- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 8 hours ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 2 days ago
- อย่าไปอินPosted 5 days ago
- ปีดับคนดังPosted 5 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 7 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) อำเภอแหลมสิงห์ ต้นแบบขจัดวิกฤตบ่อกุ้งร้าง สู่การพัฒนาอาชีพแบบยั่งยืน
จากการติดตามโครงการอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข โดยใช้แนวทางเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง(SEDZ : Sufficiency Economy Development Zones) การส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการท่องเที่ยว อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
สืบเนื่องจากสภาพปัญหาความยากจนของคนในพื้นที่ตำบลบางสระเก้า มีรายได้ลดน้อยลงจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรตามธรรมชาติในพื้นที่ประกอบกับปัญหาพื้นที่ทำกินดั้งเดิมของชาวบ้านทับซ้อนกับพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งมีกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติและมติครม.ป่าชายเลนอนุรักษ์ 2543 ประกอบกับการประกาศ คสช.ที่ 64/2557 เกี่ยวกับการปราบปรามหยุดยั้งการบุกรุกทำลายป่า ให้ดำเนินการกับผู้บุกรุกป่าชายเลน ชาวบ้านตกเป็นผู้ต้องหาเป็นจำนวนมาก ทั้งไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ทำกินในพื้นที่นั้นได้
ปัจจุบันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว นายวิสุทธิ์ ประกอบความดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีและ นางสาวรัศมินท์ พฤกษาทร นายอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ได้หารือกับทาง ผอ.สำนักทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 ระยอง ถึงแนวทางช่วยเหลือชาวบ้าน
นางสาวรัศมินท์ พฤกษทร นายอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เปิดเผยว่า “การขับเคลื่อนแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ จังหวัดจันทบุรี ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) ได้ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 408 ครัวเรือน ได้ดำเนินกิจกรรมจัดพิธีทอดผ้าป่าระดมทุนจัดตั้งกองทุนและจัดหางบประมาณในการจัดหาเครื่องจักรกลเพื่อใช้ปรับปรุงพัฒนาบ่อกุ้งและงบประมาณในการติดตามประเมินผลและขยายพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มเติม
แนวทางการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข เพื่อให้ชาวบ้านทำกินบนพื้นที่ได้ นั้น สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ได้นำที่ดินเข้าร่วมโครงการเพื่อจะพัฒนาบ่อกุ้งให้มีประสิทธิภาพต่อการประกอบอาชีพและทำมาหากินได้โดยไม่บุกรุกป่าชายเลนเพิ่ม มีการปักหมุดพื้นที่ที่เข้าโครงการทุกแปลงตามจริง ทั้งบูรณาการร่วมกันกับส่วนราชการในพื้นที่ดำเนินการช่วยเหลือชาวบ้านโดยการฝึกอาชีพ แจกพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น พันธุ์ปูทะเล พันธุ์ปลา พันธุ์กุ้ง โดยกรมประมง
ส่วนแผนการขับเคลื่อนงานต่อไปของอำเภอแหลมสิงห์ ได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาฝีมือชาวบ้าน ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าผลผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมอาหารปลอดภัยในตลาดสี่มุมเมรุ ตำบลบางสระเก้า ส่งเสริมการตลาด และขยายพื้นที่เพื่อเข้าไปพัฒนาขุดปรับพื้นที่บ่อกุ้งร้างในแปลงชาวบ้านเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ยังส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยมีโฮมสเตย์ที่พัฒนาจากบ่อกุ้งร้างรองรับกว่า 30 แห่ง ไฮไลต์คือการล่องแพเปียกดูเหยี่ยวแดง “โฮมสเตย์ กินปู ดูเหยี่ยว” ชูจุดเด่นบุฟเฟต์ปูทะเลไม่อั้น เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน อย่างไรก็ตามอำเภอแหลมสิงห์ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอีกด้วย
You must be logged in to post a comment Login