- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 12 hours ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 1 day ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 3 days ago
- อย่าไปอินPosted 6 days ago
- ปีดับคนดังPosted 6 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
“ธีรีสา มัทวพันธุ์” ปั้น “พีเพิล อินโนเวท” ผู้เชี่ยวชาญการทรานส์ฟอร์มองค์กร
“ธีรีสา มัทวพันธุ์” หรือ “จ๋า” เติบโตมาจากครอบครัวท่านทูต ทำให้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศกับคุณพ่อคุณแม่ตั้งแต่เยาว์วัย เริ่มใช้ชีวิตวัยมัธยมในต่างแดนและได้รับเลือกให้เป็นนักเรียนทุน ก.พ. ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ต่อเนื่องจนถึงปริญญาเอก แต่ด้วยใจที่อยากกลับมาช่วยประเทศชาติจึงขอศึกษาแค่ระดับปริญญาโทก่อน
เมื่อเดินทางกลับมาประเทศไทย คุณธีรีสาได้นำองค์ความรู้ที่เรียนมาช่วยพัฒนาประเทศชาติ ในบทบาทนักวิจัยและผู้บริหารของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นเวลา 13 ปี ทำหน้าที่บริหารเรื่องอินเตอร์เน็ต เทเลคอม อุทยานวิทยาศาสตร์ ซอฟต์แวร์พาร์ค ศูนย์คาดการณ์อนาคต (Foresight) เป็นต้น
แต่แล้วจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ชื่อ “ธีรีสา มัทวพันธุ์” เป็นที่รู้จักในภาคเอกชน คือ การได้เป็นผู้บริหารของบริษัท AR บริษัทคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของประเทศ บริษัท Ini3 ซึ่งเป็นบริษัทเกม รวมถึงบริษัท logistics จากสิงคโปร์ และเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมากระแสอีคอมเมิร์ซเข้ามาในไทย คุณธีรีสา ก็ได้เข้ามาช่วยบริหารงานให้บริษัท aCommerce ผู้ให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซใน South East Asia รวมถึงได้ร่วมงานกับเซ็นทรัลออนไลน์ในตำแหน่ง Vice President นอกจากนี้ องค์กรเอกชนอีกหลายแห่งก็มีชื่อ คุณธีรีสา เป็นผู้บริหารที่สนับสนุนการทำงานให้กับ CEO หรือผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ทั้งสิ้น
ด้วยประสบการณ์และความสามารถ ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ต่างเชิญคุณธีรีสา เข้าร่วมงานในสายบริหารอย่างต่อเนื่อง กระทั่งล่าสุดก็มีโอกาสกลับมาช่วยภาครัฐอีกครั้ง ที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านยุทธศาสตร์ เพื่อทำหน้าที่บริหารงานทั้งระบบหน้าบ้าน เช่น การบริหารยุทธศาสตร์ประเทศ – ยุทธศาสตร์องค์กร การบริหารดิจิทัล – ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน การบริหารงานต่างประเทศ และการบริหารระบบหลังบ้าน (Back Office) เช่น การบริหารบุคคล การบริหารไอที การทำ Innovation Culture และการสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการบริหาร เป็นต้น
ซึ่งหลังจากที่ได้ทำงานเป็นผู้บริหารภาครัฐเป็นระยะเวลา 5 ปี และตำแหน่งได้หมดวาระลง “คุณธีรีสา มัทวพันธุ์” ก็ตัดสินใจกลับมาช่วยภาคเอกชน โดยเสริมทัพความรู้ด้านการบริหารบุคคลระดับเชิงลึกผ่านการศึกษาต่อระดับปริญญาเอกกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ด้าน Innovation in humans and organization development นอกจากนี้ คุณธีรีสา ก็ยังมีตำแหน่งทางสังคมอื่น ๆ อาทิ เลขานุการของคณะกรรมาธิการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในวุฒิสภา, คณะกรรมการกองทุนเพื่อนวัตกรรมและการพัฒนา สสวท. ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, คณะกรรมการกำกับทิศทาง การพัฒนาระบบสารสนเทศ การเงินสุขภาพ และนวัตกรรมเพื่อสุขภาวะ (สสส.) เป็นต้น
