วันพฤหัสที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

สสส.จับมือ สคล.เปิดตัวแคมเปญ“ขอบคุณ ที่ไม่ดื่มไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ” ชวนคนไทยงดดื่ม-สูบ

On March 20, 2024

จากกรณี ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ในกลุ่ม แจ้งข่าวปากช่องไทม์ FC แชร์ภาพใบเสร็จรับเงินค่าปรับของตำรวจ ที่ระบุข้อหาว่า ดื่มสุราในที่สาธารณะ โดนปรับเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท พร้อมเขียนแคปชันว่า “สอบถามครับ ผมมีความผิดจริงใช่ไหมครับ ที่กินเบียร์หน้าเซเว่น สถานที่เกิดเหตุที่เซเว่นหน้าโรงทอกระสอบปากช่อง ขอย้ำว่าไม่ใช่สถานที่ราชการ โรงเรียน วัด สวนสาธารณะ หรือปั๊มน้ำมัน ผมถูกรวบตัวไปเสียค่าปรับ และยังอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ซื้อเบียร์ในเซเว่นแล้วเปิดกินหน้าเซเว่น …..

จากกรณีตัวอย่างข้างต้น ทำให้เห็นว่ามีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่รู้ว่ารัฐบาลได้ออกกฎหมาย 6 พื้นที่สาธารณะปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่หรือแม้แต่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ  ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และเครือข่ายองค์กรงดเหล้า(สคล.) ได้จัดแคมเปญ”ขอบคุณที่ไม่ดื่มในที่สาธารณะ” เพื่อร่วมรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้คนทุกเพศทุกวัย “สร้างสุขสาธารณะร่วมกัน” โดยได้กำหนด 6 พื้นที่สาธารณะปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่

สำหรับพื้นที่อุทยานแห่งชาติ คือพื้นที่ตัวอย่าง ที่มีกฎระเบียบ ตามกฎหมายใหม่ว่าด้วยการเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2563 บุคคลซึ่งเข้าไปในอุทยานต้องไม่ทำการจำหน่ายหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ 2562 ระวังโทษ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการ สำนักอุทยานแห่งชาติ กล่าวว่า การบังคับใช้กฎหมายและการให้มีองค์กรอื่นเข้าร่วมรณรงค์ในการที่จะงดดื่มและสูบบุหรี่ ดังนั้นกรมอุทยานแห่งชาติ ได้มี พ.ร.บ.เป็นข้อกำหนดอยู่แล้ว แต่การบังคับใช้นั้นต้องมีการเผยแพร่ไปยังพื้นที่สาธารณะทั่วไป ดังนั้นการที่อุทยานได้ สสส.มาร่วมณรงค์จะมาเป็นกระบอกเสียงทำให้มีช่องทางในการสื่อสารในการใช้พื้นที่สาธารณะ

ในส่วนของการดื่มเป็นต้นเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นพอมีการห้ามดื่ม/สูบ ทำให้พื้นที่อุทยานมีการบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น รับลูกได้ง่ายขึ้นด้วย และที่สำคัญเราไม่ได้รังเกียจคนดื่ม/สูบ เพราะในกรณีพื้นอุทยานหรือพื้นที่สาธารณะ เราขอสงวนพื้นที่ไว้ให้กับเด็กๆและเยาวชน ผู้สูงอายุ นักท่องเที่ยว ซึ่งทุกคนไปหาพื้นที่ที่สงบ ซึ่งควรเป็นที่ที่ให้กฎหมายได้จริง ดังนั้นพื้นที่อุทยานชาติตนเชื่อได้เป็นพื้นที่แรกที่ทำได้จริง ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวเห็นป้ายแล้วจะรู้จะไม่มีการนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป แต่อาจจะมีบ้างมีแอบเข้าไป ซึ่งขั้นต้นเจ้าหน้าที่สามารถมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้เลย แต่ถ้านักท่องเที่ยวคนใดมีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อผู้อื่นเจ้าหน้าที่จะเชิญออกไป จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าพื้นที่อุทยานแห่งชาติมีการเปรียบเทียบปรับน้อยมาก กฎดังกล่าวส่งผลให้ลดการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างชัดเจน ด้วยพื้นที่อุทยานมีความลาดชันจะทำให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างทางที่ออกจากอุทยาน ปัจจุบันจะเห็นน้อยมาก

จากตัวอย่างของพื้นที่อุทยานแห่งชาติที่กำหนดพื้นที่ห้ามดื่ม/สูบ ช่วยลดปัญหาต่างๆได้มากขึ้นโดยเฉพาะอุบัติเหตุได้แล้วนั้น  ด้าน นายแพทย์พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า คนไทยได้ ผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ถือเป็น ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอันดับต้นๆ โดยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดโรคและการบาดเจ็บกว่า 200 ชนิด ทั่วโลกมีคนตาย ปีละ 3 ล้านคน และตายจากบุหรี่ปีละ 8 ล้านคน สสส. มุ่งเน้นขับเคลื่อนการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย โดยความร่วมมือกับหน่วยงานองค์กรที่เป็นเจ้าของสถานที่ ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามกฎหมายห้ามสูบ ห้ามดื่ม เช่น สถานพยาบาล สถานศึกษา ศาสนาสถาน สวนสาธารณะ ตลาด ถนนคนเดิน สถานที่แข่งขันกีฬา

