- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 20 hours ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 2 days ago
- อย่าไปอินPosted 5 days ago
- ปีดับคนดังPosted 6 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
อึ้ง!! เด็กประถมเคยลองบุหรี่ไฟฟ้า43% …เหตุครอบครัวแนะนำให้ลอง
หมอรามาฯแจงผลงานวิจัยพบบุหรี่ไฟฟ้าระบาดหนักในกลุ่มเด็กประถมปลาย พบ 43% เคยลอง ส่วนสาเหตุการสูบนอกจากอยากรู้อยากเห็นอยากเท่ห์แล้ว อึ้งหนักครอบครัวแนะนำหรือให้ลอง ย้ำต้องให้หาช่องทางเข้าถึงเด็กให้ความรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า
ที่ผ่านมา โรงแรมสุโกศล กรุงเทพฯ สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดการเสวนา บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย ‘ใครได้ใครเสีย’ โดยขอให้ผู้กำหนดนโยบาย คำนึงถึงข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านในการพิจารณากฎหมายบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทย เพื่อปกป้องเด็กไทยจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า
รศ.ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กไทยเข้าขั้นวิกฤต เด็กเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา จากการสำรวจที่โรงเรียนชั้นประถมศึกษาแห่งหนึ่งในภาคกลาง พบเด็กประถมปลายเคยลองสูบบุหรี่ไฟฟ้าถึง 43% และที่น่าตกใจคือพบนักเรียนหญิงสูบมากกว่าชาย ส่วนสาเหตุที่ทำให้เด็กประถมหันมาสูบบุหรี่ฟ้าคือ อยากรู้ อยากลอง 60% ,เท่ห์และโซเซียลมีเดีย
การแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าหนักขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากบริษัทบุหรี่ผลิตบุหรี่ไฟฟ้าหรือพอดแบบใช้แล้วทิ้ง และยังออกแบบให้พกพาง่าย รูปร่างสวยงาม มีกลิ่นหอม ซ้ำยังมีการโฆษณาผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย ดึงดูดใจ ทำให้เด็กเข้าใจผิดว่าไม่อันตราย ทั้งที่จริงแล้วงานวิจัยใหม่ ๆ ที่ออกมาแสดงอย่างชัดเจนว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งอันตรายต่อปอด หัวใจ หลอดเลือด สมอง และยังเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กประถมยังมีความเข้าใจผิดต่อการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ว่า คิดว่าสูบแล้วเท่ห์ คูล อันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ไม่เสพติด คิดว่าเป็นเรื่องปกติและไม่ผิดกฎหมาย
รศ.พญ.เริงฤดี กล่าวว่า ในการป้องกันเยาวชนให้พ้นจากภัยของบุหรี่ไฟฟ้า คือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก เท่าที่ตนได้สัมผัสด้วยการพานักศึกษาแพทย์ลงไปเก็บข้อมูล พบว่าเด็กส่วนใหญ่ยังไม่มีข้อมูลเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าที่ถูกต้อง ซึ่งเพื่อความถูกต้องเด็กตั้งแต่ประถมเป็นต้นไปควรได้รับข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นในหรือนอกหลักสูตรก็ตามเป็นอันดับหนึ่ง อันที่สองคือ คนที่อยู่รอบตัวเด็ก จากข้างต้นพบว่าเด็กประถมจะได้รับแหล่งของมูลของบุหรี่ไฟฟ้ามาจากครอบครัว แสดงว่า โดยเฉพาะครอบครัวพ่อแม่ อาจจะเป็นกลุ่มที่ไม่มีเวลาหาความรู้ทำงานเยอะ จึงมีชุดข้อมูลความรู้บุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเราต้องให้ภูมิความรู้กลุ่มนี้ด้วยรวมทั้งคุณครู ซึ่งตอนนี้คุณครูส่วนใหญ่เริ่มรู้แล้ว เขารู้ว่าบุหรี่อันตรายแต่ในเชิงลึกเขาอาจไม่รู้ ซึ่งการเป็นครูจะต้องมีความรู้มากกว่าเด็ก ส่วนนี้จะทำให้เด็กได้รับองค์ความรู้ที่ถูกต้อง นอกจากนี้สื่อโซเซียลต่างๆที่เด็กนิยม ในเด็กประถมที่นิยมมากเป็นอันดับหนึ่งคือติ๊กต๊อก ซึ่งถ้าเราเข้าไปดูจะพบว่าข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเชิงบวกของบุหรี่ไฟฟ้า มากกว่าข้อมูลที่ถูกต้อง
