- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 3 hours ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 1 day ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 2 days ago
- อย่าไปอินPosted 5 days ago
- ปีดับคนดังPosted 6 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
ปลุกกระแสขวางรัฐบาลโล้ตามธุรกิจน้ำเมา งัดงานวิชาการยันแอลกอฮอล์ก่อมะเร็ง 7 ชนิด
ปลุกกระแสขวางรัฐบาลโล้ตามธุรกิจน้ำเมา แก้กฎหมายเพิ่มเวลาขายเหล้าเบียร์ งัดงานวิชาการยันแอลกอฮอล์ก่อมะเร็ง 7 ชนิด ทั่วโลกตื่นรู้ แต่ของไทยอยากจะปล่อยสารก่อมะเร็งให้เสรี เตือนรัฐบาลต้องคำนึงถึงการคุ้มครองประชาชนด้วย
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 นายธีระ วัชรปราณี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า พร้อมด้วย ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี ประธานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า และ ดร.ภญ.อรทัย วลีวงศ์ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ร่วมพูดคุยในประเด็น “แอลกอฮอล์ก่อมะเร็ง 7 ชนิด รัฐจะเปิดเสรี หรือคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภค” ในรายการพิเศษเนื่องในวันมะเร็งโลก ทางเพจเช็คอินกินกาแฟแชร์เรื่องเหล้า โดย นายธีระกล่าวว่า ทั่วโลก กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ เป็นวันมะเร็งโลก ก็เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงอันตรายและปัจจัยเสี่ยงของโรคดังกล่าว หนึ่งในนั้นคือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้ยกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาเป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจ และมีหลายฝ่ายอยากให้ปรับเปลี่ยนนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใหม่ ทั้ง ๆ ที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ รวมถึงเป็นสาเหตุของการก่อโรคมะเร็งด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องมาหารือกันถึงเรื่องนี้อย่างจริงจัง
ภก.สงกรานต์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาคนไทยส่วนใหญ่จะรู้แค่ว่าแอลกอฮอล์รู้แค่ว่าทำให้ตับแข็ง และมะเร็งตับเท่านั้น แต่วันนี้ชัดเจนว่าทำเกิดมะเร็งไม่ต่ำกว่า 7 อวัยวะ อาทิ มะเร็งปาก มะเร็งลำคอ มะเร็งกระเพาะ มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งต่อมไทยรอยด์ และมะเร็งเต้านม แต่ผู้หญิงไทยส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่องนี้ ถือเป็นความเสี่ยงที่น่าห่วง เพราะสำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจปีล่าสุดพบผู้หญิงดื่มมากกว่าผู้ชาย อาจด้วยความเชื่อเรื่องเสรีนิยม ความเท่าเทียม ซึ่งไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่ธุรกิจทราบว่าผู้หญิงเอเชียยังดื่มน้อย เลยลงทุนจ้างนักร้องสาวชื่อดังเป็นพรีเซนเตอร์ ต้องดูต่อไปว่าสถิติมะเร็งเต้านมของผู้หญิงจะเป็นอย่างไร นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิต หรือกลายเป็นคนพิการ เพราะแอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์กดสมอง แค่ดื่มกระป๋องเดียว หรือแก้วเดียวก็ทำให้การตัดสินใจช้าลง และสถิติยังชัดเจนว่า 80% เป็นเยาวชนดื่มแอลกอฮอล์