การได้ทำงานทั้งภาครัฐและเอกชนทำให้ “คุณธีรีสา มัทวพันธุ์” เข้าใจระบบการทำงานทั้ง 2 ภาคอย่างลึกซึ้ง ประกอบกับมองเห็นโอกาสที่ว่าบริษัทเอกชนบางแห่งต้องการผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยบริหารจัดการ จึงก่อตั้ง “บริษัท พีเพิล อินโนเวท จำกัด” (PEOPLE INNOVATE) ขึ้น โดยให้บริการหลัก 2 เรื่อง คือการเป็น “Intermediaries” และ “Transformation Consultant”
โดยบริการ “Intermediaries” เกิดจากเหตุผลที่ว่าประเทศไทยต้องขับเคลื่อนประเทศด้วย Tech หรือ Innovation ซึ่งประเทศไทยมีงานวิจัยจากสถาบันการศึกษามากมาย แต่ไม่ได้นำมาพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด บริษัท “พีเพิล อินโนเวท” จะเป็น “Intermediaries” เข้ามาช่วยเป็นคนกลางระหว่าง 2 ฝ่าย (นักวิจัยและภาคเอกชน) หรือ 3 ฝ่าย (นักวิจัย ภาคเอกชนและภาครัฐ) เพื่อผลักดันงานวิจัยออกมาเป็นผลิตภัณฑ์และการทำตลาด รวมถึงการทำ Business matching กับคู่ค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนดำเนินการขอเงินสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบงานวิจัยและธุรกิจองค์รวมของประเทศ
อีกหนึ่งบริการ คือ “Transformation Consultant” ซึ่ง “พีเพิล อินโนเวท” จะมาช่วยองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีกระบวนการปรับเปลี่ยนมิติที่จำเป็นทั้งด้านการบริหาร การวางแผน การตลาด เทคโนโลยีและนวัตกรรม กำลังคน เป็นต้น ทำให้เกิดความคล่องตัวและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว ซึ่งคุณธีรีสา มีความมั่นใจว่าความรู้และประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา จะสามารถให้คำแนะนำในเชิงลึกและลงมือปฏิบัติ (execution) พัฒนานวัตกรรมร่วมกับองค์กรได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ “พีเพิล อินโนเวท” ยังได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ที่มีองค์ความรู้แต่ละสาขาไว้ที่เดียวกัน เพื่อเชื่อมต่อและเสริมศักยภาพให้กับทุกองค์กร ที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนในทุกๆ มิติให้สอดคล้องกับยุคสมัยในปัจจุบัน
โดยวิสัยทัศน์การจัดตั้งบริษัท “พีเพิล อินโนเวท”ของคุณธีรีสานั้น เธอตั้งใจเพื่อช่วยปิด Gap ที่มีในระบบนวัตกรรมของไทย ให้หลุดพ้นจากการเป็น middle income trap countries ผ่านการทำงานในรูปแบบบริษัทเอกชนเพื่อความคล่องตัว โดยคาดว่าในปี 2567 จะมีลูกค้าประมาณ 35 – 50 ราย เป็นลูกค้าที่ใช้บริการ “Intermediaries” และ “Transformation Consultant” ประมาณ 20 ราย นอกจากนั้นจะใช้บริการด้านอื่นๆ ซึ่งจะเปิดตัวในอนาคต
จากการพูดคุย เราเชื่อมั่นว่าด้วยวิสัยทัศน์และความตั้งใจทำงานแบบมุ่งเน้นให้เกิดผลลัพธ์และอิมแพคของ “คุณธีรีสา มัทวพันธุ์” จะสามารถประสบความสำเร็จในเส้นทางใหม่นี้ได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับที่เธอได้เคยเดินทางมาในอดีต เพราะเธอคือ ผู้นำแบบนวัตกร ผู้ซึ่งเรียนรู้ทุกวัน ล้มและลุก มีแพชชั่นในการทำงาน เพื่อพัฒนาองค์กรนวัตกรรมให้กับสังคมและประเทศไทยที่เธอรัก ….
You must be logged in to post a comment Login