วันพฤหัสที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

แจ้งเกิดนักออกแบบเครื่องหนังไทยรุ่นใหม่บนเวที “The Next Leather Goods Designers Competition 2023” อีกหนึ่งความสำเร็จของงาน APLF ASEAN 2023

On October 31, 2023

นอกเหนือจากการจัดแสดงเทรนด์ที่ล้ำสมัย ผลิตภัณฑ์ชั้นนำ และวัสดุหนังคุณภาพสูงแล้ว APLF Asean 2023 ยังเปิดโอกาสให้นักออกแบบระดับปริญญาตรีได้แสดงทักษะ ด้านการออกแบบ ครื่องหนัง ของพวกเขาอีกด้วยกับกิจกรรมการประกวด “The Next Leather Goods Designers Competition 2023” ซึ่งรอบชิงชนะเลิศได้จัดขึ้นในวันที่ 26 ตุลาคม ณ ฮอลล์ 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ซึ่งผู้เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้ายจากมหาวิทยาลัยชั้นนำได้นำเสนอผลงาน กระเป๋า และแผนธุรกิจของตัวเองทั้งนี้ทุกทีมในรอบชิงชนะเลิศได้รับหนังซึ่งสนับสนุน โดยโรงฟอกหนังไทยไปผลิตเป็นชิ้นงาน จากทีมนักศึกษาที่เข้าร่วม 41 ทีม ผู้เข้ารอบสุดท้าย 10 ทีมได้แก่

Grey Scale จากมหาวิทยาลัยบูรพามาพร้อมผลงาน “Green Shade” ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเมล็ดพืช ดอกไม้ และเถาวัลย์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นอย่างไม่มีวัสดุสิ้นเปลืองและไม่สร้างขยะเหลือทิ้ง จุดเด่นของกระเป๋าในนี้คือสามารถพับเก็บได้เหมือนการพับกระดาษแบบญี่ปุ่น

ทีม Garnishien จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) นำเสนอผลงานที่สร้างสรรค์เลียนแบบเอกลักษณ์ของไก่บ้านสะท้อนภาพจากสุภาษิตไทยสุดคลาสสิกที่ว่า “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง”

อีกทีมหนึ่งจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังคือ Papblur นำเอาสุภาษิตไทย “เส้นผมบังภูเขา” มาตีความใหม่ให้เข้ากับแนวคิดความเรียบง่ายยั่งยืนกลายมาเป็นผลงานสร้างสรรค์ “Hair Hide The Hill” ในรูปแบบกระเป๋าสะพายข้างที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

ลำดับถัดไปได้แก่ทีม Kardashian จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) นำเสนอผลงานกระเป๋าอันน่าทึ่ง “Siamese Fighting Fish” ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากปลากัดสยามสีสันสดใส ปลาชนิดนี้เป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งใน Soft Power ของประเทศไทยและเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีความงามเป็นเอกลักษณ์

ผู้เข้ารอบทีมต่อไปคือ Absord Heat จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่เข้าประกวดด้วยผลงาน “Absord Heat” ในธีม “The Hand” มีจุดเด่นที่สีของกระเป๋าจะเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง อีกยังมีมือขนาดใหญ่ประดับบนกระเป๋าเพื่อแสดงแนวคิดเกี่ยวกับสัมผัสของมือมนุษย์

รางวัลชนะเลิศ ทีม Ori-ginal จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Tomboy อีกหนึ่งตัวแทนของมหาวิทยาลัยกรุงเทพมาพร้อมผลงาน “Tomboy” ที่สร้างจากเพลงในชื่อเดียวกันของ (G)I-DLE ซึ่งบรรยายถึงการต่อต้านความคาดหวังของสังคม วัสดุที่เหลือใช้จากการผลิตงานอื่นๆ ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างกระเป๋าใบนี้เพื่อเพิ่มใช้ประโยชน์จากมันให้ได้มากที่สุด

ทีมที่ 7 ได้แก่ทีม Saruan Chocolatebuabud จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สร้างความประทับใจให้แก่คณะกรรมการและผู้ชมด้วยผลงาน “Highlight” แสดงถึงปรากฎการณ์จันทรุปราคาบางส่วน โดยการจัดเรียงที่ไม่สมบูรณ์ของดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่สวยงามขึ้นมา เช่นเดียวกับชิ้นงานกระเป๋าหนังของพวกเขา

หลังจากนั้น Nonthakorn Bouloy จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นำเสนอ “Raksa” งานสร้างสรรค์กระเป๋าหนังแท้ที่เกิดขึ้นเพื่อยกย่องวัวซึ่งเป็นแหล่งวัสดุหนังแห่งแรกและเป็นที่นิยมมากที่สุดนับตั้งแต่สมัยแรกเริ่ม

