- เรื่องยังไม่จบPosted 1 day ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 2 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 3 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 6 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 7 days ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 1 week ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
- บทเรียนพระสายมูPosted 2 weeks ago
รู้หรือไม่ อาการโรคชักในเด็ก อันตรายกว่าที่คิด
อาการชักกระตุก เกร็ง เหม่อลอย เบลอ หรือนิ่งไปของเด็กบางคนอาจเป็นสัญญาณบอกโรคร้ายแบบที่คุณไม่รู้ตัว เรียกได้ว่าอาการเหล่านี้คือหนึ่งในอาการของโรคชักในเด็กที่ควรปรึกษาและพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อประเมินและรักษาอาการได้อย่างทันถ่วงที โดยในปัจจุบันนี้อาการของโรคชักในเด็กมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นปกติเพิ่มมากขึ้น แต่หากปล่อยไว้ไปนาน ๆ อาจส่งผลกับพัฒนาการของเด็กให้ล่าช้า และถดถอยลองได้นั่นเอง
วันนี้เราจึงอยากพาทุกคนมาทำความรู้จักโรคชักในเด็กที่อันตรายมากกว่าที่คุณคิด และบอกถึงแนวทางการรักษาให้คุณผู้ปกครองได้เฝ้าระวังและสังเกตอาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด
โรคชักในเด็กคืออะไร
ต้องบอกว่าโรคลมชักนั้นเกิดได้กับทุกคนทุกเพศทุกวัย โดยอาการชักนี้เกิดจากการทำงานผิดปกติของสมอง ที่อาจเกิดการกระตุ้นมากเกินไปจนทำให้เกิดเป็นอาการชักได้ โดยความผิดปกตินี้อาจเกิดได้จากสิ่งเร้าใกล้ตัว หรือการทำงานผิดปกติของสมองส่วนใดส่วนหนึ่งที่อาจทำให้อาการที่แสดงออกมาแตกต่างกันออกไปเช่น อาการชา ชัก หรือแม้แต่เหม่อลอยจนไม่มีสติอีกด้วย
อาการโรคชักในเด็กเป็นอย่างไร
อาการของโรคชักในเด็กมีหลากหลายรูปแบบด้วยกันขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้าในสมองที่ผิดปกติ ดังนั้นต้องใช้การสังเกตถึงความผิดปกติของอาการเหล่านี้ ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะของอาการได้อย่างง่าย ๆ 2 แบบด้วยกันคือ
- อาการชักแบบเหม่อ: มักจะเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5 – 10 ปีขึ้นไป โดยจะมีอาการเหม่อลอย นั่งนิ่งไประหว่างคุย เรียกแล้วไม่รู้สึกตัว ก็จะเป็นอาการเบื้องต้นของการชักได้
- อาการชักทั้งตัว: อาการนี้จะมีอาการชักกระตุกทั่วทั้งร่างรวมไปถึงมีอาการตาลอยร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกว่ามีอาการเกร็งไปทั้งตัว
โรคชักในเด็กสามารถรักษาได้หรือไม่
ต้องบอกว่าปัจจุบันอาการเหล่านี้สามารถรักษาให้หายได้ โดยจะต้องเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสภาพของร่างกายโดยรวมได้อย่างละเอียด ซึ่งในการรักษานั้นจะมีด้วยกัน 2 วิธี คือ
- การใช้ยารักษา ซึ่งจะเป็นยากันชักที่จะช่วยกดสมองส่วนที่มีการปล่อยคลื่นเหล่านี้ให้หยุดการทำงาน และทำให้ลดภาวะการชักให้น้อยลงได้อีกด้วย โดยปริมาณของยานั้นจะขึ้นอยู่กับอาการที่จำเป็นต้องให้แพทย์ประเมินก่อนยกด้วยเช่นเดียวกัน
- การผ่าตัด จะเป็นการรักษาสุดท้ายที่ตอบโจทย์เฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองกับยาแล้วเท่านั้น ทางแพทย์ จึงประเมินอาการให้เข้ารับการผ่าตัด เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากโรคลมชักนี้ได้
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือ อาการของโรคชักในเด็กที่อันตรายกว่าที่คิด และหากปล่อยให้เด็กมีอาการเหล่านี้นาน อาจทำให้เสียบุคลิกภาพ และภาวะการพัฒนาทางสมองได้รับความผิดปกติ จนทำให้เกิดพัฒนาที่ช้ากว่าคนอื่น หรืออาจทำให้เกิดภาวะถดถอยของพัฒนาการได้อีกด้วย
You must be logged in to post a comment Login