- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 10 hours ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 1 day ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 3 days ago
- อย่าไปอินPosted 6 days ago
- ปีดับคนดังPosted 6 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
สสส.เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนการ “สร้างนิเวศชุมชนสุขภาวะ”
สสส.เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ ระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนการ “สร้างนิเวศชุมชนสุขภาวะ” เพื่อสร้างเกราะป้องกันให้ชุมชนรู้เท่าทัน และสามารถจัดการปัญหาปัจจัยเสี่ยงสิ่งเสพติดตามบริบทขอบเขตงานชุมชน พร้อมเสนอให้เปลี่ยนกรอบความคิดการจัดการยาเสพติดในชุมชนจากเดิมพื้นที่สีขาวปลอดยาเสพติด ให้เป็นพื้นที่สีเขียว หรือ พื้นที่เชิงสร้างสรรค์ที่รับฟังความเห็นจากทุกกลุ่ม เพื่อตัดวงจรสิ่งเสพติดด้วยพลังความรักในชุมชน
สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส.เปิดเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ทิศทางการขับเคลื่อนงานการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติด ณ ห้องประชุมค็อกพิท ชั้น 1 โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร โดยมีเป้าหมายในการสร้างความเข้มแข็งของ “สร้างนิเวศชุมชนสุขภาวะ” ในการรู้เท่าทันและ สามารถจัดการปัญหาปัจจัยเสี่ยงสิ่งเสพติดตามบริบทขอบเขตงานชุมชน โดยมีกระบวนการตั้งแต่การเฝ้าระวัง ป้องกัน และ ค้นหาเพื่อส่งต่อเข้าสู่ระบบกระบวนการบำบัด ช่วยลดอันตรายจากยาเสพติด และ ติดตามดูแลช่วยเหลือทางสังคม เพื่อตอบสนองนโยบายการขับเคลื่อนงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งเสพติดในระยะยาว
นางสาวรุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่าในเริ่มแรก สสส. รณรงค์ในเรื่องของพิษภัยจากเหล้า และบุหรี่เป็นหลัก แต่พอทำงานไปสักระยะเริ่มเห็นความเชื่อมโยงทั้งหมดว่าปัญหายาเสพติดมีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งตลอด 20 ปีที่ผ่านมา สสส.มุ่งไปที่ปัญหาหลัก โดยเน้นการให้ความรู้ และกระบวนการที่สำคัญ นอกจากนี้ สสส.ยังเน้นเรื่องของการประสานงานให้หน่วยงานต่างๆได้เกิดการพบปะระหว่างพื้นที่ และในระดับนโยบายให้สามารถเห็นความต้องการจากภาคประชาชน ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้เชื่อว่าจะช่วยทำให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง
“การทำงานของ สสส.เราใช้องค์ความรู้ในการขับเคลื่อน และทำองค์ความรู้ให้เหมาะกับแต่ละกลุ่มวัย จนในปัจจุบัน สสส.มีองค์ความรู้ในทุกช่วงวัยตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น วัยทำงานไปจนถึงกลุ่มผู้สูงอายุ โดยการขับเคลื่อนจะเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อมุ่งสู่แผนปฏิบัติการสุขภาวะแบบองค์รวมและบูรณาการในระยะต่อไป เพราะเราได้เชิญแกนนำของชุมชนหลากหลายภาคส่วนมาร่วมพูดคุย และหาทางออก ทั้งประเด็นสิ่งเสพติด ประเด็นเชิงสังคมในชุมชนเพื่อให้เห็นจุดแข็ง จนสามารถบูรณาการทำงานเพื่อรองรับสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง” นางสาวรุ่งอรุณ กล่าว
ผศ.นพ.ดร.อภินันท์ อร่ามรัตน์ ประธานมูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด กล่าวว่าการแก้ปัญหาสิ่งเสพติดจำเป็นต้องใช้กลไก และ อำนาจรัฐที่มีประสิทธิภาพในการติดตามแก้ไขปัญหาให้มีความต่อเนื่อง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนกรอบความคิดระหว่างชุมชน กับสิ่งเสพติด เน้นการเปิดพื้นที่ปลอดภัย และสร้างการมีส่วนร่วมให้กับชุมชนมากกว่าการแยกกลุ่มเสี่ยง และ คนที่มีปัญหายาเสพติดให้ออกไปจากชุมชน แต่ต้องสร้างพื้นที่ สร้างการมีส่วนร่วมเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา
“ผมมองว่าพื้นที่สีขาวปลอดยาเสพติดไม่มีอยู่จริง เพราะที่ผ่านมาเรานำผู้เสพเข้าสู่เรือนจำ พอผู้เสพออกมาจากเรือนจำก็กลายเป็นสีดำ ในข้อเท็จจริงบางพื้นที่อาจจะมียาเสพติดอยู่บ้างไม่สามารถจะทำให้กลายเป็นพื้นที่ปลอดยาเสพติดได้ทั้งหมดอย่างแท้จริง ฉะนั้นจึงอยากขอเสนอให้มีการเปลี่ยนแนวคิดจากพื้นที่ปลอดยาเพติดสีขาว ให้เป็นพื้นที่ชุมชนสีเขียวที่ให้ชุมชนปลอดภัยจากยาเสพติด โดยเน้นความรู้ ความเข้าใจ สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมน ผ่านกลไกสร้างนิเวศชุมชนสุขภาวะในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างสร้างสรรค์
