- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 17 hours ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 2 days ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 3 days ago
- อย่าไปอินPosted 6 days ago
- ปีดับคนดังPosted 7 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
ติดอาวุธทางปัญญาสอนเด็กนักเรียน รู้เท่าทันกัญชาผสมอาหาร
โผล่กลางกรุง! เด็กอนุบาลกิน “คุกกี้กัญชา” อาเจียนหนัก หมดสติ
เปิดข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบกัญชา 3 ราย แพทย์พบเด็ก 3 ขวบกินคุกกี้ผสมกัญชาที่อยู่ในบ้าน ต้องนำตัวเข้ารักษา
ผู้ปกครองระวัง! คุกกี้กัญชาเลียนแบบขนมดัง ระบาดในไทยเจอเด็กกินแล้วโคม่า
จากพาดหัวข่าวของคุกกี้ผสมกัญชาที่มีผลกระทบต่อตัวเด็กที่มีเรื่อยมาตั้งแต่ต้นปี มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่เกือบจะเสียชีวิตจากกินคุกกี้ผสมกัญชา และขนมที่มีส่วนผสมจากกัญชา ในขณะเดียวกันกัญชาได้กลายเป็นพืชที่ถูกกฎหมาย สามารถนำใบกัญชามาเป็นส่วนผสมของอาหารได้อย่างเสรี แล้วผู้ใหญ่อย่างเราๆจะสอนให้เด็กเล็กและเด็กประถมได้อย่างไรให้เขารู้เท่าทันกัญชาที่ผสมอยู่ในขนมหรืออาหาร
ที่ผ่านมา ในงานสัมมนาเปิดตัวชุดสื่อกิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันจากกัญชาผสมอาหาร และ Gamification สร้างภูมิคุ้มกันจาก เหล้า บุหรี่ การพนัน สำหรับเด็กวัยอนุบาลและนักเรียนระดับประถมศึกษา ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย ประถมศึกษา และได้มีการเสวนามุมมองของคนรุ่นใหม่ในการจัดสื่อการสอนเด็กจากภัยจากกัญชาผสมอาหาร
จากปัญหากัญชาผสมอาหารที่มีผลกระทบต่อเด็กวัยอนุบาลและประถมศึกษา จึงได้มีโครงการศึกษานำร่องการพัฒนากิจกรรมพัฒนาจิตสำนึกเพื่อการรู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยงจากกัญชาผสมอาหารสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา จัดทำโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสขภาพ(สสส.) และภาคีเครือข่ายจัดทำขึ้นมา โดยมี ดร.อัญญมณี บุญซื่อ เป็นหัวหน้าโครงการฯ เพื่อให้นักเรียนในระดับประถมศึกษาไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง เช่น เหล้า บุหรี่ การพนัน และอบายมุขอื่นโดยผ่านสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกเด็กตั้งแต่วัยปฐมวัย ช่วยป้องกันเด็กจากปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพได้อย่างรอบด้าน
ดร.อัญญมณี กล่าวว่า สำหรับ โครงการ อา – รักข์ – สา เป็นโครงการการศึกษานำร่องการพัฒนา กิจกรรมพัฒนาจิตสำนึกเพื่อรู้เท่ากันปัจจัยเสี่ยงจาก กัญชาผสมอาหาร สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ซึ่งได้ดำเนินการมาแล้ว 2 ปี จะเป็นรูปแบบการดูแลเด็กแบบครบวงจรในทุกด้าน ผ่านสื่อการเรียนการสอนที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ โดยคาดหวังว่าเด็กจะมีทักษะ รู้จักวิธีจัดการปัญหาอย่างมีเหตุและผล อีกทั้งเด็กจะเป็นกระบอกเสียงเพื่อบอกต่อไปยังผู้ใหญ่ ที่อาจจะก่อให้เกิดกระแสใหม่ๆในการต่อต้านปัจจัยเสี่ยง เด็กจะได้รับรู้เรื่องข้อควรรู้เกี่ยวกับโทษของกัญชาผสมอาหาร กัญชาผสมอาหารคืออะไร