ดังนั้น นี่เป็นต้นเหตุปัญหาสุขภาพ สังคม ครอบครัว มีคนเสียอนาคตมากมาย แต่รัฐบาลกลับไม่มองปัญหาเหล่านี้เลย กระทั่งสส.ที่อภิปรายในสภาส่วนใหญ่ใช้ความเห็นส่วนตัว โดยไม่รู้ข้อมูลอะไรเลย รัฐบาลก็ไม่ดูข้อมูล แม้แต่การพูดเรื่องกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการขายเหล้าให้ได้มาก ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นประโยชน์ต่อเศษฐกิจจริงหรือไม่ รัฐบาลเคยดูหรือไม่ว่า ผลกระทบจากแอลกอฮอล์ทำให้ไทยสูญเสียทางเศรษฐกิจปีละไมต่ำกว่า 1.6 แสนล้านบาท จากการรักษา และการทำงานด้อยประสิทธิภาพ นี่ยังไม่รวมค่าเครื่องดื่มไม่ต่ำกกว่า 3 แสนล้านบาท ถ้าเปลี่ยนค่าเหล้า ไปเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนที่รัฐบาลคุยว่าจะส่งเสริมเป็นซอฟต์พาวเวอร์จะมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมหาศาล โดยไม่ต้องไปกู้เงินมาแจก แต่รัฐบาลกลับคิดไม่ได้ คิดแต่จะส่งเสริมการขายสุราให้ได้มากขึ้น นานขึ้น จะเพิ่มเวลาขายตามที่มีข่าวมาว่า รัฐบาลจะไปแก้กฎหมายให้เสรีมากขึ้น นี่เป็นการมองกับคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มเดียว ที่มีคนไม่ถึง 5 % ที่อยู่ในธุรกิจแอลกอฮอล์นี้ แต่กลับลืมคนอีกกว่า 95% ทั้งประเทศ ที่มีความเสี่ยงจากความดื่มแอลกอฮอล์ ทั้ง ๆ ที่วันนี้ไม่ใช่แค่องค์การอนามัยโลกที่เห็นปัญหา แม้แต่ธนาคารโลกยังพูดว่า ยิ่งควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยิ่งดีต่อเศรษฐกิจ ตรงนี้รัฐบาลก็ไม่มีข้อมูลเหมือนกัน มีแต่ข้อมูลว่า สุราขายไม่ดี จะส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการให้ดื่มมากขึ้น ทั้งที่ผลสำรวจบอกว่านักท่องเที่ยวมาเพราะสนใจวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ธรรมชาติสวยงาม อาหารอร่อย
ประธานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวต่อว่า ถ้าดูงบประมาณสาธารณสุขทั้งหมดจะเห็นว่างบฯ ส่วนใหญ่ของกระทรวง หรือหน่วยงานด้านสุขภาพถูกเอาไปใช้ในการรักษาโรค แต่ที่มีอยู่ก็ถือว่าค่อนข้างจำกัด หากไม่ให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค มีเงินแค่ไหนก็ไม่มีทางเอาอยู่ โดยเฉพาะ 70-80 % เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากพฤติกรรม ที่สามารถป้องกันได้ แต่การป้องกันรณรงค์ใความรู้อย่างเดียวยังไม่เพียงพอ แต่ต้องมีนโยบายสาธารณะ ดีที่สุดคือมีกฎหมายควบคุมปัจจัยเสี่ยงไม่ให้ธุรกิจที่มีอันตรายทำได้อย่างเสรี
“รัฐบาลคิดเรื่องนี้ไม่เป็น แม้แต่ สส.ในสภาบางคนก็พูดโดยขาดความรู้ ทั้ง ๆ ที่ทั่วโลกต้องควบคุมสินค้าที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และสังคม ดังนั้นต้องตระหนักเรื่องนี้ ไม่ใช่แค่คอยรักษาอย่างเดียว หากไม่ป้องกันโรค อนาคตนอกจากกู้เงินมาแจกแล้ว ยังจะต้องกู้เงินมารักษาโรคอีกหรือเปล่า ไม่ใช่ว่ากฎหมายที่มีดีอยู่แล้วก็จะแก้ให้อ่อนลงโดยไม่มีความรู้อะไรเลย แค่นายกภาคเอกชนทำหนังสือถึงรัฐบาลก็จะแก้ตามเขาแล้ว โดยไม่ใช้ความรู้อะไรเลย นี่ก็จะเป็นรัฐบาลที่ไม่ได้มีนโยบายที่มาจากองค์ความรู้ ถือว่าเป็นเรื่องที่แย่มาก ดังนั้นเป็นหน้าที่ของเราทั้งต่างจังหวัดและส่วนกลางที่ต้องช่วยกันไม่ให้รัฐบาลออกกฎหมายทำร้ายประชาชนไปมากกว่านี้”ประธานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าว
