วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

150 วันปิดเทอมสร้างสรรค์ เสริมกิจกรรมทักษะการใช้ชีวิตให้เด็ก

On February 8, 2024

“เนื่องจากการสำรวจในปีที่ผ่านๆ มา พบว่าหนึ่งปัญหาที่พบคือ สถานที่จัดงานไกลจากที่พักอาศัย ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หรือกรณีเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ก็จะต้องเป็นคนพาไป ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้เด็กบางกลุ่มเข้าไม่ถึงพื้นที่กิจกรรม สสส. จึงตั้งโจทย์นี้ขึ้น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและลดอุปสรรคด้านค่าใช้จ่าย การสร้างเครือข่ายชุมชนในเป็นพื้นที่ต่างๆ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้เด็กๆ เข้าถึงกิจกรรมสร้างสรรค์ได้อย่างแท้จริง”

จากคำกล่าวของ น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ที่กล่าวในการประชุมภาคีเครือข่ายงานปิดเทอมสร้างสรรค์ประจำปี 2567 นอกจากนี้ยังพบว่าการปิดเทอมของเด็กๆ ที่มีเวลาถึง 150 วัน ถือเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานและส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก เช่น พัฒนาการถดถอย ภาวะโภชนาการที่ไม่ถูกหลัก ผู้ปกครองต้องทำงานไม่มีเวลาดูแล หลายบ้านแก้ปัญหาด้วยการให้เด็กไปเรียนพิเศษ เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น เนื่องจากเวลาช่วงปิดเทอมของเด็กๆ ควรจะถูกใช้เพื่อการเรียนรู้นอกห้องเรียนมากกว่า ดังนั้น สสส. จึงร่วมกับภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนโครงการนี้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 มีหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเข้ามาร่วมเปิดพื้นที่กิจกรรม และจัดค่ายศึกษาธรรมชาติ เป้าหมายพิเศษปีนี้ ในการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ในเด็กสามารถเข้าถึงได้ภายใน 15 นาที

สำหรับแพลตฟอร์มปิดเทอมสร้างสรรค์ได้มีการทำงานมาอย่างต่อเนื่องและในปีนี้ก้าวเข้าสู่ปีที่7 โดยแพลตฟอร์มนี้ มี สสส.เป็นหน่วยงานกลางที่จะประสานความร่วมมือและให่ความรู้ทางด้านวิชาการให้กับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน รวมทั้งภาครัฐและเอกชน จะเป็นการรววมกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในแต่ละพื้นที่ในช่วงปิดเทอม เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กสามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่สนใจและใกล้บ้านได้ที่ www.happyschoolbreak.com โดยจะเปิดตัวแคมเปญปิดเทอมสร้างสรรค์ประจำปี 2567 “ปิดเทอมสร้างสรรค์ กิจกรรมฉ่ำเว่อ” ในวันเสาร์ที่ 2 มี.ค. 2567 ที่อุทยานการเรียนรู้ TK Park

อยากให้เด็กไทยมีพื้นที่การเรียนรู้ที่หลากหลาย …และการปิดเทอมไม่ใช่การเรียนพิเศษหรือเล่นเกมมือถือ นั่นคือสิ่งที่ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) อยากให้เด็กและเยาวชนได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ในพื้นที่ที่ปลอดภัยและใกล้บ้าน