การแก้ปัญหาดังกล่าวเราจะพบอย่างไรให้สื่อต่างๆ รวมทั้งงานวิชาการเอาความรู้ที่ถูกต้องลงมาในสื่อโซเซียลที่เด็กใช้ อย่างน้อยให้มันสมดุลกับการมีข้อมูลที่ถูกต้องของบุหรี่ไฟฟ้า แทนข้อมูลเชิงชวนเชื่อให้กับเด็ก ซึ่งข้อจำกัดของคนที่ทำงานเรื่องยาสูบในประเทศไทยคือ ส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการที่ไม่ใช่วัยรุ่นแล้ว เลยกลายเป็นว่าการจะทำสื่อที่จะสอนในกลุ่มเด็ก อย่างเช่นติ๊กต๊อก ไอจี เป็นต้น มันไม่ใช่เป็นความถนัดของพวกเขา ดังนั้นเราจะต้องหาคน สร้างคนที่มีความเชี่ยวชาญโซเซียลเข้ามาเสริมทัพด้วยการเอาข้อมูลจากกลุ่มอาจารย์ต่างๆที่มีความรู้ แต่เขาไม่รู้จะสื่อลงโซเซียลได้อย่างไรมาย่อยและลงสื่อโซเซียลให้มากที่สุด เพราะถ้าการสื่อสารแบบวิชาการมากเกินไปเด็กก็จะไม่สนใจ
ด้าน รศ.ดร.สุชาดา ตั้งทางธรรม นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ กรรมการสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามในประเทศไทยเช่นเดียวกับอีก 30 กว่าประเทศทั่วโลก และนับวันจะมีประเทศต่าง ๆ ห้ามเพิ่มขึ้น แต่มีคนกลุ่มหนึ่งพยายามผลักดันจะให้ถูกกฎหมาย หากถูกกฎหมายผู้ได้ประโยชน์ก็คือบริษัทบุหรี่ ขณะที่ผู้เสียคือคนกลุ่มใหญ่ที่กำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้า มีทั้งผู้ปกครองและครูที่เห็นเด็กสูบมากขึ้น รวมถึงแพทย์และบุคลากรวิชาชีพสุขภาพที่พบปัญหาผู้ป่วยจากบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ที่สำคัญประเทศชาติสูญเสียทรัพยากรที่มีค่าที่สุดคือเด็ก จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งหากปล่อยให้บุหรี่ไฟห้าถูกกฎหมาย ธนาคารโลกศึกษาพบว่าบุหรี่ก่อผลได้ไม่คุ้มเสีย รัฐบาลควรคำนึงถึงสุขภาพของประชาชนมากกว่าจะมุ่งหารายได้จากยาสูบ
นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกได้มีข้อแนะนำสำหรับประเทศที่ “แบนบุหรี่ไฟฟ้า” อยู่แล้ว ดังนี้
1.เพิ่มประสิทธิภาพการใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
2.มีกลไกติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์การบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าแบบเรียลไทม์
3.มีมาตรการห้ามการโฆษณา ส่งเสริมการขายทุกรูปแบบ ทุกช่องทาง รวมทั้งออนไลน์
รศ.ดร.สุชาดา กล่าวต่อว่า นักวิชาการและนักการเมืองที่สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย อาจจำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก ด้วยความเข้าใจ/การรับรู้ที่จำกัดและไม่ศึกษาให้ดีพอ จึงไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมบริษัทบุหรี่ การตัดสินใจที่อาจดูมีเหตุมีผลภายใต้การรับรู้ที่จำกัด (bounded rationality) แทนที่จะเกิดผลดีก็กลับเกิดผลเสียต่อสังคมได้ ขณะที่กลุ่มสอง มีศัพท์ที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (rent seeking) ที่หมายถึงการแสวงหาประโยชน์ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อให้รัฐบาลดำเนินการในทางที่เอื้อประโยชน์ตน แต่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก ประจักษ์ถึงเล่ห์เหลี่ยมของบริษัทบุหรี่ ในกฎหมายควบคุมยาสูบโลก (WHO FCTC) มาตรา 5.3 จึงกำหนดว่าการจัดทำและดำเนินนโยบายเพื่อควบคุมยาสูบ ให้ปกป้องนโยบายรัฐให้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศโดยไม่ให้อุตสาหกรรมยาสูบแทรกแซง ซึ่งไทยได้ร่วมเป็นภาคีองค์การอนามัยโลก แต่ขณะนี้รัฐกลับปล่อยให้บริษัทบุหรี่แทรกแซงแก้ไขกฎหมายห้ามบุหรี่ไฟฟ้าของไทยและได้มีการแต่งตั้งล็อบบี้ยิสต์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจยาสูบเข้ามาเป็นกรรมาธิการฯที่พิจารณาบุหรี่ฟ้า ที่ขัดต่ออนุสัญญาควบคุมยาสูบโลก มาตรา 5.3
