- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 10 hours ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 1 day ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 2 days ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 4 days ago
- อย่าไปอินPosted 7 days ago
- ปีดับคนดังPosted 1 week ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
แข่งเรือปลอดเหล้า โมเดลสร้างสุขของคนน่าน
งานประเพณีแข่งเรือออกพรรษาของคนจังหวัดน่าน ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ประเพณีแข่งเรือธรรมดาเท่านั้น แต่เป็นประเพณีแข่งเรือปลอดเหล้าที่มีอายุยาวนานกว่า 1 ทศวรรษ ที่เกิดจากความร่วมมือของคนในชุมชนที่ต้องการจะแก้ไขปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนในพื้นที่ จนวันนี้กลายมาเป็นน่านสร้างสุข โมเดล
งานประเพณีแข่งเรือออกพรรษาของคนจังหวัดน่านเป็นงานประเพณีที่มีอยู่มานาน และสิ่งที่เห็นกันก่อนหน้านี้คือ ทุกครั้งที่มีการจัดงานประเพณีแข่งเรือออกพรรษาทั้งสองฝั่งแม่น้ำจะเต็มไปด้วยป้ายโฆษณาของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทั้งสองฝั่งแม่น้ำเต็มไปด้วยร้านค้าที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เต็มตลอดพื้นที่ ส่งผลให้งานประเพณีดีๆจะเต็มไปด้วยอุบัติเหตุ ทะเลาะวิวาท เกิดคนพิการและถึงขั้นเสียชีวิตก็มี
งานประเพณีแข่งเรือออกพรรษาปลอดเหล้าของคนจังหวัดน่านทำได้อย่างไร และเกิดความยั่งยืนได้อย่างไร เรามาดูกันนายวิษณุ ศรีทะวงษ์ ผู้จัดการแผนนโยบายสาธารณะ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล.) ได้เล่าถึงการทำงานประเพณีแข่งเรือออกพรรษาปลอดเหล้าว่า ย้อนในปี 2548 มีองคมนตรีท่านหนึ่งได้มาที่จังหวัดน่านแล้วพูดว่า ช้างที่อื่นอยู่ป่า แต่ช้างที่จังหวัดน่านอยู่ริมน้ำ นั่นคือ ทั้งสองฝั่งแม่น้ำมีแต่สปอนเซอร์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเหตุให้คนน่านฉุกคิด ที่สอดคล้องกันว่าจากข้อมูลของสำนักงานสถิติในปี 2564 พบว่า ภาคเหนือมีประชากรดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ ร้อยละ 33.1 ซึ่งมากกว่าภาคอื่นๆโดยมีจังหวัดน่านมีประชากรดื่มสูงสุดคือ ร้อยละ 43.3 จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่เราเข้ามาในประเพณีแข่งเรือปลอดเหล้าหลังจากที่ทำงดเหล้าเข้าพรรษา ทำกฐินปลอดเหล้า
หลังจากที่ทำในงานแข่งเรือพบว่าประเพณีการแข่งเรือนั้นเป็นจิตวิญญาณของคนน่าน เป็นความผูกพันของวัด บ้าน และชุมชน ในการจัดงานจะมีเรือพายกว่า 200 ลำ คนชมในพื้นที่เป็นหมื่นๆคน ไม่รวมพวกฟังทางวิทยุ เราจึงมองว่าช่องทางนี้จะเป็นช่องทางสื่อสารให้ประชาชน จึงเป็นจุดเริ่มต้นเข้ามารณรงค์ โดยในระยะแรกๆก็มีต่อต้านจากคนที่เสียผลประโยชน์คือ ร้านที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำ ซึ่งในระหว่างที่เราทำการรณรงค์ไปนั้นเราจะทำความเข้าใจกับคนในชุมชนเรื่อยมาจนคนน่านเริ่มคิดประเด็นเรื่องของการทำงานของตนเองได้ เช่น คนน่านภูมิใจแข่งเรือบ่มีเหล้าเบียร์ ซึ่งการทำงานที่ผ่านมาพบมีผู้คัดค้านบ้าง แต่เมื่อมีการทำประชามติชุมชน พบว่า 98% ไม่ต้องการเรื่องแอลกอฮอล์และเห็นด้วยกับการจัดงานปลอดเหล้า ทำให้คนที่กินเหล้าเริ่มเสียงเบาลง เสียงของเด็ก สตรี ซึ่งเป็นเสียงที่ไม่ค่อยได้พูดแต่เขารู้สึกว่าเขาไมด้รับผลกระทบจากแอลกอฮอล์ เช่น การเชียร์เรือที่ผ่านมาไม่ว่าจะแพ้หรือชนะจะมีการเขวี้ยงขวดสุราลงต้องทำให้ทุกคนต้องหลบ เป็นต้น
“การที่มีสื่อออกข่าวไปเป็นการตอกย้ำ ทำให้การดื่มลดลงจนทุกวันนี้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ทำไปและนำไปสู่การต่อยอดเป็นนักพากษ์เรือเยาวชนปลอดเหล้า ที่สามารถทำได้ส่งต่อรุ่นต่อรุ่นได้แต่ละปีสามารถผลิตนักพากษ์เรือได้ 40-50คน ซัพพอร์ท 11 สนามซึ่งมีที่จังหวัดน่านเพียงจังหวัดเดียวที่ทำได้แบบนี้ และยังได้ขยายไปยังประเพณีอื่นๆด้วย”
ผลลัพธ์ที่ได้สถิติของผู้บาดเจ็บในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาจะมีจำนวนลดลง ทำให้เห็นเป็นรูปธรรมว่ามันลดความเสี่ยง เพราะคนเมาจากการพายเรือ ขับรถมาคำนวณเป็นค่าอายุยืนสรุปได้ว่าคนจังหวัดน่านอายุยืนที่สุด