นพ.พงศ์เทพ กล่าวว่า ทาง สสส.เราอยากเห็นเด็กได้มีพื้นที่การเรียนรู้ที่หลากหลายโดยมีผู้ใหญ่ใจดี ซึ่งมีหลายหน่วยงานของมาสนับสนุนกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์  โดยตัว สสส.เองจะเป็นแพลตฟอร์มเชื่อมต่อให้ชุมชน สังคม ทุกพื้นที่ได้ใช้แพลตฟอร์มนี้ในการสื่อสารให้เด็กในชุมชนของท่านเข้าร่วมกิจกรรมได้  โดยเรามีความคาดหวังว่าเด็กจะได้เรียนรู้ ทักษะ หรือทักษะที่เน้นสร้าง Soft skills ซึ่งเป็นทักษะความสามารถด้านอารมณ์ การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม และการพัฒนาตนเอง เช่น การสื่อสารพูดคุย รองรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในศตวรรษที่ 21 ที่จะมีความเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลายด้าน อาทิ การเมือง การศึกษา อารยธรรมใหม่เครือข่ายทางสังคม เทคโนโลยีและการติดต่อสื่อสาร การใช้ AI ที่เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในยุคปัจจุบันเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้เขาโตขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ทุกด้าน ไม่เพียงแต่วิชาการด้านเดียว และทำให้การปิดเทอมของเด็กไปอยู่ที่ห้องเรียนพิเศษหรือเล่นเกมในมือถือ

“สสส.พยายามจะเป็นตัวกระตุ้นเชิญชวน แล้วชุมชน สังคมเป็นคนจัดพื้นที่ให้เหมาะสมกับเด็ก และให้เด็กเข้าถึงกิจกรรมได้แบบปลอดภัยในระยะ 15 นาทีที่เขาต้องเดินได้แต่ต้องไม่ไกลมาก ซึ่งชุมชน พื้นที่หรือ  อบต.หน่วยงานต่างๆในพื้นที่ ซึ่งอาจไม่ได้อยู่ในภาคีเครือข่ายของ สสส.ก็ได้ เข้ามาร่วมสร้างกิจกรรมที่สามมารถทำให้เด็กเข้าถึง และสร้างกิจกรรมที่ก่อเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ทันกับยุคสมัย สามารถนำเด็กมาเล่น และเรียนรู้ร่วมกัน เป็นการทำกิจกรรมที่เด็กรู้สึกสนุกสร้างให้เกิดประโยชน์การเรียนรู้ร่วมกันได้ ซึ่งอาจะไม่ใช่เกมในมือถือแต่เป็นเกมที่ให้เด็กได้แสดงออก ที่ชุมชนเป็นคนจัดขึ้นมา ” นพ.พงศ์เทพ กล่าว

ทั้งนี้ สสส.พยายามที่จะทำเป็นพื้นที่กลางในการสื่อสาร และกระตุ้นให้ทุกพื้นที่ ทุกจังหวัดพยายามจัดกิจกรรม แต่เราจะไม่เข้าไปควบคุมจัดการ แต่เราจะเป็นคนที่บอกประโยชน์จึงอยากให้ผู้ใหญ่ใจดีในสังคมมากระตุ้นร่วมกันทำงานร่วมกันเพราะในที่สุดแล้ว ถ้ามีชุมชนหนึ่งทำจะให้ชุมชนอื่นๆทำตาม หรือมีการขยับขยายจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งก็ได้แบบจิตอาสาที่ไม่ใช่การบังคับ ด้วยความรู้สึกที่ว่า เราจะต้องทำอะไรบ้างอย่างให้กับเด็กในชุมชนของเรา ที่สำคัญการเรียนรู้นอกตำรานอกห้องเรียนจะกระตุ้นเด็กสามารถที่จะมีทักษะในการใช้ชีวิตด้านอื่นๆและมีความสมดุลในการออกกำลังกายและเล่น

สำหรับเวลาการล่นของเด็กในแต่วัน ทุกวันนี้เด็กอยู่กับการเรียนถึง 7 ชั่วโมง ถ้าเป็นเด็กเล็กในห้องเรียนควรมีกิจกรรมที่ได้เล่นอยู่บ้างด้วย แต่ถ้าเป็นเด็กโตจะมีกิจกรรมการเรียนที่ค่อนข้างเยอะ ดังนั้นกิจกรรมนอกห้องเรียนควรใช้เวลาอย่างน้อ 1-2 ชั่วโมงในการเรียนรู้วิชาชีวิตอื่นๆ  แต่ถ้าทำไม่ได้ วันเสาร์-อาทิตย์เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ให้เด็กได้เล่นหรือเรียนรู้อย่างอื่น แต่ถ้าไม่ได้อีกก็ใช้เวลาปิดเทอมซึ่งสามาถใช้ทำกิจกรรมอื่นๆได้อย่างปลอดภัย ดังนั้นเวลาเล่นเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขไม่จำกัดเวลาว่ากี่ชั่วโมง สามารถเล่นให้ได้มากที่สุด ให้เขาได้เรียนรู้แบบที่เขาสุข สนุกในการที่เขาได้เล่น ได้เรียนไปด้วย อันนี้คือสิ่งที่เราคาดหวังว่าจะเกิดการเรียนรู้จากการเล่นอย่างมีความสุขไม่ใช่เกิดจากการบังคับ

