วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

เคล็ดลับในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ ฟื้นตัวไว จิตใจแข็งแรง

On March 18, 2024

จากข้อมูลสถิติขององค์การอนามัยโลก พบว่ามีคนเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นจำนวนถึง 7.2 ล้านคน หรือคิดเป็น 12.2% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด สำหรับอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ในประเทศไทยประมาณปีละ 37,000 ราย เสียชีวิตชั่วโมงละ 2 คน ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในประเทศไทย จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าที่อื่น ประมาณ 4-6 เท่า

นี่คงทำให้เห็นแล้วว่าโรคหัวใจเป็นโรคร้ายแรง ที่เป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของโรค ที่ทุกคนต้องคอยเฝ้าระวัง และใส่ใจสุขภาพของตนเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงที่ขะเป็นโรคหัวใจได้ แต่ด้วยความที่เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้ การเฝ้าระวังอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ

ดังนั้น หากพบว่ามีคนที่รักหรือว่าตนเอง เจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนด้วยการผ่าตัดหัวใจ และหลังจากผ่าตัดแล้ว ก็ต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ซึ่งในบทความนี้ เราจะพาไปดูวิธีดูแลผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการผ่าตัดโรคหัวใจมาก จะมีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย

การผ่าตัดหัวใจใช้รักษาโรคหัวใจชนิดใดได้บ้าง

การผ่าตัดหัวใจเป็นการรักษาโรคหัวใจหลายชนิด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจรั่ว และโรคหัวใจวาย เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว การผ่าตัดดังกล่าวจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และยืดอายุขัยของผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม หลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยก็ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ฟื้นตัวไวและมีจิตใจที่แข็งแรง

เคล็ดลับในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ

ในส่วนของการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคหัวใจ มีเคล็ดลับดังต่อไปนี้

  1. ให้ความสำคัญกับการพักผ่อน ผู้ป่วยควรได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวจากการผ่าตัด นอนหลับให้เพียงพอในแต่ละวัน และหลีกเลี่ยงการออกแรงมากเกินไป
  2. ควบคุมอาหารการกิน โภชนาการที่ดีมีส่วนสำคัญในการฟื้นตัว ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และรสจัด
  3. ส่งเสริมการออกกำลังกาย เมื่อร่างกายฟื้นตัวได้ระดับหนึ่ง ควรเริ่มออกกำลังกายแบบเบาๆ ตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ปอด และระบบไหลเวียนโลหิต
  4. ดูแลสภาพจิตใจ การผ่าตัดนั้นมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจเป็นอย่างมาก ควรให้กำลังใจผู้ป่วยอยู่เสมอ สนับสนุนให้ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ และผ่อนคลายความตึงเครียด
  5. ติดตามการรักษา นำผู้ป่วยไปพบแพทย์ตามนัด รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ และแจ้งแพทย์หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น
  6. พูดคุยกับผู้ป่วยอย่างจริงใจ รับฟังความรู้สึก ความกังวลใจ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย เพื่อให้เขามีกำลังใจ
  7. ปรับสภาพบ้านให้เหมาะสม เช่น จัดให้มีราวจับตามทางเดิน ห้องน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย

การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความใส่ใจอย่างจริงจัง แต่ผู้ดูแลเองก็ต้องไม่ละเลยสุขภาพร่างกายและจิตใจของตนเองด้วย การออกกำลังกาย พักผ่อนเพียงพอ และรักษาสมดุลชีวิตก็มีความจำเป็นเช่นกัน เพราะการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ทั้งผู้ดูแลและผู้ป่วยต้องมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงด้วยกันทั้งคู่


You must be logged in to post a comment Login