- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 17 hours ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 2 days ago
- อย่าไปอินPosted 5 days ago
- ปีดับคนดังPosted 6 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 7 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
ไขกุญแจความสำเร็จ 4 องค์กรระดับประเทศ เผยวิสัยทัศน์ตามแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ
ไม่ใช่เรื่องง่ายในการก้าวขึ้นมาเป็นองค์กรชั้นนำจนสามารถคว้ารางวัลการันตีคุณภาพในระดับ world class บนเส้นทางที่เปี่ยมไปด้วยความท้าทาย มาร่วมไขคำตอบว่าพวกเขาเหล่านี้มีแนวทางในการบริหารจัดการองค์กรอย่างไร เพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะสำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ จัดงานสัมภาษณ์พิเศษ 4 องค์กรแนวหน้าที่ได้รับรางวัล TQA และ TQC Plus ประจำปี 2566 ภายใต้หัวข้อ “ความสำเร็จระดับ world class ด้วยการขับเคลื่อนองค์กรตามแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ” เพื่อแบ่งปันวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการองค์กรให้ทัดเทียมมาตรฐานโลกพร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 ณ ห้องครึ่งวงกลม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
คุณสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เปิดประเด็นถึงความสำคัญ และบทบาทของรางวัลคุณภาพแห่งชาติต่อการยกระดับความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ
“การเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ (Productivity) ของภาคอุตสาหกรรม เป็นการสร้างรากฐานการเติบโต ของผลิตภัณฑ์ประชาชาติ ขับเคลื่อนประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง มีเสถียรภาพและมีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศที่ยั่งยืนในระยะยาว การนำแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เข้าไปช่วยพัฒนาองค์กรอย่างรอบด้าน จะสนับสนุนการยกระดับศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรไทย
ซึ่งสอดคล้องกับการจัดอันดับของ IMD ซึ่งเผยแพร่ใน IMD World Competitiveness Yearbook 2023 ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 30 ขยับขึ้นจากปีที่แล้ว 3 อันดับ โดยเฉพาะประเภท โดยเฉพาะด้านผลิตภาพและประสิทธิภาพ (Productivity & Efficiency)ที่มีอันดับดีขึ้นถึง 9 อันดับจากปี 2565 นับว่ารางวัลคุณภาพแห่งชาติที่สนับสนุนการ เพิ่มผลิตภาพในการบริหารจัดการองค์กร ได้มีส่วนช่วยในการยกระดับศักยภาพบุคลากรและองค์กรไทย เพื่อเตรียมพร้อมรับมือการแข่งขันในเวทีโลก”
พร้อมกล่าวเสริมถึงแผนการดำเนินงานในปี 2566 ที่ผ่านมา “สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ในปี 2566 ที่ผ่านมา อาทิ การอบรมเพื่อเผยแพร่เกณฑ์รางวัล, พัฒนาความรู้ผู้ตรวจประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกา, การรับสมัครและ ตรวจประเมินเพื่อมอบรางวัล, จัดงานสัมมนา TQA winner conference และยังมีกิจกรรมเชิดชูเกียรติองค์กรที่ได้รับรางวัล อาทิ การรับรององค์กร TQA เพื่อรับรางวัลสุดยอดองค์กรแห่งความเป็นเลิศระดับโลก Global Performance Excellence Award 2023 (GPEA), นำผู้บริหารองค์กรที่ได้รับรางวัลร่วมงานสัมมนาระดับนานาชาติ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และจีนตลอดจนขยายขอบเขตของเกณฑ์รางวัลไปสู่ภาคการศึกษาด้วยโครงการตรวจประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา”
สำหรับทิศทางในอนาคต สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ มีแผนต่อยอดการดำเนินการอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น การขยายผลโครงการผ่านเครือข่ายและเชื่อมต่อกับรางวัลในระดับสากล มีการปรับปรุงเกณฑ์รางวัลฯให้ตรงตาม ความต้องการของตลาด สร้างองค์กรต้นแบบในการแลกเปลี่ยนความรู้และวิธีปฏิบัติเพื่อสนับสนุนและยกระดับองค์กรไทย สู่ความเป็นเลิศต่อไป
ทางด้านผู้บริหารที่เป็นตัวแทนจาก 4 องค์กร จากทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และธนาคารร่วมถ่ายทอด มุมมองด้านการบริหารจัดการเพื่อช่วยผลักดันองค์กรให้เดินหน้าอย่างเข้มแข็ง จนสามารถคว้ารางวัลในเวทีระดับสากล