การปลูกฝังในเรื่องต่างๆช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือช่วงเวลาของเด็กปฐมวัย เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีพัฒนาการจากยุคช่วงพึ่งพิง ไปสู่ช่วงค้นหา เรียนรู้ เด็กในช่วงนี้อยากจะเรียนรู้มาก ถ้าเราสามารถเปิดพื้นที่การเรียนรู้ เขาจะเรียนได้มากกว่าที่เราคิด เขาสามารถเขาไปเรียนรู้ได้อย่างสนุก แล้วเอามาเรียนรู้สิ่งต่างๆเพื่อพัฒนาการของเขา  ทั้งทางร่างกาย จิตใจ ทางสังคมและทางจิตปัญญา

“สิ่งสำคัญคือการสนับสนุนให้เด็กๆ ได้ร่วมในกิจกรรมจิตอาสา ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านจิตปัญญา เพื่อปลูกฝังความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตในสังคม เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากส่วนตนและให้เด็กๆ ได้เห็นคุณค่าของตัวเองที่มีต่อสังคมและผู้อื่น เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ สำหรับปีนี้ สสส. และภาคีเครือข่าย เพิ่มความพิเศษให้กับโครงการปิดเทอมสร้างสรรค์ด้วยการกำหนดแนวคิด “ปิดเทอมสร้างสรรค์ กิจกรรมฉ่ำเว่อ” มีเป้าหมายเชิญชวนภาคีเครือข่ายและหน่วยงานอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการเปิดพื้นที่กิจกรรมในชุมชนให้เด็กๆ สามารถเข้าถึงพื้นที่กิจกรรมที่ปลอดภัยได้ภายใน 15 นาที จึงเป็นโจทย์สำคัญของ สสส. และภาคีเครือข่ายที่จะร่วมสร้างและกระตุ้นให้ผู้ใหญ่ใจดีเข้ามามีส่วนร่วมทำให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชนได้” นพ.พงศ์เทพ กล่าว

เป็นเวลา 7 ปีที่ผ่านมาของการจัดกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ ทำให้พบว่า สังคมมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นเยอะ สังคมเริ่มรับรู้ว่าปิดเทอมต้องสร้างสรรค์ ได้มีหลายหน่วยงาน หลายองค์กรที่เห็นด้วยแต่ยังไม่พร้อมที่จะลุกขึ้นมา ดังนั้นพอเขาเห็นคนอื่นลุกขึ้นมามากๆทุกคนเลยพากันลุกขึ้นมา แล้วมามองเป้าเดียวกันว่าจะทำอย่างไรให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้ทักษะชีวิตและมีจิตอาสา ดังนั้นสิ่งที่ สสส.ได้เรียนรู้ว่า การที่เราเป็นพื้นที่กลาง สามารถทำให้คนอื่นเดินไปในทิศทางที่สังคมอยากเห็นได้ และสสส.จะเป็นเพียงผู้สานพลัง และกระตุ้นที่เราจะช่วยเสริมให้สังคมได้เดินไปในทิศทางที่สังคมอยากจะไป และในการทำงานจะเป็นการทำงานร่วมกัน ประกาศร่วมกันว่าเราจะไม่ยอมให้เด็กเราอยู่ปิดเทอมแบบอยู่กับการเรียนพิเศษ หรืออยู่กับการเล่นเกมในมือถือเท่านั้น