ดร.ภญ.อรทัย กล่าวว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีเอทานอน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารออกฤทธิ์ต่อสมอง เป็นสารเสพติด และเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งองค์กรระหว่างประเทศ ที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้ประกาศว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ กลุ่มที่ 1 (carcinogenic) ตั้งแต่ปี 1987 แต่คนไม่ได้พูดถึงมากนัก กระทั่งต่อมามีงานวิจัยมากขึ้นและยืนยันว่าไม่มีปริมาณการดื่มที่ปลอดภัย อีกทั้งองค์การอนามัยโลกยังระบุว่า ถ้าสูบบุหรี่ร่วมด้วยจะเพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งขึ้น 5 เท่า และสูงขึ้น 30 เท่าในคนดื่มหนัก สำหรับข้อมูลล่สาสุดที่เพิ่งออกมาเมื่อมกราคม 2567 พบทั่วโลกมีผู้ป่วยมะเร็ง 740,000 คนต่อปี โดยมะเร็งที่เกิดจากแอลกอฮอล์ สูงสุดคือมะเร็งช่องปาก รองลงมาคือมะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ และมะเร็งเต้านม ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทย พบเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งที่มีสาเหตุมาจากแอลกอฮอล์ เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ แต่ที่มีการเสียชีวิตมากที่สุดคืออุบัติเหตุทางถนน
ดร.ภญ.อรทัย กล่าวว่า ขณะนี้หลายๆ ประเทศเริ่มตระหนักถึงปัญหาแอลกอฮอล์ก่อโรคมะเร็ง ทำให้มีการออกมาตรการป้องกันและให้ความรู้แก่ประชาชน รวมถึงมีการเรียกร้อง ผลักดันให้มีการจัดทำฉลากคำเตือน รวมถึงคำแนะนำการดื่มบนผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น รัฐแคลิฟอร์เนีย , แคนาดา รวมถึงไอซ์แลนด์ก็จะบังคับใช้เร็วๆ นี้ และหลายประเทศในยุโรป ยังมีการเรียกร้องให้ออกนโยบายจัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่น ภาษี ลดการเข้าถึงผ่านโฆษณา และเพิ่มความตระหนักเสี่ยงมะเร็ง เช่น ฉลากคำเตือน และพัฒนาหน่วยสุขภาพเตรียมความพร้อมการคัดกรอง รักษาเข้มข้น นี่เป็นข้อเรียกร้องที่ออกมาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งการที่ต้องออกฉลากคำเตือนเพราะเป็นสิทธิ์ของผู้บริโภคที่รับรู้ได้ แม้ฉลากไม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรม แต่สร้างความตระหนักได้ว่าเครื่องดื่มแอกลอฮอล์ไม่ใช่สินค้าธรรมดา อย่างไรก็ตาม บางประเทศยังทำไม่สำเร็จเพราะถูกขัดขวางอย่างหนักจากกลุ่มธุรกิจแอลกอฮอล์
“จากข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพ โดยรวมกฎหมายประเทศไทยไม่ควรที่จะอ่อนแอไปกว่านี้ เราต้องทำให้โครงสร้าง และระบบการดำเนินนโนบายทุกระดับมีความเข้มแข็ง อาจต้องดูกฎหมายว่าจะสามารถใส่เรื่องฉลากคำเตือนเข้าไปด้วยหรือไม่” ดร.ภญ.อรทัย กล่าว
You must be logged in to post a comment Login