นายไพศาล ลิ้มสถิตย์ กรรมการบริหารศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้าควรเป็นสินค้าหรือของต้องห้ามนำเข้า ห้ามขายต่อไป และควรมีการเฝ้าระวัง ดำเนินคดีกับการโฆษณา ส่งเสริมการขายบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวด เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้สูบและผู้ที่ได้รับไอบุหรี่ไฟฟ้า รัฐบาลควรปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่มีจุดยืนว่า ทั้งบุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโคติน และไม่มีนิโคติน เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ข้อเสนอแนะระยะสั้นในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า ได้แก่
1.กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เผยแพร่ข้อมูล ความรู้เกี่ยวกับผลเสียของบุหรี่ไฟฟ้าทางสื่อออนไลน์
2.รัฐบาลควรมีนโยบายให้ สคบ. สดช. กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ร่วมกับปราบปรามการควบคุมการขายบุหรี่ไฟฟ้าทางร้านค้าและออนไลน์ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อเยาวชน นักสูบหน้าใหม่ และควรสนับสนุนงบประมาณให้แก่องค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ เพื่อสอดส่อง เฝ้าระวัง และดำเนินคดีแก่ผู้ชายหรือผู้ให้บริการเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า
3.กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค ควรเป็นหน่วยงานหลัก เพื่อเผ้าระวังการโฆษณา ส่งเสริมการขาย การทำตลาดบุหรี่ไฟฟ้าและดำเนินคดีกับ Infuence/ กลุ่มลาขาดควันยาสูบ ตาม มาตรา 30 ของ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
ข้อเสนอแนะระยะกลางถึงระยะยาว ได้แก่
1. แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560เช่น แก้ไขนิยาม “ผลิตภัณฑ์ยาสูบ’ตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ เพื่อให้ครอบคลุมบุหรี่ไฟฟ้าทุกประเภท
2. กระทรวงสาธารณสุขเพิ่มตัวชี้วัดของเจ้าหน้าที่ สสจ.เรื่องบุหรี่ไฟฟ้าเป็นการเฉพาะ
3. กรมศุลกากร สตช. ทบทวนการตีความกรณีการใช้และครอบครอง บุหรี่ไฟฟ้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560
“ไทยไม่ควรอนุญาตให้มีการขายบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดศักยภาพในการป้องกัน จับกุมการลักลอบนำเข้า การขาย การโฆษณา การสื่อสารการตลาดบุหรี่ไฟฟ้าผ่านสื่อออนไลน์ พบปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย ปัญหาการตีความกฎหมายศุลกากรในประเด็นการครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าของผู้ใช้งานที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายศุลกากรหลายประเทศ ซึ่งเน้นการดำเนินคดีกับผู้นำเข้า กลุ่มผู้ค้าเป็นหลัก รวมทั้งการตีความจำกัดอำนาจของเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ทั้งนี้ บุหรี่ไฟฟ้ายังเกี่ยวพันกับการทุจริตและการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐบางส่วน” นายไพศาล กล่าว
หากรัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องยังไม่มีมาตรการการจัดการที่เข้มข้นปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า และยังคงปล่อยให้เยาวชนได้เขาถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างสะดวกสบายในอนาคตประเทศไทยคนวัยทำงานจะประสบปัญหาด้านสุขภาพเป็นอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
You must be logged in to post a comment Login