วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

จับมือทำตลาดนัด-ตลาดสด

On January 30, 2024

คอลัมน์ :โลกอสังหาฯ

ผู้เขียน : ดร.โสภณ พรโชคชัย

(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 30 ม.ค.  67)

หลายคนอยากพัฒนาตลาดนัดและ/หรือตลาดสด ผมเลยจัดหลักสูตรอบรม พาวิทยากรที่รอบรู้และทำจริงมาสอนกันอย่างหมดเปลือก แต่ก็มีหลายคนอยากให้จับมือทำเลย ตอนนี้ผมยินดีจับมือช่วยทำตลาดนัด/ตลาดสดให้สำเร็จไปเลย

ที่โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.trebs.ac.th) เราถือว่า Knowledge Is Not Private Property. คือตั้งใจให้ความรู้กันอย่างเต็มที่ ในแต่ละหลักสูตรจึงคัดสรรเอาวิทยากรที่มีความรอบรู้จริงๆ มาสอน เอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่ผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ถ้าผู้สอนรายใดยังไม่ “ตอบโจทย์” ก็ต้องสรรหาผู้รู้จริงมาให้ความรู้กันต่อไป เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุด

ในช่วงที่ผ่านมา หลายคนอยากทำตลาดนัด/ตลาดสด เพราะมีผู้สนใจเป็นพ่อค้าแม่ขายกันมากขึ้น มีผู้สนใจทำธุรกิจของตนเองมากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จกันทุกราย  เจ้าของตลาดนัด/ตลาดสดจึงพึงให้การสนับสนุน SMEs กลุ่มนี้เป็นพิเศษ เพราะถ้าพวกเขารอด ก็ทำให้ตลาดของเรารอดไปด้วย ไม่ต้องคอยคัดสรรผู้ขายรายใวหม่ๆ เข้ามาขาย ดีไม่ดีผู้ค้าเหล่านี้ก็จะกลายเป็น “แม่เหล็ก” ดึงดูดให้ลูกค้ามาตลาดมากขึ้นด้วย

ในอีกด้านหนึ่ง การทำตลาดนัด/ตลาดสดก็ไม่มีคู่แข่งรายใหญ่ๆ มาแข่งกันมากมาย แตกต่างจากการทำบ้านจัดสรรหรืออาคารชุดที่รายใหญ่ๆ 10 รายแรกที่เป็นบริษัทมหาชน สามารถครองส่วนแบ่งตลาดไปได้ถึงราว 50% โอกาสที่นักพัฒนาที่ดิน SMEs จะประสบความสำเร็จจึงมีอยู่น้อยมาก  แต่ในกรณีตลาด การแข่งขันยังไม่รุนแรงเช่นนี้ และบริษัทมหาชนก็คงไม่คิดมาก่อสร้างตลาดแข่งกับเรา

ในหลักสูตรของเรา มีเชิญวิทยากรทำตลาดสดที่ประสบความสำเร็จมาให้ความรู้อย่างเต็มที่ และยังมีการพาไปดูงานตลาดนัด/ตลาดสดถึงที่ตั้งตลาดอีก 3-4 แห่งอีกต่างหาก  พอดูงานเสร็จหลายคนอยากจะอุ้มเจ้าของตลาดที่ผมพาไป ไปช่วยทำเลย เจ้าของตลาดหลายแห่งก็ยินดี แต่ก็สร้าง “ภาระ” ในการต้อนรับขับสู้แก่เจ้าของตลาดหลายรายเป็นอย่างมาก  โรงเรียนจึงมีบริการ “เสริม” ด้วยการ “จับมือทำ” ตลาดนัด/ตลาดสดไปเลย โดยไม่ต้องไปหาเจ้าของตลาดโดยตรง ติดต่อผ่านโรงเรียนอย่างเดียวเลย จะได้จัดคิวและดำเนินการต่างๆ ให้ตามความเหมาะสม เช่น

1. การพาไปดูสถานที่จริงที่ผู้ที่คิดจะสร้างตลาดจะสร้างขึ้น ในกรณีนี้ เราจะมีทีมงานไปช่วยดู ไม่ต้องจัดพาหนะให้ ไปกันเองเลย นัดวันและเวลาตามที่เห็นสมควร โดยมีค่าบริการ และยิ่งถ้าไปต่างจังหวัด ก็คงมีค่าเครื่องบิน-ที่พักให้อีกต่างหาก

2. โรงเรียนจะมีทีมงานจากช่วยทำการศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาดและการแข่งขันในพื้นที่ การตั้งราคาค่าเช่า การวิเคราะห์ SWAT Analysis และ Site Analysis

3. การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงิน

4. การพัฒนาที่ดินตั้งแต่ถมที่ ออกแบบ ก่อสร้าง คัดเลือกผู้รับเหมา รวมทั้งการติดต่อราชการ (ถ้ามี)

5. การไปเป็นที่ปรึกษา-จับมือทำเป็นระยะๆ เช่น เจ้าไปช่วยทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละวันหรือสัปดาห์ละ 2-3 วัน หรืออาเพียงเดือนละ 1- 2 ครั้ง

เพื่อความมั่นใจของเจ้าของที่ดิน ว่าที่เจ้าของตลาดนัด/ตลาดสด โรงเรียนจึงให้บริการพิเศษนี้ โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่ประสบความสำเร็จมาจริง มาคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด และหลังจากสำเร็จ เจ้าของตลาดก็ “ให้เงินทำงานแทนเรา” ต่อไป  อย่างไรก็ตามตลาดทั้งหลายก็ต้องมีการแข่งขัน มีการปรับปรุง มีการรับมือกับการแข่งขันที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ในระยะหลังนี้ เจ้าของตลาดก็คงสามารถจัดการเองได้ เว้นแต่จะมาขอรับคำปรึกษาเป็นครั้งคราวต่อไป

วางแผนให้รอบคอบเพื่อความสำเร็จ อย่าลืม “ฆ่าควาย (เสียเงินพัฒนาตลาดมากมาย) อย่าเสียดายเกลือ (ค่าจ้างที่ปรึกษาจับมือทำ)


You must be logged in to post a comment Login