“จากการสำรวจทางออนไลน์ของ Buzzebees Panel เมื่อเดือน ต.ค. ปี 2565 จากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน อายุ 18-40 ปี ยังพบการดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่สาธารณะถึง 28% ก่อให้เกิดปัญหาความรุนแรง การทะเลาะวิวาท การก่ออาชญากรรม นำไปสู่ความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน สสส. จึงเร่งรณรงค์ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตามกฎหมาย โดยจัดทำสื่อรณรงค์แคมเปญ “ขอบคุณ ที่ไม่ดื่มไม่สูบในที่สาธารณะ” ผ่านช่องทางสื่อหลักและสื่อออนไลน์เพื่อเสริมสร้างค่านิยมและจิตสำนึกสาธารณะร่วมกัน และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อการท่องเที่ยวของประเทศพร้อมส่งต่อชุดสี่อรณรงค์ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบนำไปประกอบการการบังคับใช้กฎหมายต่อไป”

สำหรับแคมเปญ “ขอบคุณที่ไม่ดื่มในที่สาธารณะ” นั้นต้องการสื่อสารให้เห็นว่าการมีพื้นที่สาธารณะ โดยมีกฎหมาย และกติกาสังคมจะบอกว่ามีพื้นที่สาธารณะที่ไม่สูบ/ดื่มในที่สาธารณะที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของคนรอบข้างและตัวของคนที่ดื่ม/สูบด้วย ซึ่ง สสส.ได้มีการทำงานร่วมกันกับ สคล.ในการทำพื้นที่ต้นแบบ เช่น ชายหาดบางแสน อุทยานแห่งชาติ ตอนนี้พื้นที่ต้นแบบยังไม่สามารถกระจายไปได้ทั่วประเทศ จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อมวลชน ประชาชนในการที่จะบอกว่าเราต้องมีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่สาธารระที่ปลอดภัยสำหรับคนทั่วไป เป็นพื้นที่สาธารณะที่ทำให้ทุกคนมีสุขภาพดี ในรูปแบบที่เราจะไม่ดื่ม/สูบในที่สาธารณะ และไม่ทำเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีส่งต่อให้กับเด็กและเยาวชน

นายธีระ วัชรปราณี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า พื้นที่สาธารณะที่มีประชาชนหลากหลายวัยมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน แยกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1.สถานที่สวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจ 2.สถานที่เล่นกีฬาแข่งขันกีฬา 3.สถานที่ธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติ ภูเขาน้ำตก ทะเล 4.สถานที่จัดงานทางประเพณีวัฒนธรรม 5.สถานที่ตลาดนัด ตลาดสด ถนนคนเดิน ลานดนตรี 6. ศาสนสถาน สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานที่ราชการโดยทั้ง 6 ประเภท มีบางส่วนมีกฎหมายควบคุมแล้ว และบางส่วนเป็นสถานที่เอกชนที่เป็นข้อยกเว้น ซึ่งจากการดำเนินงานของเครือข่ายฯ พบว่า พื้นที่ที่มีการควบคุมให้ไม่ดื่มไม่สูบแล้วมีคนไปใช้พื้นที่มากขึ้น โดยเฉพาะในงานประเพณีเทศกาล งานดนตรี งานกีฬา ที่จะมีการสปอนเซอร์จากภาคธุรกิจ แต่เมื่อเจ้าภาพจัดงานปลอดเหล้าเบียร์บุหรี่แล้ว กลับพบว่าไม่ได้ทำให้คนมาเที่ยวลดลง กลับมีรายได้มากขึ้นด้วย ทั้งนี้ เครือข่ายงดเหล้าได้ทำโพลล์สอบถามความคิดเห็นนักท่องเที่ยวชาวไทยวันที่ 15-17 มีค.นี้ จำนวน 711 ชุด จาก 28 อุทยานฯ พบว่า ร้อยละ 74 ทราบว่ามีระเบียบห้าม ร้อยละ 87 เห็นด้วยกับนโยบายนี้ โดยที่ร้อยละ13 ไม่เห็นด้วยเพราะเกี่ยวกับเรื่องสิทธิส่วนบุคคล และร้อยละ 70 ว่านโยบายนี้ดีอยู่แล้วไม่ต้องปรับปรุง ส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติ สำรวจ 104 ชุด พบว่า เห็นด้วยกับนโยบายนี้ ถึงร้อยละ 89 และดีอยู่แล้วไม่ต้องแก้ไข ถึงร้อยละ 84 ทางเครือข่ายฯ ได้เปิดเพจเฟซบุ๊ก Healthy Spaces ขอบคุณที่ไม่ดื่มไม่ที่สาธารณะ เพื่อประชาสัมพันธ์และรับข้อร้องเรียนชื่อ เพื่อเป็นสื่อกลางกิจกรรมและรับข้อร้องเรียนต่างๆ ด้วย


You must be logged in to post a comment Login