วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ม.มหิดลสนองรับแนวคิด‘ยุติการเชื่อมต่อ’เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในยุคดิจิทัล

On February 1, 2024

ในโลกไร้พรมแดน ไม่ได้หมายถึงเสรีภาพที่ไร้ขอบเขตในการ “เข้าถึงทุกข้อมูล” แต่คือ ”เสรีภาพในการเรียนรู้บนพื้นฐานของความรับผิดชอบ“ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเรียนรู้ที่จะ ”เคารพสิทธิผู้อื่น“ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

อาจารย์ ดร.คม วงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีแจ๊ส วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหนึ่งในคณะทำงานผลักดันวิทยาลัยฯ สู่ความยั่งยืน (Sustainability) ตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์โลก มองว่าโลกจะยั่งยืนได้ด้วยการ “เคารพสิทธิของความเป็นมนุษย์“ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนควรตระหนัก โดยหน้าที่ของทุกคนคือการช่วยกันทำให้โลกนี้น่าอยู่อย่างยั่งยืน

โดย อาจารย์ ดร.คม วงษ์สวัสดิ์ ได้เป็นผู้ริเริ่มเสนอแนวคิดที่จะหลีกเลี่ยงการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรโดยไม่ได้คำนึงถึงเงื่อนไขของเวลา 

“คงไม่มีผู้ใดจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี จากการมีสุขภาพกายและใจที่ดีต่อไปได้ หากยังคงต้องโดนรบกวนติดต่องานในยามค่ำคืน ซึ่งเป็นเวลาพักผ่อนส่วนตัวอยู่เป็นประจำ และจะต้องเสี่ยงต่อไปอีกเพียงใดจากการแชร์ข้อมูลโดยไม่รัดกุม และขาดสำนึกรับผิดชอบต่อความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น” อาจารย์ ดร.คม วงษ์สวัสดิ์ กล่าว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สอนหลักในรายวิชาออนไลน์ “หลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดล“ ทาง MUx – Mahidol University Extension ซึ่งนับเป็นด่านแรกที่สำคัญในการเตรียมพร้อมนักศึกษา และบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดล สู่การเป็น “พลเมืองโลกคุณภาพ”

โดยได้กล่าวสนับสนุนว่า มหาวิทยาลัยมหิดลไม่เคยนิ่งนอนใจในการดำเนินการให้ความรู้และรณรงค์เรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตาม “พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act: PDPA)” ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565


You must be logged in to post a comment Login