- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 20 hours ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 2 days ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 3 days ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 4 days ago
- อย่าไปอินPosted 1 week ago
- ปีดับคนดังPosted 1 week ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 2 weeks ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
เหล้า+สมอง : สุขระยะสั้น ทุกข์ระยะยาว
พี่ตี๋ ชายวัย 58 ปี ใช้ชีวิตอยู่กับเหล้ามาตลอดตั้งแต่เป็นวัยรุ่นและหาเงินเองได้ จนกระทั่งก้าวเข้าสู่วัยทำงานที่มีรายได้ประจำ การดื่มของพี่ตี๋ก็ยกระดับตามฐานะทางการเงิน ดื่มทุกวัน ตื่นเช้ามาทำงาน ดื่มเหล้าได้ทุกชนิด ทั้งเหล้าวิสกี้ เหล้าขาว หรือแม้กระทั่งเซี่ยงชุน พี่ตี๋ดื่มตลอด ดื่มไม่หยุดจนกระทั่งสุขภาพร่างกายเริ่มแย่ อาการที่สังเกตได้คือดื่มน้อย อาการยังมึนเหมือนคนเมามาก จึงเริ่มหยุดหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่พี่ตี๋ละเลยคือ การทานยาไม่ตรงตามเวลาที่หมอสั่ง จนกระทั่งวันหนึ่งที่พี่ตี๋มีอาการเหมือนบ้านหมุนจึงได้มาหาหมอที่โรงพยาบาล และวินาทีเฉียดตายก็เริ่มขึ้น เมื่อระหว่างรอหมอพี่ตี๋มีอาการกำเริบ แสบตา ลิ้นแข็งพูดไม่ชัด แขนขาครึ่งซีกเป็นอัมพาต โชคดีที่เกิดเหตุในโรงพยาบาล การรักษาจึงทันท่วงที พี่ตี๋รอดตาย สภาพร่างกายคืนกลับมา แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับพี่ตี๋ในวันนั้น คือผลพ่วงจากการดื่มมาอย่างต่อเนื่อง
จากประสบการณ์เฉียดตายของพี่ตี๋ นายรังสรรค์ ชื่นประเสริฐ ประธานชุมชนวัดอัมพวา เขตบางกอกน้อย กทม. ถูกหยิบยกดัดแปลงมาเป็นละครเวทีในงานเสวนาหัวข้อ “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับสมอง…ความจริงของนักดื่ม” ที่ โรงแรมแมนดาริน ได้ให้ผู้เข้าร่วมการเสวนาได้รับชมและตระหนักถึงภัยร้ายของแอลกอฮอล์ที่มีต่อสมอง ที่ทำให้คนเราตาย หรือกลายเป็นคนพิการได้
นพ.ประชา กัญญาประสิทธิ์ ศัลยแพทย์ระบบประสาทและหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม ในโลกโซเซียลจะรู้จักดีในชื่อของ หมอประชาผ่าตัดสมอง กล่าวว่า จากกรณีข้างต้นชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต่อสมอง ที่ในช่วงแรกของการดื่มจะมีความสุขในระยะสั้น ส่วนทุกข์ที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวคืออาการสโตรก ที่อาจทำให้เสียชีวิตหรือพิการได้ ทำให้ขาดสติ เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกับคนรอบข้างหรือคนในครอบครัว ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ แต่ถ้าคนที่รอดจากความเสี่ยงต่างๆมาได้ ความเสี่ยงที่จะตามมาคือ โรคสมองเสื่อม โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มต่อเนื่องเกิน 5 ปีขึ้นไปจะพบว่ามีความเสี่ยงของการเกิดโรคสมองเสื่อมมากกว่าคนที่ไม่ดื่ม
ดังนั้นสรุปได้ว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลกระทบต่อสมองทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผลทางตรง ทำให้สมองมีอายุสั้นลง สมองฝ่อก่อนวัยอันควร เป็นอัลไซเมอร์เร็วกว่าที่ควรจะเป็น เช่น บางคนอาจจะเริ่มเลอะเลือนตอนอายุ 90 ปี แต่แค่ 50 ปี ก็เริ่มจำใครไม่ได้แล้ว ส่วนผลกระทบโดยอ้อม จะส่งผ่านระบบอื่นๆ ของร่างกาย เช่น 1.ระบบหลอดเลือด หลอดเลือดหัวใจ ระบบการเผาผลาญของตับ แอลกอฮอล์จะทำให้หลอดเลือดอักเสบ เสื่อมสภาพ เกิดการอุดตัน หรือเปราะแตก สามารถเกิดสโตรกได้มากกว่าคนที่ไม่ดื่ม 2.ทำให้หน้าที่ในการผลิตสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวของตับทำงานได้น้อยลง ทำให้เกล็ดเลือดน้อยลง 3.ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะดื่ม เส้นเลือดรับแรงดันไม่ได้ก็แตก เส้นเลือดในสมองแตก 3.เกิดอุบัติเหตุ จะทำให้เลือดออกมาก หยุดไหลช้า หรือเลือดไหลไม่หยุด ผ่าตัดยาก เพราะห้ามเลือดยาก เพิ่มความเสี่ยงในการพิการและเสียชีวิตมากกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม ดังนั้น สิ่งสำคัญคือดื่มต้องไม่ขับ