ด้าน นายอเนก สิทธิ ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า จังหวัดน่าน และกรรมการสมาคมเรือแข่งจังหวัดน่าน กล่าวว่า ที่ผ่านมาในปี 2547 จังหวัดน่านมีผู้ดื่มสุราติด 1 ใน 10 ของประเทศ ดังนั้นเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนน่านมาคุยกันว่าถ้ายังเป็นอย่างนี้ต่อไปงานบุญประเพณีที่มาพร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มันจะแทรกซึมไปทุกชุมชน ได้มีการเสนอไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดน่านในขณะนั้น ในการสร้างเวทีสาธารณะ การแข่งขันเรือปลอดเหล้า จุดเริ่มต้นจึงเกิดพร้อมกับวันที่เกิด พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คือวันที่ 14 ก.พ. 2551 ทำให้เรามีเครื่องมือในการทำงานระเบียบข้อบังคับในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เราจึงใช้เครื่องมือนี้เข้าไปทำงานบุญประเพณีปลออดเหล้าในช่วงปี 2551 ถือว่าเป็นช่วงเริ่มต้น นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากภาคประชาชน และหน่วยงานภาครัฐซึ่งให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
เมื่อพูดถึงสนามการจัดการแข่งขันในแต่ละอำเภอที่มีทั้งหมด 5 อำเภอ ได้แก่ ปัว เมือง ท่าวังผา ภูเพียง และเวียงสา จะเป็นงานบุญประเพณีแข่งเรือปลอดเหล้าจะมีการแข่งขันในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. ซึ่งได้มีการพูดคุยกันว่าจะทำอย่างไรให้มีการแข่งเรือปลอดเหล้า เราจึงเริ่มที่เยาวชน นำเยาวชนมาช่วยกันรณรงค์ให้ทุกพื้นที่เป็นชุมชนปลอดเหล้า และได้ให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ดูแลอย่างกระทรวงสาธารณสุข เช่น รพ.สต. สาธารณสุขอำเภอ ในจังหวัดช่วยกันให้งานบุญปะเพณีในจังหวัดปลอดเหล้า เราเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
จุดเข้มแข็งของพื้นที่คือ เรามีเครือข่ายของสนามการจัดการแข่งขันซึ่งเป็นเทศบาลและมี อบต.มีส่วนร่วมเขามีงบประมาณในการเข้ามาทำงานบุญประเพณี รวมถึงหน่วยงานจาก สสส. และภาคีสุขภาพจากที่ต่างๆเข้ามาร่วมกันทำงาน ซึ่งในช่วงแรกของการทำงานมีการต่อต้านค่อนข้างเยอะจากทุกภาคส่วนรวมทั้งบริษัทที่จำหน่ายเหล้าเบียร์ ซึ่งในอดีตสามารถขายและเป็นสปอนเซอร์ได้ โดยเฉพาะสนามที่จัดการแข่งขันที่จะมากันเยอะมีทุกค่าย แต่ช่วงหลังเรามางดรับสปอนเซอร์จากบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งการกระทำดังกล่าวไม่กระทบต่อการจัดงาน ซึ่งเราต้องคำนึงถึงสุขภาพของประชาชนมาก่อน และคนที่มาแข่งเรือแข่งเป็นหลัก
ช่วงแรกที่เข้ามาจัดการนี่ท้อมากเลย เราต้องทำความเข้าใจกับทุกพื้นที่เยอะมาก ที่สำคัญที่สุดคือเครือข่ายของทุกภาคส่วนและพระสงฆ์เข้ามาช่วยมาก
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดหลังจากที่งานบุญประเพณีของน่านปลอดเหล้าคือ อุบัติเหตุที่ลดลงอย่างเห็นชัดเจน เพราะก่อนที่จะมีการแข่งขันในแต่ละครั้งจะมีเรื่องของการเกิดอุบัติเหตุขึ้นเสมอ เช่น รถชน เสียชีวิต พิการ การทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว ปัจจุบันจะเห็นว่าบุคลลากรในโรงพยาบาลทำงานสบายมากขึ้น เพราะการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเวลาดังกล่าวลดลง เกิดขึ้น ตำรวจไม่ต้องทำงานอะไรมากแค่เดินตรวจดูความเรียบร้อยจากเดิมต้องไปคุมหน้างานเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือการทะเลาะกัน
นายอเนก กล่าวว่า ในอนาคตเราก็จะทำงานกันต่อไป เพราะเราทำกันมา 15 ปี แล้ว จนจังหวัดน่านเป็นพื้นที่ต้นแบบปลอดเหล้า เพราะเรามีทุกเครือข่ายคอยช่วยกัน แม้ว่างบประมาณจะลดลง แต่ด้วยความเป็นคนเมืองน่านที่รักสุขภาพ เราจะเน้นเรื่องการแข่งขัน แพ้ ชนะของชุมชน ซึ่งเราจะมีการส่งต่อให้เด็กและเยาวชนในการพัฒนาเป็นนักพากษ์เรือสร้างสุข และเยาวชนสร้างสุข ที่ สสส.ทำมา และจะขยายผลทำสื่อรณรงค์ให้ประชาชนได้ทราบว่าเราจะมีการทำงานที่ต่อยอด และเฝ้าระวังกันต่อไป
You must be logged in to post a comment Login