- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 19 hours ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 2 days ago
- อย่าไปอินPosted 5 days ago
- ปีดับคนดังPosted 6 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 7 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
สสส.-มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด ร่วมออกแบบแนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติด
สสส.-มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้แกนนำเครือข่ายภาคประชาชน นักวิชาการ เพื่อร่วมออกแบบแนวทางการปฏิบัติการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน พร้อมนำเสนอผลการศึกษาพื้นที่ตัวแบบการสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติด หวังเชื่อมโยงภาคประชาสังคมและวิชาการเพื่อการสร้างสุขภาวะที่เป็นรูปธรรมในพื้นที่ชุมชน
เมื่อเร็วๆนี้ ที่โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในงานประชุมสัมมนาแกนนำเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อร่วมออกแบบแนวทางการปฏิบัติการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ว่า สสส. สนับสนุนโครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ ร่วมขับเคลื่อนงานป้องกันปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่หมู่บ้านชุมชนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 ทำให้เกิดพื้นที่ต้นแบบที่สามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด 25 แห่ง ใน 48จังหวัด สามารถปกป้องลูกหลานไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับวงจรยาเสพติดได้อย่างเป็นรูปธรรม ที่สำคัญทำให้เกิดแกนนำ ซึ่งเป็นกลไกการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งระดับชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ภูมิภาค และแกนนำเครือข่าย 5 ภูมิภาค จำนวน 2,683 คน จากประสบการณ์และบทเรียนการทำงานในพื้นที่ของแกนนำต่าง ๆ นำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้การจัดการปัญหายาเสพติดไปขยายผลสู่พื้นที่ชุมชนอื่น ๆ ได้
“หลักการสำคัญของการขับเคลื่อนงานป้องกันยาเสพติดในชุมชน ต้องมีฐานมาจาก 1. พลังสังคม คือ กลไกภาคประชาชน ถือเป็นส่วนสำคัญของการขับเคลื่อนงาน จึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อให้มีศักยภาพ และเท่าทันสถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว 2. พลังวิชาการ คือ เครือข่ายวิชาการ เช่น ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) มูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ต้องพัฒนาข้อมูลเชิงวิชาการ พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อนำไปใช้ขยายผลการทำงาน 3.พลังนโยบาย คือ การนำบทเรียนจากการทำงานของกลไกภาคประชาชน และข้อมูลวิชาการ มาพัฒนาสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหายาเสพติดทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติ” นพ.พงศ์เทพ กล่าวว่า
ผศ.ดร.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์ ประธานมูลนิธิศูนย์วิชาการสารเสพติด และผู้อำนวยการศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การแก้ปัญหาสิ่งเสพติดต้องใช้กลไกและอำนาจรัฐที่มีประสิทธิภาพในการติดตามแก้ไขปัญหาที่มีความต่อเนื่อง โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเปลี่ยนกรอบความคิดของชุมชนที่มีต่อสิ่งเสพติด ซึ่งโครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ สนับสนุนโดย สสส. มีเป้าหมายการทำงานคือการสร้างพื้นที่ปลอดภัย และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีกลไกการทำงาน คือ 1. ระบบความสัมพันธ์ที่ดี 2. ใช้ความเข้าใจ เปิดใจการการพูดคุย 3. เป็นการจัดการเชิงบวก 4.พื้นที่การเรียนรู้ที่พัฒนาคนควบคู่ไปกับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เยาวชนในรูปแบบที่สร้างสรรค์ การออกแบบเพื่อยกระดับการเรียนรู้ร่วม ทั้งนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาชุดความรู้จากการถอดบทเรียนการทำงานกับชุมชน เพื่อนำไปใช้ขยายพื้นที่ทำงานทั่วประเทศ ตลอดจนการขยายเป็นพื้นที่ปลอดภัยอย่างสร้างสรรค์
ดร.สมคิด แก้วทิพย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า ในอดีตแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจะเป็นลักษณะ “การใช้อำนาจบังคับ” กล่าวคือ ผู้มีอำนาจทางกฎหมายในการสั่งการ ตรวจเจอแล้วจับ ขณะที่ชุมชนก็มองว่าปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องปัจเจก ที่หากจะแก้ไขต้องแก้ที่บุคคล หรือเรียกว่า “ตัวใครตัวมัน” ขณะที่ตัวแบบใหม่ของโครงการฯ ที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน ท่ามกลางแนวโน้มของปัญหายาเสพติดที่รุนแรงขึ้น คือเราพยายาม “สร้างพื้นที่ปลอดภัย” ที่ให้ทุกคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ทุกคนมองว่าเรื่องยาเสพติด เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน โดยขอยกตัวอย่างผลการประเมินและศึกษาพื้นที่ตัวแบบการสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติด ที่เห็นภาพชัดเจน คือ ที่สะเมิง จ.เชียงใหม่ พื้นที่เป็นการใช้ศิลปะในการสร้างพื้นที่ปลอดภัย หรือเรียกว่า “ศิลปะสื่อสุข” ที่พบว่าสามารถป้องกันเด็กได้ 40 คน ป้องกันกลุ่มเสี่ยงได้ 30คน และเปลี่ยนจากผู้เสพให้เลิกได้ 6 คน
“การสร้างพื้นที่ปลอดภัย ในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างหลายหลาย แต่มีหลักการสำคัญคล้าย ๆ กัน คือ มีพื้นที่ตรงกลาง เน้นรับฟัง ไม่ตัดสิน ไม่ตีตรา มอบโอกาส และสร้างความเข้าใจ มีกลไกที่ช่วยประสาน เชื่อมโยงภายในและภายนอกที่เหมาะสม เป็นต้น และสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้โครงการฯ สำเร็จ คือ สสส. ไม่ได้กำหนด ตัวชี้วัด ที่ไปสร้างกรอบให้ชุมชน แต่ให้ชุมชนดำเนินการตามศักยภาพของตัวเอง ทำให้ชุมชนมีอิสระในการดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ดร.สมคิด กล่าว
You must be logged in to post a comment Login