พีทีที แอลเอ็นจี พัฒนาองค์กรให้ถูกทิศทาง เพื่อก้าวไปพร้อมกับความเปลี่ยนแปลง
องค์กรผู้คว้ารางวัลคุณภาพแห่งชาติประจำปี 2566 (Thailand Quality Award) โดยมีคุณรัตติกูล ปิยะวงค์วาณิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด เปิดเผยถึงความสำเร็จที่สามารถคว้ารางวัลในครั้งนี้มาครอง
“พีทีทีแอลเอ็นจี มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาและปรับปรุงองค์กรอยู่เสมอเพื่อให้ก้าวไปพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่ อาจจะเกิดขึ้น มีการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติมาใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการนำองค์กร เพื่อดูปัจจัยในทุกๆ มิติ รวมทั้ง มีการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้รองรับและเตรียมพร้อมต่อการแข่งขันที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต มีการทำ Benchmarking ทำให้รู้ถึงความสามารถหรือสมรรถนะขององค์กร รวมถึงจุดที่ควรพัฒนาปรับปรุงซึ่งนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน”
อีกทั้งเผยวิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศในการเป็นผ้ใูห้บริการสถานี รับ เก็บ จ่าย LNG และห่วงโซ่ทางธรุกิจในระดับ World Class “พันธกิจหลักขององค์กร คือการเป็น Security of Gas supply ด้านพลังงานของประเทศ เช่น เมื่อเกิดเหตุการณ์การหยุดส่งก๊าซฯ และ ซ่อมบำรุงท่อส่งก๊าซฯ ในอ่าวไทย องค์กรได้ส่ง LNG เข้าสู่ระบบท่อเพิ่มขึ้นอย่างเต็มกำลัง เพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติที่ขาดหายไปได้จึงทำให้ไม่มีผลกระทบเกิดขึ้น เป้าหมายต่อไปของด้าน security of gas และ Business คือ การขยายอัตรากำลังในการสำรอง LNG ให้มากขึ้น”
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งดูแลสุขภาพเพื่อสุขภาวะของสังคม
ซึ่งได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่น ด้านการปฏิบัติการ (Thailand Quality Class Plus : Operation) โดย ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อาทิตย์ อังกานนท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการดำเนินองค์กรด้วยเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ
“คณะฯ ดำเนินการตามแนวทางการบริหารสู่ความเป็นเลิศ ส่งผลให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อมหาวิทยาลัยและวงการแพทย์ ซึ่งคณะฯ มุ่งเน้นจัดการศึกษา สร้างงานวิจัย ให้บริการวิชาการ และดูแลสุขภาพเพื่อสุขภาวะของสังคม นอกจากนั้นยังมีส่วนร่วม ในการสร้างความสมบูรณ์แก่ระบบสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ผ่านการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การสร้างความตื่นตัว ของสังคม ร่วมผลักดันการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในระบบประกันสุขภาพ เช่น การทำ Policy dialogue กับผู้กำหนดนโยบายระดับ ชาติ เช่น การรณรงค์ เรื่องการลดการบริโภคยาสูบ การตรวจคัดกรองประเมินความเสี่ยงผู้ป่วยโรคหัวใจ ซึ่งการดำเนินการ ขององค์กรอย่างเป็นระบบ เป็นการตอบสนองความท้าทายเชิงกลยุทธ์ในเรื่องความคาดหวังในการรับบริการของชุมชนสังคม และสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจขององค์กรอีกด้วย”
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สร้างทัศนคติให้กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ คิดค้นนวัตกรรมเพื่อส่วนรวม
องค์กรที่ได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่น ด้านนวัตกรรม (Thailand Quality Class Plus: Innovation) โดย ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยถึงความท้าทายในการนำเกณฑ์รางวัลฯ ไปใช้ในการขับเคลื่อนความสำเร็จ
“มหาวิทยาลัยเห็นความท้าทาย และมุ่งมั่นที่จะก้าวข้ามความท้าทายเหล่านั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร และส่งมอบคุณค่าที่ดีที่สุด ณ ช่วงเวลานั้นๆ ให้กับผู้เรียน ลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงชุมชน สังคม และด้วยข้อจำกัด ของเวลาและความท้าทายของสังคมของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยจึงต้องค้นหาโอกาสใหม่ๆ นำไปสู่การเกิด เป็นนวัตกรรมขององค์กรในหลายมิติทั้งนวัตกรรมในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการบริการ ด้านกระบวนการ และด้านการบริหารจัดการ เพื่อให้มหาวิทยาลัยขับเคลื่อนได้เร็วขึ้น สร้างทัศนคติให้ผู้บริหารและบุคลากรกล้าทดลองทำสิ่งใหม่ๆ ช่วยให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีนวัตกรรมเกิดขึ้นทั้งนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการที่เป็นพื้นฐานในการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมด้านการบริการ และการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตสังคมและเศรษฐกิจของประชาชนในท้องถิ่นภาคเหนือ และประเทศชาติโดยส่วนรวม”