เราจะไม่มองผู้เสพเป็นอาชญากรอีกต่อไป แต่จะเน้นเรื่องพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติด เปลี่ยนเป็นพื้นที่สีเขียวที่ทำให้ทุกกลุ่มสามารถอยู่ร่วมกันได้มีความสวยงาม และไม่ผลักคนในชุมชนออกไปอยู่ในพื้นที่ของอาชญากร โดยให้คนในชุมชนช่วยกันดูแล ห่วงใย รับฟัง และยกระดับชุมชนให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย เพราะปัญหาที่แท้จริงไม่ใช่ยาเสพติดแต่เป็นปัญหาเชิงสังคมที่ต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญ คือผู้นำชุมชนที่ต้องเข้าใจ รับฟังปัญหาสามารถสร้างความไว้วางใจให้กับคนในชุมชน นำไปสู่การเข้าถึงการเชื่องโยงกับกลไกของรัฐที่มีหน้าที่ในการบำบัด รักษา ดูแล และเยียวยาผู้ติดยาเสพติด เพื่อช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นรูปธรรม และนำไปสู่ผลลัพธ์การสร้างความสามัคคีและความปรองดองของคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืน” ผศ.นพ.ดร.อภินันท์ กล่าว
นายวัชรพงศ์ พุ่มชื่น ผู้จัดการมูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด กล่าวว่าการแก้ปัญหาสิ่งเสพติดที่ผ่านมามูลนิธิฯจะเน้นไปที่การเสริมพลังให้กับชุมชน หรือ คนทำงานที่มีใจอาสาลุกขึ้นมาแก้ปัญหาสิ่งเสพติด เราทำให้ชุมชนเปลี่ยนความคิด และ ชวนให้ชุมชนเห็นว่าทำอย่างไรให้ชุมชนอยู่ร่วมกับยาเสพติดได้ย่างปลอดภัย เน้นสร้างพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์นำไปสู่การตัดวงจรผู้เสพรายใหม่ หรือ ป้องกันกลุ่มเยาวชนที่จะเข้าสู่วงจรยาเสพติด
ทั้งนี้มองว่าผู้นำเป็นกลไกสำคัญที่จะแก้ปัญหาสิ่งเสพติดในชุมชน ฉะนั้นผู้นำต้องมีการเปลี่ยนแปลง และต้องปรับเปลี่ยนความคิดตัวเอง ลดการใช้อำนาจ ใช้ความรักมากขึ้น เพราะปัญหายาเสพติดของแต่ละชุมชนมีหลายระดับ มีความแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องสร้างพื้นที่การพูดคุย หรือ ไปชวนเยาวชนกลุ่มเสี่ยงผ่านการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ โดยไม่จำเป็นต้องทำเรื่องยาเสพติดอย่างเดียว แต่สร้างพื้นที่เพื่อดึงเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เคารพการตัดสินใจของเขา มีกิจกรรมที่สนุกสนาน ถ้าเราสามารถเปิดพื้นที่แห่งโอกาสจะทำให้เยาวชนมีทางเลือก และ ไม่เข้าสู่วงจรยาเสพติด เพราะจะทำให้เยาวชนกลุ่มเสี่ยงเข้ามาอยู่ในความดูแลของผู้นำชุมชน
“การแลกเปลี่ยนวันนี้นำไปสู่การสร้างความร่วมมือ นำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อทำให้เกิดการยกระดับการทำงาน ไม่ใช่ประเด็นที่เราสนใจ หรือ เราถนัด เพราะในภาพความจริงในระดับชุมชนทุกปัญหามันเกิดขึ้น แต่ละปัญหาจำเป็นต้องเชื่อมโยงกัน และ สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นในหการสร้างพื้นที่เรียนรู้ร่วมกัน นำไปสู่การแก้ปัญหาสิ่งเสพติด และ ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆในชุมชน” นายวัชรพงศ์ กล่าว
สำหรับการเปิดเวทีระดมความคิดเห็นครั้งนี้ เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางงานการป้องกัน และ แก้ไขปัญหาสิ่งเสพติด ผ่านกระบวนการประสาน สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพเครือข่ายประชาชน เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด รวมถึงสร้างชุมชนสุขภาวะ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพ การสร้างพลังให้กับกลไกเครือข่ายภาคประชาชนในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด สร้างพื้นที่ตัวแบบจากการปฏิบัติในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติด โดยภาคประชาชน รวมถึงการพัฒนาแนวทางการหาทางออกจากปัญหายาเสพติดด้วยวิธีสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาเป็นข้อเสนอต่อนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่น และ ในระดับชาติ โดยการปฏิบัติการสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากปัญหานาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะต่อไป
You must be logged in to post a comment Login