- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 14 hours ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 2 days ago
- อย่าไปอินPosted 5 days ago
- ปีดับคนดังPosted 6 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 7 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
จากเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน….สู่การจ้างงานคนพิการอย่างมีศักดิ์ศรี
เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ประเทศไทยมี พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ พ.ศ. 2550 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 ในปี พ.ศ. 2556 ที่ให้บริษัทมีการจ้างงานคนพิการเป็นพนักงานสัดส่วน 100:1 หรือไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนฯตามค่าแรงขั้นต่ำ x 365 วัน หรือสนับสนุนอาชีพหรือจ้างงาน แต่เชื่อหรือไม่ว่า ในช่วงเวลาปี 2557 มีบริษัทส่งเงินเข้ากองทุนเป็นจำนวนมากถึง 2,703 ล้านบาท นั่นเท่ากับว่า มีคนพิการที่พลาดโอกาสที่จะมีงานทำถึง 24,690 คน
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในปี 2565 ประเทศไทยมีผู้พิการประมาณ 4.19 ล้านคน หรือร้อยละ 6.0 ของประชากรทั่วประเทศ และมีเด็กพิการ อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 17 ปี จำนวน 157,369 คน คิดเป็นร้อยละ 1.1 ของเด็กทั้งหมด หรือคิดเป็นร้อยละ 3.8 ของผู้พิการทั้งหมด โดยประมาณ 2 ใน 5 (ร้อยละ 39.6) ของเด็กพิการมีความลำบากหรือปัญหาสุขภาพซ้ำซ้อนมากกว่า 1 ประเภท และมีผู้พิการอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ทำงานมีร้อยละ 21.2 ในกลุ่มนี้เกือบครึ่ง (ร้อยละ 49.2) ทำงานในภาคเกษตรกรรม สำหรับผู้พิการที่ไม่ทำงาน ครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50.1) เนื่องจากป่วยหรือพิการไม่สามารถทำงานได้ รองลงมา คือ ยังเด็กหรือชรา (ร้อยละ 39.9)
จากปัญหาที่คนพิการที่ไม่สามารถหางานทำ และกลายเป็นภาระให้กับคนในครอบครัว โดยมีสาเหตุมาจากผู้พิการขาดโอกาสทางการศึกษา และอยู่ในพื้นที่ห่างไกล จึงทำให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้ร่วมกับมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม และสมาคมสร้างเสริมโอกาสและอาชีพคนพิการไทย(ส.อ.ค.) ขับเคลื่อนการจ้างงานคนพิการมาเป็นเวลา 10 ปีมาแล้ว จากเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน จนเป็นกลายเป็นเสียงให้องค์กรได้ตระหนักถึงและให้ความสำคัญกับการจ้างงานคนพิการให้เหมาะสมตามความรู้ความสามารถของคนพิการ และในปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นโครงการ “หุ้นส่วนขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน” จากเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน มาสู่การจ้างงานคนพิการอย่างยั่งยืน
นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2545 ทาง สสส.ได้ให้การสนับสนุนการจ้างงานคนพิการมาโดยตลอด และในปี 2546 ได้มีการทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่ง สสส.ให้ความสำคัญเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน เราสนับสนุนคนพิการในทุกๆมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ การส่งเสริมโอกาสการทำงาน เราให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาตนเอง แทนการสงเคราะห์แต่เป็นการส่งเสริมให้คนพิการได้มีงานทำ และเห็นศักยภาพที่แท้จริงของคนพิการ ปัจจุบันมีองค์การที่ทำงานร่วมกับ สสส.มากถึง 20-30 องค์กร และมีการสนับสนุนและส่งเสริมการทำงานตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยทำงาน จากการทำงานของภาคประชาสังคม ภาครัฐ และภาคเอกชน เป็นการขับเคลื่อนที่ทรงพลัง กว่า 400 บริษัทมีการสนับสนุนจากงานคนพิการอย่างต่อเนื่อง ตลอด 10 ปี สามารถสร้างโอกาสการทำงานมากถึง 50,000 โอกาสให้กับคนพิการทุกประเภท ทุกพื้นที่ ทุกระดับการศึกษา รวมรายได้กว่า 5,500 ล้านบาท ถึงมือผู้พิการโดยตรง บนความเชื่อที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีคุณค่าและศักดิ์ศรี สามารถพัฒนาตนเองได้ หากได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียม โดยไม่ใช่การสงเคราะห์ แต่คือการส่งเสริมและสนับสนุน
ด้าน นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการ สสส.กล่าวว่า ระบบทุนนิยมเป็นระบบที่เลียนแบบธรรมชาติที่มีการคัดเลือกคนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ในมุมของตนมองว่าระบบทุนนิยมแบบนี้จะไม่ยั่งยืน แต่เราสามารถทำได้ด้วยการทำให้ระบบทุนนิยมมีหัวใจ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนได้
