วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

สสว. จับมือ ISMED และมรภ.สวนสุนันทา ปั้น SME เข้าสู่ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกว่า 1,600 ราย ตันยอดขายโตกว่า 180 ล้านบาท

On September 14, 2023

สสว. ISMED และ มรภ.สวนสุนันทา ร่วมแถลงความสำเร็จการดำเนินงานพัฒนา MSME ให้มี ความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับส่วนแบ่งทางการตลาด ประจำปี 2566 ที่ผลักต้นให้ผู้ประกอบการจากทั่วประเทศกว่า 1,600 ราย เปิดประตูสู่โอกาสในการเข้า ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ Thai SME-GP โดยสามารถสร้างมูลค่ทางเศรษฐกิจได้มากกกว่า 180 ล้าน บาท

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวภายหลังเป็นประธานในงานว่า ตั้งแต่ปี 2564-2565 ที่ สสว. ได้เผยแพร่มาตรการ THAI SME-GP เพื่อให้ เอสเอ็มอี ตลอดจนหน่วยงานของรัฐได้รับทราบ และได้สร้างความรู้ ความเข้าใจในการเข้าถึงระบบการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ รวมทั้งส่งเสริมผู้ประกอบการให้ทราบถึงแนวโน้มโอกาสของตลาดจัดซื้อจัดจ้าง ขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ รวมไปถึงการพัฒนายกระดับเอสเอ็ม ให้เข้าสู่ตลาดจัดซื้อจัดจ้างของภาศรัฐและก่อให้เกิดมูลคำเชิงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลาง ได้ส่งเสริมสนับสนุนเอสเอ็มอี ให้เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐ และ สสว. ได้จัดเตรียมระบบการลงทะเบียนเอสเอ็มอีเพื่อการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ หรือTHAI SME-GP สำหรับให้หน่วยงานของรัฐได้ค้นหาสินค้า และสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการได้รับสิทธิประโยชน์ด้วยแต้มต่อต้านราคาเพื่อให้เอสเอ็มอีที่เสนอสูงกว่าราคาต่ำสุดร้อยละ 10 สามารถเป็นผู้ชนะการแข่งขันได้

ผอ.สสว. เผยอีกว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีลงทะเบียนในระบบ THAI SME-GP แล้วจำนวน กว่า 150,000 ราย โดยพื้นที่ลงทะเบียนสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี เชียงใหม่ ปทุมธานี นครราชสีมา สำหรับมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้าง ปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมา มีมูลค่าจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมดกว่า 1.16 ล้านล้านบาท โดยมีสัดส่วน จัดซื้อจัดจ้างจากเอสเอ็มอี กว่า 41.26 %6 มูลค่ารวม 4.8 แสนล้านบาท โดย หน่วยงานภาครัฐที่มีการจัดซื้อจัดจ้างกับเอสเอ็มอีมากที่สุด 5 หน่วยงานหลักได้แก่ กรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมโยธาธิการและผังเมือง

นายวชิระ แก้วกอ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า การจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนา MSME เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยรูปแบบกิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมการอบรมให้ความรู้ กิจกรรมการให้คำปรึกษาเชิงลึก และถ่ายภาพสินค้าหรือบริการแก่ผู้ประกอบการ โดยในปี 2566 มีหน่วยงานร่วมตำเนินกิจกรรมแบ่งตามพื้นที่ดำเนินการ ได้แก่ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) ตำเนินกิจกรรมกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และ กรุงเทพมหานคร จำนวนกว่า 900 ราย และ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มรภ.สส.) ดำเนินกิจกรรมใน กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ จำนวนกว่า 700 ราย รวมจำนวนการพัฒนา ผู้ประกอยการในโครงการฯ ทั้งหมดกว่า 1,600 รายที่สามารถข้าถึงตลาดภาครัฐและเพิ่มโอกาสในการได้รับส่วนแบ่งตลาด

นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรม Thai SME GP Road Show ในแต่ละภูมิภาค จำนวน 5 ครั้งได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ชลบุรี ปัตตานี ขอนแก่นและลำปาง เป็นการเปิดประตูสู่โอกาส พร้อมจับคู่ธุรกิจ ให้เกิด การจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ขาย ทั้งผู้ประกอบการ MSME และ SME และ “ผู้ซื้อ” จากหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกขนในพื้นที่ เป็นการกระตุ้นและสร้างการรับรู้ต่อการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแนวคิด “รัฐพร้อมซื้อ SME พร้อมขาย” ผลการดำเนินโครงการฯ ในปี 2566 นี้สามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต สร้างรายได้ หรือขยายการลงทุน สร้างมูลค่ทางเศรษฐกิจได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 180 ล้านบาท”

ในงานดังกล่าว ยังมีกิจกรรมเสวนา “ความสำเร็จ MSME ไทย สู่การเป็นคู่ค้าภาครัฐ” โดย ตัวแทน จากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการ ร่วมแชร์ประสบการณ์จากการร่วมกิจกรรม และเข้าสู่ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พร้อมทั้งความสำเร็จที่ได้รับจากโครงการ

นางสาวสุนันทา ไขยณรงค์ บริษัท อีสเทิร์น เฟอร์นิเจอร์ แอนด์ อินทีเรียดีไซน์ จำกัด ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจากจังหวัดชลบุรี กล่าวถึงประโยชน์ที่ใด้รับจากการเข้าร่วมโครงการว่า นอกจากจะได้รับความรู้ความเข้าใจ ในกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ กระบวนการและวิธีดำเนินการเข้าทำ e-bidding ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และภายหลังการอบรมได้ขอรับคำแนะนำจากทางเจ้าหน้าที่และอาจารย์ที่ ปรึกษากรณีติดปัญหาหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้สามารถเข้าดำเนินการยื่นเสนอราคางานจัดซื้อจัดจ้าง กับภาครัฐครั้งแรกจนได้รับคัดเลือก ชนะการเสนอราคาจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) มูลค่างาน 1,695,000 บาท

นางสาวจันทร์เพ็ง กาฬหว้า เจ้าของร้าน ก้องรักรองเท้าผ้าไทย ผู้ประกอบการรายย่อย (Micro SME) จากจังหวัดนครราชสีมา เผยว่า การเข้าอบรมฯ ทำให้ได้รับความรู้ ฝึกทักษะการถ่ายภาพ ลงข้อมูลใน ระบบ THAI SME-GP กระทั่งเข้าใจและเรียนรู้วิธีการ E-Bidding กับภาครัฐ เปิดโลกทัศน์ของการทำธุรกิจ การเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนทำให้มองเห็นโอกาสต่อยอดหน่วยงานภาครัฐ โดยเราได้เป็นคู่ค้ากับทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ที่มีคำสั่งซื้อรองเท้ากรำ 1,000 ยู่ มูลคำกรำแสนบาท หลังจากนั้นก็ ต่อยอดไปสู่หน่วยงานภาครัฐในจังหวัดข้างเคียง ทั้งโรงเรียน โรงพยาบาล มหาวิทยาลัยระดับพื้นที่ และได้รับ การติดต่อให้ผลิตรองเท้าให้กับหน่วยงานและธุรกิจโรงแรม สร้างโอกาสในการเจอคู่ค้าระหว่างผู้ประกอบการ ด้วยกันเอง ทำให้ต่อยอดผ้าประเภทต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น” ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าสู่ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ได้ทาง 0.com หรือ ติดตามข่าวสารกิจกรรมทาง Faccbook : OSMEP สสว. / แอปพลิเคชัน SME CONNEXT และ Line Official : @thaisme*xp


You must be logged in to post a comment Login