนี้เกิดจากความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (อส.) มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) และมหาวิทยาลัยพะเยา (มพ.) ที่ได้ใช้งานวิจัยเข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับการบริหารการจัดการการท่องเที่ยวและความร่วมมือการพัฒนาคุณภาพอุทยานแห่งชาติในพื้นที่ภาคเหนือ สู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดยมีพื้นที่อุทยานแห่งชาติสีเขียวต้นแบบ 3 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน และอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า และพื้นที่เครือข่ายอุทยานแห่งชาติสีเขียวอีก 9 แห่ง อาทิ อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ และอุทยานแห่งชาติเขาค้อ เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวไทยให้ก้าวไปสู่ระดับสากล
นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ คณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 2 สสส.กล่าวว่า จากผลกระทบภาคการท่องเที่ยวในอดีตที่ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลต่อสุขภาพประชาชน ปัจจุบันกระแสการท่องเที่ยวมุ่งใส่ใจสิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม วัฒนธรรม และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism Development) การท่องเที่ยวสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Green and Health Tourism) จึงเป็นการท่องเที่ยวกระแสหลักในอนาคตของประเทศ สสส. ร่วมกับ บพข. สนับสนุนการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ตามเส้นทางการท่องเที่ยวของกลุ่มอุทยานแห่งชาติสีเขียวในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน มุ่งสร้างความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เน้นการเป็นผู้ประกอบการสีเขียว และสร้างจิตสำนึกทางการท่องเที่ยว
“ในมุมมองของ สสส.เรามองไปถึงงานวิจัย พื้นที่ต้นแบบและการขยายผลในรูปแบบต่างๆเพื่อที่จะเข้าถึงคนที่ได้ประโยชน์จริงๆ ฉะนั้นงานในส่วนของ GREEN TOURIM หรือการท่องเที่ยวที่เน้นการไม่สร้างมลพิษอย่าง ZERO CARBON ที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเชิงสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นขยะล้นเมือง หรือนักท่องเที่ยวที่ไปพร้อมขยะติดตัวไป หรือแม้กระทั่งปัญหามลพิษทางอากาศ เช่น PM2.5 ซึ่งหลายพื้นที่มีศักยภาพทำงานเพื่อการโปรโมทการท่องเที่ยวที่ดี แต่ปัญหา PM2.5 ทำให้การท่องเที่ยวซบเซาไป บางพื้นที่ในภาคเหนือบ้างพื้นที่มีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจ นำรายได้เข้าประเทศ เช่น จ. เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน เจอPM2.5 เข้าไปบางพื้นที่แทบจะอยู่ไม่ได้ โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีพื้นฐานการท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับประเทศเกิดปัญหาตามมามากมาย” นายชาญเชาวน์ กล่าว
นายชาญเชาวน์ กล่าวว่า ในการทำงานกับชุมชน และภาครัฐ ชุมชนจะได้ประโยชน์จากโครงการนี้มาก ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในสร้างความเข้าใจด้านมลพิษ การทำงานเพื่อที่จะใช้พลังงงานสะอาดมากขึ้น การทำงานที่จะลดกระบวนการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลดการใช้เครื่องยนต์ดีเซลที่จะก่อให้เกิดมลพิษ หรือการเผาต่างๆ ซึ่งชุมชนมีส่วนร่วมสื่อสารกับคนในพื้นที่ได้อย่างมาก สุดท้ายตัวกลไกผู้บริโภคจะมีความสำคัญมาก ปกติเราจะสนับสนุนการท่องเที่ยวที่ชุมชนไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเยอะ เราจะเข้าไปสนับสนุนชุมชนที่สามารถเข้าไปจัดการเรื่องป่าชุมชนได้ และสนับสนุนให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพได้ ซึ่งเวลาเราไปท่องเที่ยวเราอยากเห็นสัตว์ พืชพรรณธรรมชาติที่มันดูหลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นโครงการที่สำคัญ
