- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 18 hours ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 2 days ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 3 days ago
- อย่าไปอินPosted 6 days ago
- ปีดับคนดังPosted 7 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ลงพื้นที่สมุทรสาคร เดินหน้ายกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน เตรียมความพร้อมสู่ Soft Power
ดร.พรสรรค์ โรจนพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจกรรมเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเปิดเผยว่า สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าชุมชนให้เป็นสินค้าระดับสากล รวมถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีเรื่องราวเกี่ยวโยงกับสินค้านั้น ๆ โดยนอกจากการส่งเสริมผลิตภัณฑ์หรือสินค้าของชุมชนแล้ว ยังเสริมสร้างคนรุ่นใหม่ให้สานต่อภูมิปัญญา ของคนไทย โดยเริ่มตั้งแต่การนำคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่ามาทำงานร่วมกัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้สอดคล้องกับเทรนด์ของโลก รวมถึงการทำประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
ด้าน นายเลอพงษ์ จั่นทอง ประธานวิสาหกิจชุมชนสหกรณ์หมู่ 3 ตำบลโคกขาม และประธานกองทุนหมู่บ้านสหกรณ์หมู่ 3 ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์เกลือของสมุทรสาครได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตอันใกล้นี้จะได้รับเครื่องหมาย อย. และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สร้างความภาคภูมิใจในอาชีพทำนาเกลือ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาอันเก่าแก่ของคนไทย โดยมีสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เข้ามาช่วยพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น เกลือสปาแช่เท้า
เกลือสมุนไพรขัดผิว เกลืออโรมา สบู่ และเกลือปรับอากาศ ให้สอดรับกับนโยบายและเตรียมความพร้อม สู่ Soft Power ของรัฐบาล ซึ่งในปัจจุบันบ้านสหกรณ์โรงเรียนนาเกลือ เป็นศูนย์เรียนรู้การทำนาเกลือ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ยังสนับสนุนการยกระดับ “ขนมกง” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนของ กองทุนหมู่บ้านนาโคก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นขนมท้องถิ่น ที่เกิดจากการทำขึ้นเพื่อถวายพระ มีลักษณะเป็นวงกลมและมีเส้นไขว้พาดกัน คล้ายล้อเกวียน โดยเชื่อกันว่าขนมกงมีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าคนในสมัยนั้นมีความเชื่อว่าการทำรูปร่างขนมกงให้เหมือนล้อเกวียน เปรียบเสมือนกงล้อที่หมุนไปข้างหน้า เช่นเดียวกับพระธรรมจักร หรือกงล้อ แห่งธรรม ทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนอีกด้วย
You must be logged in to post a comment Login