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ยกระดับองค์กรให้เป็นแกนกลางการเกษตร
ธนาคารที่ได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่น ด้านการสร้างประโยชน์ให้สังคม (TQC Plus: Societal Contribution) โดย คุณเชษฐา แหล่ป้อง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ย้ำถึงการดำเนินตามแนวทางเกณฑ์รางวัลฯ อย่างมีประสิทธิภาพ
“ธ.ก.ส. ได้นำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ หรือ TQA มาเป็น Guideline ในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการ บริหารจัดการองค์กร ทั้งด้านระบบการนำองค์กร การวางยุทธศาสตร์ การติดตามผลการดำเนินงานการพัฒนาองค์กร ให้เป็นองค์กรแห่ง การเรียนรู้และนวัตกรรม และการปฏิบัติการ เพื่อให้ธนาคารมีผลการดำเนินงานที่ดีและมีความมั่นคง ทางการเงิน อีกทั้งยังสามารถใช้ความแข็งแรงของ ธ.ก.ส. เป็นแกนกลางทางการเกษตร หรือ Essence of Agriculture เพื่อยกระดับภาคการเกษตรและเกษตรกรไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดยปี 2566 ที่ผ่านมา ธ.ก.ส. ได้ใช้ประโยชน์จาก TQA Feedback Report ปรับปรุงผลการดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายสำคัญของธนาคาร โดยการมุ่งเน้นการ เติบโตและความมั่นคงทางการเงิน หรือมุ่งเน้นเรื่อง Balance Sheet ให้แข็งแรง ทำให้เกิดการปรับองค์กรเข้าสู่มาตรฐาน ของความเป็นธนาคาร และในขณะเดียวกันต้องไม่ทิ้งความเป็นธนาคารเพื่อการเกษตร”
ทางด้าน นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ประธานคณะอนุกรรมการด้านเทคนิครางวัลคุณภาพแห่งชาติ กล่าวถึงสาระสำคัญของเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติที่มีการปรับเปลี่ยน เพื่อช่วยพัฒนาองค์กรในยุคที่เต็มไปด้วยความท้าทาย
“การติดตามการเปลี่ยนแปลงของเกณฑ์ จะช่วยให้องค์กรได้ระมัดระวัง แม้ว่ากระแสความเปลี่ยนแปลงต่างๆ จะยังมาไม่ถึง แต่การรู้ก่อนทำให้องค์กรมีเวลาเตรียมความพร้อม ด้วยกระบวนการเชิงเทคนิคของเกณฑ์ที่จะเข้าไปช่วยปรับปรุง พัฒนาให้องค์กรสามารถปรับตัวได้ในยุคที่เต็มไปด้วยความท้าทาย
เกณฑ์ปี 2567-2568 มีเรื่องใหม่ๆ เพิ่มขึ้น องค์กรอาจต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลง เพื่อพิจารณาว่าเรื่องใดมีผลกระทบ เพื่อรับมือให้ทันท่วงที เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ได้มีการปรับเนื้อหาให้เข้ากับสถานการณ์โลกในปัจจุบัน และสอดคล้อง กับเกณฑ์ MBNQA เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบบริหารจัดการองค์กร ภายใต้การให้ความสำคัญ ใน 8 ด้าน ประกอบด้วย ความคล่องตัว, การรักษาบุคลากร, การสร้างนวัตกรรม, ความหลากหลาย, ความสามารถในการฟื้นตัวของห่วงโซ่อุปทาน, การตอบแทนสังคม, เศรษฐกิจดิจิทัลและการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 และ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์”
ทิ้งท้ายด้วยการให้คำแนะนำองค์กรในการเขียน Application Report เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ “การเขียนรายงานวิธีการและผลการดำเนินงาน (Application Report) วัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงการดำเนินการ ที่สำคัญขององค์กรแบบสั้น กระชับ โดยใช้หลักเกณฑ์การให้คะแนนเป็นแนวทาง ซึ่งองค์กรจะต้องแสดงถึงการดำเนินการ (Process) ที่เป็นตัวอย่างที่ดี (Role model best practices) และผลลัพธ์ที่เป็นผู้นำ (Result leadership) แม้ว่าองค์กรจะสมัคร ขอรับรางวัลหรือไม่ก็ตาม การเขียน Application Report จะช่วยให้องค์กรได้สำรวจตัวเอง จากการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ ในการนำไปใช้พัฒนาปรับปรุงองค์กรได้เป็นอย่างดี”
You must be logged in to post a comment Login