ต่อไปคือทีม Ori-ginal จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒกับกระเป๋าที่นิยามไว้ 3 คำ คือ extravagant, timeless, และ frequent แนวคิดนี้ได้มาจากการพับกระดาษโอริกามิ กระเป๋าใบนี้ขึ้นรูปจากหนังชิ้นเดียวจึงไม่เกิดของเสียในกระบวนการผลิต ทั้งนี้ลูกค้าของพวกเธอยังสามารถสั่งทำกระเป๋าได้หลากหลายรูปทรงและสีตามที่ต้องการได้

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดคือทีม Ling A Lome Khan จากมหาวิทยาลัยบูรพา นำเสนอผลงานการออกแบบ “Loylom” ที่ได้แรงบันดาลใจจากรูปทรงเรขาคณิต กระเป๋ายังสามารถปรับเป็น 3 รูปทรงที่แตกต่างกันเพื่อให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย

ในส่วนของการประกวดนั้น ผศ.กุลชาณัช เติมประยูร จากมหาวิทยาลัยบูรพากล่าวว่า “การแข่งขันครั้งนี้ช่วยพัฒนาความสามัคคี การงาน และความกล้าหาญของนักเรียนในการทำงานร่วมกัน เชื่อว่ามันจะส่งผลต่ออุตสาหกรรมเครื่องหนังไทยรวมถึงการออกแบบและกลยุทธ์การตลาดในอีก 3-5 ปีข้างหน้าอย่างยิ่ง อีกทั้งเครื่องหนังก็จะได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ด้วย”

ขณะเดียวกันอาจารย์ธรรมรัตน์ บุญสุข จากสาขานวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย ภาควิชาศิลปะการออกแบบและเทคโนโลยี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีกล่าวเพิ่มเติมว่า “นี่คือการประกวดครั้งแรกของนักศึกษาของผม ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้ทำให้พวกเขาเปลี่ยนความคิด สร้างสรรค์ให้กลายเป็นชิ้นงานจริงได้ ผมคิดว่าควรจัดให้มีการแข่งขันชิงรางวัลแบบนี้ให้มากขึ้น”

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม Grey Scale จากมหาวิทยาลัยบูรพา

การตัดสินผลการแข่งขันนั้นได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งประกอบด้วย นายกสมาคมอุตสาหกรรมฟอกหนังไทย คุณสุวัชชัย วงเจริญสิน, ผู้ก่อตั้ง Jakawa Leather คุณ Tee Jakawa, ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Mynte Studio คุณณิชาภา จิตสร้างบุญ และ CEO และนักออกแบบของ Vera Paris คุณวิไลพร ศิรินภาพันธ์ โดยผู้ชนะทั้งหมดมีดังนี้

รางวัล Online Favorite Design ได้แก่ Raksa โดย Nonthakorn Bouloy จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

รางวัล Best Innovation Award ได้แก่ Garnishien จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังพร้อมรับเงินรางวัล 5,000 บาท

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม Saruan Chocolatebuabud จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท ได้แก่ Saruan Chocolatebuabud จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเงินรางวัล 15,000 บาท ได้แก่ Grey Scale จากมหาวิทยาลัยบูรพา

และผู้ชนะการประกวด The Next Leather Goods Designers Competition 2023 ได้แก่ Ori-ginal จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพร้อมเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท

The Next Leather Goods Designers Competition 2023 คร้้งนี้จะเกิดไม่ได้เลย หากขาดการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ซึ่งเข้าร่วมแสดงสินค้าในงาน APLF ASEAN 2023 ได้แก่ Allied Chemical Co Ltd, Chung Wang Brothers Co Ltd, CPL Group Public Company Ltd, I.B leather Co Ltd, Kongsiri Tannery Co Ltd, S.F.Leather House Co Ltd, Samutprakarn Tannery Co Ltd, Tan Sin Co Ltd, Thai Tanning Co Ltd, และ Vaikijanek Co Ltd.

การแข่งขันปี 2023 ได้จบลงด้วยความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ซึ่งจะมีส่วนช่วยส่งเสริม ให้นักออกแบบ รุ่นใหม่ ได้พัฒนาตนเองและยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องหนังไทยให้ก้าวไปอีกขั้นในอนาคต เชื่อได้ว่าการประกวดในปี 2024 จะมาพร้อมมีความน่าตื่นตาตื่นใจและวงการเครื่องหนังไทย จะได้ชื่นชมผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ที่ยอดเยี่ยมจากนักเรียนไทยอีกครั้ง

ข้อมูลเพิ่มเติม: www.aplf.com

Facebook: https://www.facebook.com/APLFHK/posts/pfbid0X6RXxhChWacHpMDYpgHBCt3hh6jU8a9ep5KCjczkthoTcCi5ESfPfcRG8Q42qjfal


You must be logged in to post a comment Login