ทั้งนี้คนในชุมชนได้รับประโยชน์เยอะมาก เช่นฝั่งชุมชนจะมีได้รายรับที่มากขึ้น ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่เห็นได้ชัด เมื่อชุมชนมีรายรับที่ดีขึ้น ชุมชนจะมีศักยภาพในการดูแลตนเอง ซึ่งที่ผ่านมาช่วงโควิดนักท่องเที่ยวลดลงเป็นจำนวนมาก เราจะทำให้ชุมชนได้รายรับที่กลับมาซึ่งการท่องเที่ยวสีเขียวเป็นนโยบายของประเทศโดยเฉพาะรัฐบาลใหม่ ที่เน้นท่องเที่ยวปลอดภัย เราคิดว่าการสนับสนุนงานวิชาการเหล่านี้ผ่านการประยุกต์ใช้ในพื้นที่ผ่านชุมชนจะทำให้ชุมชนสามารถเข้าใจกระบวนการทำงานของตนเอง และลดการสร้างมลภวะต่างๆที่จะส่งผลต่อชุมชนเอง
“บทเรียนในการพัฒนาการท่องเที่ยวสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของจังหวัดเชียงใหม่ จะเป็นต้นแบบที่ดีในการนำไปพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวใหม่ๆ ตามนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองของรัฐบาล ซึ่งทาง สสส. ได้เข้าไปมีส่วนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่ 2 ดอย 1 ผา ในจังหวัดเชียงราย เพื่อสร้างแผนการท่องเที่ยวแบบบูรณาการระหว่างจังหวัดที่ติดกัน และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวระหว่างเมืองหลัก เมืองรอง ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางให้รัฐบาลสามารถนำไปขับเคลื่อนนโยบายด้านการท่องเที่ยวต่อไปได้”นายชาญเชาวน์ กล่าว
ผศ.ดร.สุขทัย พงศ์พัฒนศิริ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวว่า อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ทั้งหมด 301,184 ไร่ มีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ 269,539 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq/ปี) มีสถิตินักท่องเที่ยวที่มาเยือนในปีงบประมาณ 2565 ถึง 439,165 คน มีความต้องการพื้นที่ป่าไม้ที่ใช้ดูดซับก๊าซเรือนกระจก 6,037 tCO2eq หรือ 38,000 ไร่ ที่ผ่านมาหัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีวิสัยทัศน์พัฒนาการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมชุมชนภายใต้สังคมคาร์บอนต่ำ เข้าร่วมประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ทำให้ทราบปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก นำไปสู่แนวทางลดปริมาณการปลดปล่อย ด้วยการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และทรัพยากรที่มีฉลากสิ่งแวดล้อม (Environmental Labels) 17.24% การใช้ผลิตภัณฑ์สินค้าตะกร้าเขียว 6.90% การคัดแยกขยะ รวมถึงในส่วนของผู้ประกอบการร้านค้าและร้านอาหารบริเวณอุทยาน ที่ได้มีการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมประกอบอาหาร และการจัดทำเมนูอาหารคาร์บอนต่ำ (Sustainable Menu) ของแต่ละร้านค้าอีกด้วย
ในเบื้องต้นผู้ประกอบการที่เข้าร่วมจะได้รับการอบรมความรู้เรื่องการลดมลภาวะในรูปแบบต่างๆ สิ่งของที่ใช้ เช่น ถ้วยกาแฟ จะเป็นถ้วยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการเพิ่มขยะ สนับสนุนการใช้วัสดุรีไชเคิล และมีการติดเพื่อการรับรู้ว่ากิจกรรมใด อาหารแบบไหนที่จะก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนมากที่สุด เป็นต้น
การท่องเที่ยวสีเขียวจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างรับผิดชอบ และสร้างจิตสำนึกให้ผู้ประกอบ นักท่องเที่ยว คนในชุมชนได้ตระหนักถึงภัยร้ายทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์!!
You must be logged in to post a comment Login