ทั้งนี้ปัญหากัญชาผสมอาหารไม่ได้สร้างผลกระทบต่อเยาวชนในประเทศไทยเท่านั้น งานวิจัยรายงานของทางการแพทย์เรื่องกัญชาในประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มมีการให้มีการเสพกัญชาเสรีในบางมลรัฐมีการรายงานว่า ได้รับการขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ “ว่าเริ่มมีเด็กเสพกัญชาด้วยการกินตั้งแต่อายุ 3-5 ปี เพราะการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ” จากแท่งช็อกโกแลตขนมกัมมี่ คุกกี้ มันฝรั่ง น้ำผลไม้ และยังพบว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี และกินกัญชาเข้าไปแล้ว มักจะต้อง ถูกส่งโรงพยาบาลทันทีถ้าเทียบกับเด็กโต และข้อมูลจากระบบ National Poison Data System ของ The American Association of Poison Control Centers (AAPCC) (Whitehill, et.al. (2021) พบว่ามีเด็กอายุ 0-9 ปีที่กินกัญชา และเสพทางลมหายใจเข้าไป โดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นจำนวน 4,172 คน ในช่วงปี 2017-2019 และในปี 2020 มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล สืบเนื่องจากผลของกัญชาเป็นจำนวนถึง 3,100 คน (The New York Times, 2022) จึงควรที่จะมีการเตรียมป้องกันไว้ล่วงหน้า ก่อนที่เด็กจะย่างเข้าสู่วัยรุ่น เนื่องจากกัญชามีผล โดยตรงต่อสมอง แม้จะเป็นการเสพเพียงเล็กน้อย
ชุดสื่อกิจกรรม 2 ชุด ได้แก่ 1.ชุดสื่อกิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันจากกัญชาผสมอาหาร กิจกรรมต่อเนื่อง 5 วัน จากการนำชุดสื่อทดลองใช้ในโรงเรียนระดับประถมศึกษาในเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัด 10 โรง ครอบคลุมเด็กนักเรียน 100 คน พบเด็กมีความตระหนักรู้ว่ากัญชามีโทษต่อร่างกาย 91.8% มีค่านิยมที่ถูกต้องเกี่ยวกับกัญชา 85.9% มีวิธีการแก้ปัญหาหากอยู่ในสถานการณ์ความเสี่ยงจากกัญชา 87.1% เด็กนำความรู้ที่ได้ไปช่วยคนอื่น 87.1% ลดปัญหาความกังวลของครูในเรื่องการขาดความรู้ ขาดกิจกรรม ขาดสื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับกัญชา 87% ทั้งนี้ เตรียมขยายผลผลิตสื่อและจัดอบรมให้ผู้ดูแลเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กระทรวงมหาดไทย 50 แห่ง และปรับชุดสื่อให้เหมาะกับบริบทนักเรียนไทยมุสลิม โดยกระทรวงมหาดไทยจะนำไปใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีก 50 แห่ง
2.ชุดสื่อกิจกรรมพัฒนาจิตสำนึกเพื่อรู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยงทางสังคมผ่านระบบออนไลน์แบบ Gamification เป็นนวัตกรรมให้กับครูใช้ออกแบบแผนการสอนเรื่องปัจจัยเสี่ยงครอบคลุมกิจกรรมฝึกการตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยง การไวต่อสถานการณ์ความเสี่ยง การจัดการปัญหาจากความเสี่ยงผ่านกิจกรรมกำกับกาย กำกับใจ กำกับตามกติกาสังคม และการใช้ในวิถีชีวิต โดยนำร่องจัดอบรมการใช้ชุดสื่อกิจกรรมให้ครูระดับอนุบาลถึงประถมศึกษา 50 คน จากโรงเรียน 27 โรงทุกภูมิภาค ครอบคลุมเด็ก 1,500 คน ผลการทดลองใช้งานพบว่า ครูสามารถนำแนวทางการสร้างแผนการสอนจัดการความเสี่ยงด้วยระบบ Gamification ไปใช้ได้จริง 85% สามารถสร้างทัศนคติใหม่ให้เด็ก ช่วยเรื่องไม่ประมาท รู้จักพอ พึ่งตนเองในการแก้ปัญหาความเครียดในชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งเหล้าและบุหรี่ 88.4% พัฒนาการคิดของเด็กให้รู้จัก ใช้เหตุผลแก้ปัญหาแทนการใช้อารมณ์ความรู้สึก การตัดสินใจวางแผนการเงิน รู้จักสังเกตการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งรอบตัวที่อาจเป็นความเสี่ยง การรู้เท่าทัน ไวต่อสถานการณ์ความเสี่ยง 87.1% รวมถึงเด็กได้ความรู้ผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่อร่างกาย สังคม และจิตใจ 87.8%
ด้าน นายพิทยา จินาวัฒน์ กรรมการบริหารแผนคณะที่ 1 สสส. กล่าวในภาพรวมว่า จากรายงานการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากรไทย ปี 2564 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบอัตราการสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาชนอายุ 15-24 ปี อยู่ที่ 12.7% ลดลงจาก 15.4% ในปี 2560 พบนักสูบหน้าใหม่ที่สูบบุหรี่ไม่เกิน 1 ปี 211,474 คน ในจำนวนนี้ 73.7% เริ่มสูบบุหรี่ช่วงอายุ 15-19 ปี และมีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าถึง 78,742 คน คิดเป็น 0.14% ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่มีจำนวน 57 ล้านคน
