- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 14 hours ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 2 days ago
- อย่าไปอินPosted 5 days ago
- ปีดับคนดังPosted 6 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 7 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
เปิดใจแพทย์ผู้มีมุมมองและแนวคิดการขับเคลื่อนงานอย่างบูรณาการ
เปิดใจแพทย์ผู้มีมุมมองและแนวคิดการขับเคลื่อนงานอย่างบูรณาการ เชื่อมโยงทุกหน่วยงาน เพื่อเป็นต้นแบบในการป้องกันแก้ปัญหานโยบายระดับชาติอย่างยั่งยืน
“การขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นการบูรณาการในเขตพื้นที่เทศบาลทั่วประเทศ เชื่อมโยงทุกหน่วยงานของสังคมในการดูแลวัยรุ่นอย่างครบถ้วน เพื่อเป็นต้นแบบในการป้องกันแก้ปัญหา”
ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ เป็นท่านหนึ่งในผู้ได้รับรางวัล “มหิดลทยากร” มีผลงานที่สร้างความโดดเด่นในด้านต่าง ๆ อาทิ ผลงานวิจัยด้านพิษวิทยา เรื่องสารตะกั่วในกลุ่มเด็กซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกาย และอันตรายต่อสติปัญญาของเด็ก จึงเป็นผลงานวิจัยที่สนับสนุนรัฐบาลให้ตระหนักเรื่องพิษภัยของสารตะกั่วและมีการรณรงค์ให้ใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว การศึกษาวิจัยเรื่องวัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบบีมาประยุกต์ใช้โดยนำวัคซีนของผู้ใหญ่มาแบ่งเป็นขนาดที่ใช้ในเด็ก ทำให้ราคาการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีมีราคาที่ถูกลง รวมทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขให้กับประเทศอีกด้วย
ตลอดระยะการทำงานที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ ได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารในหลายตำแหน่งในหลายระดับ ระดับคณะฯ เป็นผู้ช่วยคณบดีฝ่ายต่าง ๆ รองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ และฝ่ายสื่อสารองค์กร รวมทั้งผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ ท่านเป็นผู้ที่มีแนวคิดในการแก้ปัญหาให้กับคนไข้โรคมะเร็งที่มารับยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลรามาธิบดีไม่ตรงตามกำหนดนัด จากสาเหตุคนไข้ล้นเตียงไม่พอ ทำให้ได้รับยาล่าช้า ได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการจากระบบผู้ป่วยในมาเป็นผู้ป่วยนอกแบบ Short stay service ทำให้ 1 เตียงแบบผู้ป่วยในรับแบบผู้ป่วยนอกได้มากขึ้น คนไข้ได้รับยาเคมีบำบัดตรงกำหนดเวลา รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายและสะดวกลดขั้นตอน โดยโครงการดังกล่าวได้รับรางวัลดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และขยายเป็นการพัฒนาระบบการบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (Day Case Surgery) รวมทั้งการปรับสถานที่หอผู้ป่วยวิกฤตของศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ให้เป็นห้องเดี่ยวเพื่อป้องกันการติดเชื้อ สร้างบรรยากาศที่ดี มีสวนหย่อม เสียงเพลง เสียงนกร้อง เพื่อให้คนไข้ได้มีบรรยากาศเอื้อต่อการรักษาพยาบาล ทำให้หายเร็วขึ้น จนได้รับรางวัล Healing Environment Award จากสถาบันรับรองและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล (สรพ.) ในปี 2552
นอกจากนี้ ท่านยังเล็งเห็นถึงความสำคัญในฐานะของหน่วยงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพ จึงได้ผลิตและพัฒนารายการสื่อสาระความรู้เรื่องสุขภาพ รายการ RAMA CHANEL ที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย ในปัจจุบันเป็นช่องโทรทัศน์เพื่อสุขภาพดี 24 ชั่วโมง ภายใต้แนวคิดที่ว่า ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์จากเวลาระหว่างการนั่งรอตรวจ และทำอย่างไรจะสามารถสื่อสารงานวิชาการเกี่ยวกับการแพทย์ให้เข้าใจง่าย
ในวาระดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ท่านได้พัฒนาสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย สู่การเป็น Eco University และได้รับการจัดอันดับที่ 1 ของประเทศไทย 2 ปีซ้อน จาก UI Green Metric University World Ranking โดยอันดับของเอเชียเลื่อนจากที่ 11 เป็นอันดับ 4 และอันดับโลกเลื่อนจากที่ 34 เป็นอันดับที่ 31 ในปี 2555 และ 2556 ตามลำดับ รวมทั้งเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่แห่งแรกในประเทศไทย
ด้วยปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล “Wisdom of the Land” ศาสตราจารย์ นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ในวาระนั้นมีแนวคิดว่า ปัญญาของแผ่นดินต้องร่วมกันช่วยแก้ปัญหาสุขภาพระดับชาติ 2 เรื่องสำคัญ คือ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและผู้สูงวัย จึงมอบหมายให้ท่านในฐานะรองอธิการบดี จัดตั้งกลุ่ม Cluster Research จาก 7 คณะฯ มาร่วมกันทำงานวิจัย เรื่อง มหิดลโมเดล : การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น แบบบูรณาการในพื้นที่เดียวกัน (area based) เนื่องจากเป็นปัญหาสังคมเชิงซ้อน งานวิจัยนี้ได้ดูแลพื้นที่อย่างบูรณาการ เชื่อมโยงกันระหว่างโรงเรียน โรงพยาบาล ชุมชนและครอบครัว ซึ่งขณะที่ทำงานวิจัยดังกล่าว ได้ต้นแบบเป็นแนวปฏิบัติ สอดรับกับพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559
ปัจจุบัน ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ ได้เกษียณอายุแล้ว ท่านยังคงปฏิบัติงานต่อเนื่องเป็นประธานประสานยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ และยังเป็นรองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ตั้งแต่ 2565 โดยเฉพาะเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าที่เกิดวิกฤติการระบาดในกลุ่มเด็กและเยาวชน ในการทำงานครั้งนี้ต้องอาศัยเครือข่ายแพทย์และทีมนักวิจัยร่วมกับภาคประชาสังคมเพื่อหาแนวทางในการป้องกันปกป้องเยาวชนจากพิษภัยบุหรี่ไฟฟ้า
ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ ได้กล่าวเพิ่มเติม โดยขอขอบคุณสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ในพระราชูปถัมภ์ ที่มองเห็นคุณค่าและความสำคัญในการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นปฏิบัติงานจนกระทั่งปัจจุบันหลังจากเกษียณอายุ รางวัล “มหิดลทยากร” นับเป็นเกียรติยศ และเป็นขวัญและกำลังใจให้กับท่านและศิษย์เก่าที่จบจากมหิดลทุกส่วนงาน ให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นมหิดล เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานให้เกิดกับประโยชน์สุขส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง ตามพระปณิธานของพระราชบิดาสืบไป
You must be logged in to post a comment Login