“ปัจจุบันมีพบผู้ป่วยสโตรกตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ในคนกลุ่มนี้ส่วนมากเป็นโรคความดันโลหิตสูงแบบไม่รู้ตัว และทุกๆ12นาทีคนตายจากโรคหลอดเลือดสมอง ปีที่แล้วมีคนพิการถึง 1แสนคน การป้องกันคือ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ออกกำลังกายเป็นประจำ ดังนั้นตนจึงอยากฝากไปยังกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ควรให้ความรู้เน้นการป้องกันแก่ประชาชน เมื่อไหร่ที่คนรู้และตระหนักคนจะเป็นโรคนี้น้อยมาก อยากฝากหมอชลน่าน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขให้เน้นการป้องกัน จึงอยากให้ สธ. ทำเรื่องนี้ให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม
ด้าน นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สสส. กล่าวว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดเป็นสารเสพติดให้โทษชนิดหนึ่งที่มีผลกระทบทางสุขภาพและทางสังคมอย่างกว้างขวาง จากข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่า ทุกปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากพิษของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประมาณ 3 ล้านคน เป็นสาเหตุของโรคมากกว่า 230 ชนิด ทั้งนี้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบแนวโน้มคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป 57 ล้านคน ดื่มแอลกอฮอล์ลดลงจาก 28.40% ในปี 2560 เหลือ 28% โดยเพศชายดื่ม 46.4% เพศหญิงดื่ม 10.8% ในจำนวนนี้มี 5.73 ล้านคน เคยดื่มหนักในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็น 10.05% แบ่งเป็น ดื่มหนักประจำ 1.37 ล้านคน คิดเป็น 2.40% และดื่มหนักครั้งคราว 4.36 ล้านคน คิดเป็น 7.65 % ทั้งนี้ ผู้ดื่มหนักมีแนวโน้มลดลงจาก 11.9% ในปี 2560 เหลือ 10.05% ในปี 2564
สำหรับการดื่มของคนไทยในวันนี้ เราดื่มถึง 28% และปรากฏมีการดื่มในลักษณะที่เรียกว่าดื่มหนัก ดื่มจนมีความเสี่ยง ดื่มจนเกิดปัญหากับตัวเองและสังคมอย่างมากมาย ซึ่งบางคนอาจเกิดปัญหากับสมองทำให้เกิดเรื่องของจิตเวชไปทำร้ายคนอื่น ไปทำร้ายตนเอง ก่อความรุนแรงทั้งครอบครัวและสังคม รวมถึงการทำให้เกิดอุบัติเหตุและทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจ จากการวิจัยต้นทุนผลกระทบทางสังคมจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในไทยปี 2564 ได้ประมาณการความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 165,450.5 ล้านบาท หรือ 1.02% ของ GDP และคิดเป็น 2,500 บาทต่อหัวประชากร และต้นทุนทางอ้อมจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 159,358.8 ล้านบาท เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดผลกระทบ 1.ด้านสุขภาพ เช่น ป่วยโรคตับ โรคหัวใจขาดเลือด แอลกอฮอล์เป็นพิษเฉียบพลัน 2.ด้านสังคมและวัฒนธรรม เช่น เกิดความรุนแรงในครอบครัว ทะเลาะวิวาท อุบัติเหตุทางถนน 3.ด้านเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ เช่น สูญเสียค่ารักษา หน้าที่การงานมีปัญหา ทรัพย์สินเสียหาย ขาดโอกาสเติบโตทางเศรษฐกิจ การที่ผู้ชายไทยอายุคาดเฉลี่ยในปี 2564 เท่ากับ 73.5 ปี ต่ำกว่าผู้หญิงถึง 7 ปี ส่วนหนึ่งมาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
“ส่วนนี้เกิดจากระบบทุนนิยม ที่ปล่อยให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านระบบของสุรา การที่เรามีเครือข่ายจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดื่มสุรามารวมตัวกัน และพยายามที่จะสร้างกระแสให้คนให้ถึงสภาพปัญหาและสิ่งที่สุราก่อผลกับสมองของเรา สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้จำเป็นต้องเร่งให้ข้อมูล ให้คนเรารู้ว่า ชีวิตเรานั้นมีแค่ชีวิตเดียว เราต้องดูแลชีวิตนี้ หากเราไม่ดูแลสิ่งที่เป็นความสุขรอบๆตัวเราจะหายไป ดังนั้นเราจะเห็นหลายๆคนที่ยังดื่มเป็นประจำมันคือความสุขสำเร็จรูป ในที่สุดแล้วสุราจะทำให้เกิดทุกในระยะยาว ดังนั้นเราต้องดูแลปอดของเรา ตับของเรา หัวใจ สมองของเราให้ดีที่สุดไม่ให้เกิดผลกระทบที่มาจากสุราได้” นพ.พงศ์เทพ
ที่ผ่านมา สสส. ร่วมกับเครือข่ายขับเคลื่อนงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วางยุทธศาสตร์ทั้งด้านนโยบาย ด้านวิชาการ ภาคประชาสังคม และการทำงานเชิงพื้นที่ เพื่อทำให้เกิดสังคมไทยห่างไกลจากภัยสุรา เพราะร่างกายเรามีร่างเดียว เปลี่ยนไม่ได้ ต้องดูแลให้ดีเพื่อให้ใช้ได้ยาวนาน จนถึงวัยชรา จึงอยากเชิญชวนให้ใช้โอกาสนี้งดเหล้าเข้าพรรษา หรือหาช่วงเวลาพักตับ ลดการทำลายสมอง พักการดื่มให้จริงจัง หรืองดดื่มได้จะดีที่สุด
You must be logged in to post a comment Login