วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

มนุษย์เงินต้องรู้! ออมกองทุนสํารองเลี้ยงชีพดียังไงกับปั้นปลายชีวิต

On February 21, 2024

หนึ่งในสวัสดิการของมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ ก็คงจะเป็นกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ นอกจากจะเรื่องของการเก็บออมแล้วก็ยังมีเรื่องของการลงทุนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อย่างที่ใครหลายๆ คนก็น่าจะทราบดีว่ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพเป็นหนึ่งในสิ่งที่สร้างแรงจูงใจให้พนักงานอยู่กับองค์กรนั้นๆ เป็นเวลานาน ยิ่งทำงานนานเปอร์เซ็นต์ที่บริษัทจะสมทบทุนก็ย่อมเพิ่มมากตามไปด้วย แต่นอกเหนือจากเรื่องของการสมทบทุนจากบริษัทแล้วก็ยังมีอีกหลายๆ สิ่งที่มนุษย์เงินเดือนหรือคนที่ทำงานประจำควรทราบเกี่ยวกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ จะมีอะไรบ้าง ตามมาหาคำตอบกันต่อได้จากบทความนี้เลย

อัตราการเพิ่มหรือลดของเงินสมทบ

สิ่งสำคัญอันดับแรกที่พนักงานประจำควรทราบเกี่ยวกับการสมทบทุนของกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั่นก็คืออัตราการสมทบทุนที่เราในฐานะลูกจ้างสามารถเพิ่มหรือลดได้ด้วยตนเอง ตามแต่ความต้องการและความสะดวกของผู้ลงทุนเอง ทั้งนี้เราสามารถเลือกได้ว่าต้องการจะสมทบทุนเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าไหร่ของเงินเดือน เริ่มต้นตั้งแต่ 2-15% สะสมมากก็ยิ่งได้มาก แต่ก็ไม่ได้มีกฎตายตัว อย่างที่ได้เกริ่นไปแล้วว่าตามแต่ความต้องการของตัวลูกจ้างได้เลย

ผู้บริหารเงินกองทุน

หลังจากที่ลูกจ้างสามารถตัดสินใจได้แล้วว่าจะเลือกออมเงินกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพอยู่ที่เปอร์เซ็นต์เท่าไหร่ของเงินเดือน ถัดมาก็อาจจะเข้าสู่คำถามหรือข้อสงสัยจากใครหลายๆ คนว่าหลังจากหักเงินเข้ากองทุนในทุกๆ เดือนแล้วใครจะเป็นผู้บริหารกองทุน แล้วในกองทุนมีนโยบายอย่างไรบ้าง คำตอบก็คือจะมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือ บลจ. เข้ามาดูแลเงินกองทุนก้อนนี้ ซึ่งก็แล้วแต่ว่าบริษัทหรือองค์กรของเรามีแผนการลงทุนให้เลือกทั้งหมดกี่แผน หากไม่มั่นใจในแผนการลงทุนที่เลือกในกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ แนะนำให้สอบถามผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด เพื่อความชัวร์นั่นเอง

ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนปรับแผนการลงทุน

สอดคล้องกับที่ได้เกริ่นไปแล้วในข้างต้น หากลูกจ้างที่อยู่ในฐานะของผู้ลงทุนเองมีความต้องการปรับแผนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะเป็นการรักษาสิทธิ์ของตัวลูกจ้างเองให้เงินสมทบที่หักไปในทุกๆ เดือนถูกนำไปลงทุนอย่างคุ้มค่าและได้กลับมาซึ่งผลตอบแทนที่ดีที่สุด แต่ทั้งนี้จะปรับแผนการลงทุนไปในทิศทางใด แนะนำให้ศึกษาหาข้อมูลและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จะดีที่สุด และที่สำคัญต้องเป็นไปตามสถานการณ์ทางด้านการเงินทั้งภายในและภายนอกประเทศด้วย

สุดท้ายนี้ถ้าตัวผู้ลงทุนเองเมื่อมีการสะสมเงินเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพไปแล้วในช่วงเวลาหนึ่งแล้วถึงเวลาเกษียณหรือต้องการขอออกจากกองทุนและรับเงินที่สะสมเอาไว้ก็จะต้องมีการเสียภาษี เพราะนับว่าเป็นเงินได้ แนะนำว่าให้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของการชำระภาษีเอาไว้ด้วย เพื่อรักษาสิทธิ์และผลประโยชน์ของตัวเราเอง


You must be logged in to post a comment Login