สำหรับผู้พิการแล้วสามารถทำทุกอย่างได้ สามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับตนเองได้ ในสังคมไทยเรามีผู้พิการในวัยทำงานและเด็กที่พิการสามารถพัฒนาได้ โดยอยากให้สังคมเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อผู้พิการ และทำให้ผู้พิการรู้สึกได้ว่าว่า เขามีคุณค่า ชีวิตเขามีความหมาย และสร้างประสิทธิภาพให้กับผู้พิการ ซึ่งที่ผ่านมา เรามี ส.อ.ค. และภาคีเครือข่ายต่างๆเป็นจุดเชื่อมโยงและเปิดโอกาสให้ผู้พิการได้มีงานทำ ในอนาคต สสส.จะช่วยในการขับเคลื่อน และเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นพ.พงศ์เทพ กล่าว
นางสาวณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์(น้องธันย์) นักพูดสร้างแรงบันดาลใจ และนักสื่อสารด้านคนพิการ กล่าวว่า ในมุมของตนเองมองว่าการสร้างงานมีส่วนสำคัญมากๆ เหมือนเป็นการที่เราได้ช่วยเขาในระยะยาวและความยั่งยืนที่ดีให้สำหรับคนพิการ เพราะว่าเขาสามารถช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว ในทางอ้อมคือนอกจากเขาดูแลตัวเองได้แล้ว มีสุขภาวะทางร่างกาย จิตใจที่ดี ส่งผลให้เขาช่วยเหลือคนในครอบครัวได้ บางคนกลายเป็นผู้นำครอบครัว เป็นอะไรที่ค่อนข้างมีความสำคัญ และเป็นการช่วยเหลือที่มีความยั่งยืนอย่างแท้จริง
ในปัจจุบันสังคมค่อนข้างมีการพัฒนามากขึ้น ถ้าเทียบกับตอนที่ตนเป็นผู้พิการใหม่ๆ ตนรู้สึกว่ายังที่จำนวนที่น้อยอยู่ พอระยะเวลาผ่านไป 10 ปีมาแล้ว เพราะฉะนั้นมันมีองค์กรหลายๆองค์กรที่เข้าใจ และเห็นถึงความสำคัญของการจ้างงานคนพิการมากขึ้น เห็นองค์กรในประเทศไทยที่เปิดรับให้โอกาสคนพิการได้เข้าทำงาน หรือได้มีโอกาสจ้างงานคนพิการแต่ละที่ หรือในชุมชน หรือในพื้นที่ที่ไกลๆ รู้สึกว่ามีมากขึ้น และตนยังรู้สึกว่ามันไปต่อได้ เราคิดว่าน่าจะมีโอกาสขยายในปีต่อๆให้มากขึ้น และเข้าถึงคนพิการที่ไม่มีโอกาสได้รับการจ้างงาน
ทั้งนี้ นางสาวณิชชารีย์ มองว่า ในส่วนตัวคิดว่าภาครัฐเป็นกำลังหลักสำคัญในการขับเคลื่อนในเชิงนโยบายที่ทำให้ทุกๆองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจต่างๆได้เข้าถึงโอกาสในการจ้างงานคนพิการ และเห็นถึงคุณค่าในการให้โอกาสจ้างงานคนพิการให้มีงานทำ อาจจะมีการปรับรูปแบบนโยบาย รณรงค์ร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น องค์กรเอกชน หรือองค์กรอื่นๆ มาจับมือกันในเรื่องของโครงการจ้างงานคนพิการ ก็จะช่วยให้คนพิการมีโอกาส มีตำแหน่งมากขึ้น รวมถึงได้รับสวัสดิการต่างๆที่ดีขึ้นให้กับคนพิการ เป็นการเพิ่มพื้นที่สร้างคุณค่าให้กับคนพิการมากขึ้น
ปัจจุบันยังไม่มีแพลตฟอร์มอย่างเป็นทางการที่จะให้คนพิการเข้าถึงเรื่องการจ้างงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะอิงกับมูลนิธิ หรือเอ็นจีโอ ที่เป็นตัวกลางในการเปิดรับ หรือช่อทางออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ค ก็จะเป็นเพียงกลุ่มเล็กๆ ในภาพที่ตนอยากเห็นในอนาคตคือ อยากเห็นมีการเปิดแพลตฟอร์มที่เป็นทางการมากขึ้น และคนสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น และดูว่ามีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ในเรื่องนี้ค่อนข้างถือว่ามีความสำคัญเรื่องของความปลอดภัย นอกจากนี้รัฐบาลยังสามารถสนับสนุนในเรื่องของการเดินทาง เพราะถ้าคนพิการเดินทางได้ดีเขาจะรู้สึกว่าอยากกลับมาใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการขนส่งสาธารณะต่างๆที่สามารถรองรับกับผู้พิการได้ทุกประเภท ไม่จำเป็นเฉพาะวิลแชร์ อาจจะเป็นผู้พิการทางสายตา หรือการได้ยิน ซึ่งให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงการทำงานได้ และที่สำคัญอาจมีการปรับอาคาร สถานที่ให้ผู้พิการได้เดินทางไปได้และใช้ชีวิตทำงานได้ ซึ่งหากช่วยกันปรับเพื่อการขับเคลื่อนไปได้ด้วยกัน ทำให้การจ้างงานคนพิการมีความยั่งยืน และตนคิดว่ามันสามารถขยายไปได้เต็ม 100%
“ส่วนตัวผู้พิการควรมีการพัฒนาทักษะทางด้านสายอาชีพพื้นฐาน รวมทั้งเรื่องของการสื่อสารประสานงานในการทำงาน ในรูปแบบของการเอาเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อช่วยให้เขาได้เรียนรู้มาประกอบใช้กับการทำงานได้ แต่ถ้าเป็นรูปแบบการทำงานเฉพาะด้านก็อยากให้มีศูนย์ที่เฉพาะด้านที่จะส่งเสริมคนพิการและให้เขาได้ทำงานได้เลย ทำให้มีโอกาสในการจ้างงานและทำให้เขาทำงานได้ยาวนานมากขึ้น” นางสาวณิชชารีย์ กล่าวสรุป
You must be logged in to post a comment Login