- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 1 day ago
- อย่าไปอินPosted 4 days ago
- ปีดับคนดังPosted 5 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 6 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
อปท.ทั่วไทยขานรับสร้างชุมชนปลอดบุหรี่ สกัดนักสูบวัยใส
อปท.ทั่วไทย Kick Off ชุมชนท้องถิ่นปลอดบุหรี่ สร้างสังคม ลด ละ เลิกบุหรี่ หนุนสร้างความรู้ให้คนในชุมชมหวังสกัดนักสูบบุหรี่ไฟฟ้าวัยใส หลังพบเยาวชนตกเป็นเป้าหมายหลักทางการตลาดของบุหรี่ไฟฟ้า สสส. จับมือ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่หนุนความรู้ด้านวิชาการช่วย อปท.
จากการทำงานของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ พบว่าบริษัทผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้ามีเป้าหมายทางการตลาดคือ กลุ่มเยาวชนที่จะมาเป็นนักสูบหน้าใหม่ ด้วยรูปลักษณ์ของบุหรี่ไฟฟ้าที่มีหน้าตาน่ารัก ทันสมัย ประกอบรสชาติของน้ำยาที่มีกลิ่นให้เลือกมากกว่า 16,000 รสชาติ ซึ่งอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าได้รุกคืบเข้าไปในกลุ่มเด็กประถมปลาย โดยบางกรณีกลับมีผู้ปกครองสนับสนุนให้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพราะคิดว่าไม่มีอันตรายหรืออันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน ดังนั้นการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) เขามาร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นปลอดบุหรี่ สร้างสังคม ลด ละ เลิกบุหรี่ ลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในระดับชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ได้มีสุขภาพดีปลอดภัยจากภัยร้ายของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า จากผลการสำรวจของการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบในเยาวชนไทย (Global Youth Tobacco Survey : GYTS) ปี 2565 พบว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็ก และเยาวชนเพิ่มสูงขึ้นก้าวกระโดดจาก 3.3% ในปี 2558 เพิ่มเป็น 17.6% ในปี 2565 เพิ่มขึ้นถึง 5.3 เท่า การระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในเด็ก และเยาวชนที่ไม่เคยสูบบุหรี่ จะกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหม่ เพราะเด็กที่ติดบุหรี่ไฟฟ้า โอกาสจะเลิกสูบได้ยาก เนื่องด้วยบุหรี่ไฟฟ้าเสพติดหนักกว่าติดบุหรี่ธรรมดา อีกทั้งมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ระบุว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายไม่น้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา โดยเฉพาะหลักฐานที่บ่งว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เป็นมะเร็งได้
นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้หญิงไทยมีการสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากกว่า 10% เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่สูบบุหรี่มวน ส่วนเด็กที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าเกือบครึ่งจะเป็นคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อน ทั้งนี้ยังไม่มีกระบวนการทางกฎหมายบังคับเด็กห้ามสูบบุหรี่ไฟฟ้า และจากงานวิจัยพบว่า การตรวจเนื้อเยื่อของคนที่สูบบุหรี่ กับบุหรี่ไฟฟ้า ไม่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นอันตรายของควันบุหรี่จึงเป็นที่มาของการห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่ต่างๆ
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลรุนแรง ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสูงภาพสูง โดยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด 2-4 เท่า เพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งปอด 25 เท่า ข้อมูลจากรายงานภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทยปี 2562 โดยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ พบว่า บุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญต่อการเสียชีวิตในประชากรไทย 15.6% โดยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากที่สุด 22,561 คน คิดเป็น 26.1%