สิ่งที่ สสส.พยายามเชิญชวนผู้ใหญ่ใจดีมาช่วยกันขับเคลื่อนสังคม เพราะที่ผ่านมา เราพบว่าเด็กที่อยู่ในช่วงวัยเรียนเป็นช่วงที่เรียนหนักมาก และต้องเผชิญกับรถติด การเดินทางที่นานกว่าจะกลับถึงบ้านก็ไม่ได้เล่น ได้เรียนรู้วิชาชีวิตอื่นๆเลย พิถึงปิดเทอมพ่อแม่ผู้ปกครองก็ไม่มีเวลาอีกก็จะทิ้งเขาไว้ที่ที่เรียนพิเศษ หรือทิ้งเขาไว้กับคนอื่นให้อยุ่ที่บ้านเพียงอย่างเดียว ดังนั้นถ้าสังคดเปิดพื้นที่ให้เด็กสามารถไปทำกิจกรรมอื่น เรียนรู้ร่วมกับคนอื่นได้อย่างปลอดภัย ตรงนี้เองจะทำให้เด็กมีทักษะชีวิตทุกด้าน และสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพของสังคมได้

อยากเชิญชวนผู้ปกครองทุกคนที่คิดว่าปิดเทอมที่กำลังจะถึงเร็วๆนี้จะส่งเด็กไปที่ไหนดี ขอเชิญชวนผู้ปกครองให้ไปรอบๆชุมชน พื้นที่ต่างๆ แล้วแวะเข้ามาเยี่ยมชมแพลตฟอร์มปิดเทอมสร้างสรรค์ แล้วดูว่าเราจะให้ลูกหลานไปในทิศทางใด ซึ่งในความความหลากหลายจะมีความสมดุล ที่จะทำให้เขาเป็นเด็กที่เติบโตอย่างเหมาะสมกับยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่21

ด้าน น.ส.พรเพ็ญ เธียรไพศาล ผู้ประสานงานโครงการปิดเทอมสร้างสรรค์ พื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่วนกลาง ผู้ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองด้วยผมยาวสีชมพู สาวน้อยอารมณ์หันมาทำงานกับเด็กๆเป็นเวลา 2 ปีมาแล้ว กล่าวว่า เข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายกับ สสส. เข้าปีที่ 2 ที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ในการเป็นพี่เลี้ยง ทำให้ภาคีเครือข่ายมีเป้าหมายที่ชัดเจนและสนับสนุนศักยภาพให้มีความเข้มแข็งขึ้น นอกจากนั้น ยังเป็นหน่วยงานที่เชื่อมโยงระหว่างภาคีเครือข่ายและชุมชนในพื้นที่ได้ทำงานร่วมกันมากขึ้นด้วย ปีนี้ได้เลือกพื้นที่สร้างสรรค์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพชั้นใน เช่น เขตดุสิต สัมพันธวงศ์ บางพลัด เน้นเข้าไปสนับสนุนงานของศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร และศูนย์สร้างสุขทุกวัย เพื่อสร้างกิจกรรมที่เหมาะสม เนื่องจากที่ผ่านมา พบว่า กิจกรรมที่จัดขึ้นอาจจะไม่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็ก จึงทำให้มีเด็กเข้าร่วมกิจกรรมเฉลี่ยประมาณ 10 คนต่อศูนย์ ดังนั้น ปีนี้จึงเสนอปรับรูปแบบการสร้างกิจกรรมในโครงการปิดเทอมสร้างสรรค์ ซึ่งกิจกรรมที่เด็กๆ ชอบมากคือการทัวร์กรุงเทพฯ ด้วยภาษาอังกฤษ พาเด็กๆ เดินทัวร์ในพื้นที่รอบๆ ศูนย์เยาวชนฯ พร้อมสอดแทรกความรู้ด้วยภาษาอังกฤษ ทำให้เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียน มีเป้าหมายของปีนี้คือการสร้างพื้นที่กิจกรรมและสนับสนุนให้เด็กเข้าถึงพื้นที่สร้างสรรค์ได้มากกว่า 100 คนต่อศูนย์


You must be logged in to post a comment Login