“ในส่วนตัวมองว่าโครงการนี้ไม่ได้ถูกบรรจุเป็นหลักสูตรทางการศึกษา ซึ่งตนอยากเปรียบเทียบให้เห็นว่า เหมือนการตัดเสื้อ ถ้าเป็นหลักสูตรการศึกษาก็เปรียบเหมือนการตัดเสื้อโหล เหมือนเป็นการตัดเสื้อใส่ให้พอดีตัวกับผู้สวม ซึ่งโครงการนี้ได้มีผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมกันทำงานและผ่านการทดสอบจนมั่นใจ และพร้อมที่จะขยายผลต่อไป ให้ครอบคลุมทุกสถาบันการศึกษา ซึ่งในข้อเท็จจริงอาจมีความจำกัดด้านทรัพยากร หรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการพัฒนาสื่อนั้นเราจะต้องเตรียมเผื่อไว้ในการพัฒนาต่อไป” นายพิทยา กล่าว
แพทย์เภสัชกรรมไทย ดร.บัญชา สุวรรณธาดา ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยโครงการพัฒนาการแพทย์ไทยร่วมสมัย (Contemporary Thai Medicine) มูลนิธิโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี กล่าวว่า ตามตำราปรุงยา (pharmacopoeia) ของแผนไทย ระบุชัดเจนว่าห้ามใช้กัญชาในเด็กวัยปฐมวัย ดังนั้นฝากถึงเยาวชนทุกคนห้ามเสพกัญชาโดยเด็ดขาด เพราะร่างกายของเด็กในวัยปฐมวัยสามารถสร้างแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) ในร่างกายได้เอง การได้รับสารเอ็นโดรแคนนาบินอยด์เพิ่มเติมจากที่ร่างกายผลิตได้เอง จะยิ่งสร้างผลเสียกับร่างกาย ในระยะสั้นทำให้ ซึม สับสนวุ่นวาย พูดผิดปกติ ประสาทหลอน เดินไม่ตรง พฤติกรรมรุนแรง ส่วนระยะยาว ทำให้ความจำไม่ดี ความคิดแย่ลง ตัดสินใจควบคุมตนเองได้ลดลง ส่งผลต่อการเรียนตกลง
แพทย์เภสัชกรรมไทย ดร.บัญชา กล่าวเพิ่มเติมว่า โบราณดั้งเดิมใช้ใบกัญชาสำหรับเป็นเครื่องปรุงอาหาร เช่น ใส่ในต้มยำจะทำให้รสชาติของอาหารกลมกล่อมอร่อยยิ่งขึ้นซึ่งไม่มีผลเสียต่อร่างกาย เนื่องจากในส่วนของใบกัญชามีสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ชื่อ ” THC” หรือที่เรียกว่า ” สารเมา” ซึ่งในส่วนของใบนั้นมีน้อยมาก ๆ ในระดับ *0.0 ต่อน้ำหนักของใบ จึงแทบจะไม่มีผลเสียใด ๆ ต่อรางกาย ในขณะเดียวกันสารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเช่น สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid), สารแทนนิง (Tannin), สารน้ำมันหอมระเหยที่สกัดมาจากพืช (Essential Oils) และแร่ธาตุต่าง ๆ รวมถึงสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทที่มีอยู่ในส่วนของรากและลำต้นกัญชาก็เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และสามารถใช้ใบรวมทั้งส่วนต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ดอกมาประกอบเป็นเครื่องปรุงอาหารได้อย่างปลอดภัย
นั้นหมายความว่าประโยชน์ในการปรุงอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของกัญชาที่ไม่ใช้ช่อดอกไม่ได้มีผลเสียอะไรต่อร่างกายเลย ขณะเดียวกันกลับส่งเสริมสุขภาพที่จะได้สารต่าง ๆ จากธรรมชาติที่มีในพืชกัญชา เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจ และมีความเข้าใจในการนำไปใช้ประโยชน์ให้ถูกต้องอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาสามารถเป็นได้ทั้งการต้ม ผัด ทอด แกง ผสมสมุนไพรเครื่องดื่มควรมีปริมาณกัญชาที่ทางกฎหมายกำหนด ตามข้อมูลจากประกาศกรมอนามัย เรื่องการนำใบกัญชาใช้ในการทำประกอบหรือปรุงอาหารในสถานประกอบการกิจการอาหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565
You must be logged in to post a comment Login