จุดเน้นในการดำเนินงานควบคุมยาสูบของ สสส. คือการพัฒนาศักยภาพเครือข่าย ทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน ครอบครัว ในการดำเนินงานควบคุมยาสูบ โดยในระยะที่ผ่านมา สสส. ได้สนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นดำเนินงานดูแลสุขภาพชุมชน ควบคุมยาสูบ สารเสพติด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน และได้สนับสนุนมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ดำเนินโครงการพัฒนาสมรรถนะนักขับเคลื่อนนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบระดับท้องถิ่น
ทั้งนี้การให้ท้องถิ่นเข้ามาทำกิจกรรม อปท.ปลอดบุหรี่ ด้วยการสร้างความรู้ให้กับประชาชน จำกัดการพื้นที่การสูบบุหรี่ จะเป็นการจัดการที่ต้นทางได้ดีกว่าการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายที่สูง ที่ผ่านมาแนวโน้มของคนสูบบุหรี่ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันเหลืออยู่ที่ 17.4% และเพื่อให้จำนวนนักสูบลดลงจึงได้มีการกำหนดแนวทางที่ภาคีเครือข่าต้องทำคือ 1. การป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่ 2. ลดจำนวนนักสูบหน้าเดิม 3. สร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการสูบบุหรี่ และ 4. พัฒนาศักยภาพของคนทำงาน
นพ.พิศิษฐ์ ศรีประเสริฐ กรรมการกองทุน สสส. และ กรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 กล่าวว่า สสส. ดำเนินงานขับเคลื่อนงานตำบลสุขภาวะในประเด็นการควบคุมการบริโภคยาสูบตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันมี อปท. สะสมเป็นจำนวน 1,794 แห่งทั่วประเทศ โดยแผนสุขภาวะชุมชนมุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ ใน 7 แนวทางคือ 1) รณรงค์ทุกระดับ สร้างบุคคลต้นแบบจากผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่เลิกบุหรี่ ต้นแบบครอบครัว ลด ละ เลิก สร้างอาสาสมัคร เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 2)จัดสภาพแวดล้อม เช่น ร้านค้าปลอดบุหรี่ สร้างเครือข่ายสถานบริการปลอดบุหรี่ 3) สร้างกติกาหรือมาตรการทางสังคม 4) สร้างมาตรการขององค์กร กลุ่มทางสังคม หน่วยงาน เช่น ที่ทำงานปลอดบุหรี่ อปท.ปลอดบุหรี่ ครัวเรือนปลอดบุหรี่ 5) บังคับใช้กฎหมายการควบคุมยาสูบ 6) เสริมทักษะบุคคลครอบครัว พัฒนาหลักสูตร ศูนย์ฝึกอาชีพ ให้ห่างไกลจากบุหรี่ และ 7) จัดตั้งศูนย์บำบัด และฟื้นฟูในโรงพยาบาลชุมชน รพสต. พัฒนาหมอพื้นบ้าน อสม. กลุ่มสมุนไพร นวดกดจุด สู่การลด ละ เลิก สร้างค่านิยมไม่สูบบุหรี่ตั้งแต่ระดับชุมชน
นายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม หนึ่งใน อปท.ที่ทำงานชุมชนปลอดบุหรี่ กล่าวว่า สสส.สนับสนุนองค์ความรู้ และแนวทางการทำงานชุมชนปลอดบุหรี่ โดยเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้ดำเนินงานชุมชนปลอดบุหรี่ 5 มาตรการ 1) นโยบายในการควบคุมบริโภคยาสูบ 2) จัดสถานที่เขตปลอดบุหรี่ ติดสัญลักษณ์พื้นที่ห้ามสูบ เฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจ เตือน 3) จัดกิจกรรมให้ความรู้และรณรงค์ 4) จัดทำแผนการดำเนินงาน กำหนดบทบาทการทำงาน และผู้รับผิดชอบ 5) สนับสนุนให้เกิดการเลิกบุหรี่ เกิดระบบส่งต่อไปยังสถานบริการฟื้นฟู หรือคลินิกปลอดบุหรี่ จากมาตรการทั้งหมดทำให้ปัจจุบันเกิดบุคคลต้นแบบกว่า 60 คน บ้านปลอดบุหรี่ 2,307 หลัง ชุมชนต้นแบบ 4 ชุมชน ร้านค้าปลอดบุหรี่ 305 ร้าน มีตาสับปะรด คอยสอดส่องดูแล 775 คน มี อสม. และ อพปร. ที่คอยเฝ้าระวัง ป้องกันปัญหาบุหรี่ และยาสูบอื่นๆ กว่า 850 คน
นายภาคิน กล่าวว่า สำหรับบุหรี่ไฟฟ้านั้นเราไม่สามารถไปตรวจสอบได้ว่าพื้นที่ไหนมีการสูบ เพราะไม่เหมือนกับการสูบบุหรี่ที่จะเหลือก้นบุหรี่ทิ้งไว้ จึงได้มีการพูดคุยกันว่าจุดนี้เป็นจุดที่ท้าทาย โดยเริ่มจากหอพักที่มีพื้นที่มหาสารคามมีหอพักมากกว่า 100 แห่งทางพื้นที่ได้มีกรคุยกับเจ้าของหอพักเพื่อทำหอพักปลอดบุหรี่ การทำงานจึงต้องเริ่มเจาะลึกไปตามแนวทางการทำงาน ซึ่งเราทำมาแล้วประมาณ 2 ปี
ส่วนเรื่องปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่พบว่าเด็กระดับประถมปลายประมาณ ป.5-6 มีการสูบบุหรี่ไฟฟ้ากันแล้ว ได้มีการตรวจจับ และได้เรียกผู้ปกครองมาพูดคุย และแจ้งให้ผู้ปกครองรับทราบ เป็นจุดเริ่มต้น ที่จะเป็นเกราะป้องกันชีวิต ส่วนเด็กมัธยมและมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ต้องยอมรับว่ามีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าค่อนข้างเยอะ คนสูบจะเป็นเรื่องของแฟชั่นและไม่ได้ตระหนักรู้ถึงภัยของบุหรี่ไฟฟ้า เพราะยังไม่มีการส่งเสริมเรื่องของข้อมูลข่าวสารที่ลงลึกให้เขาเห็นถึงปัญหาสุขภาพ ซึ่งการแนะนำต้องส่งเสริมให้ความรู้และองค์กร สถาบันการศึกษาเป็นแม่ข่ายที่เราต้องให้การช่วยเหลือเชื่อมโยงกับเด็กนักศึกษาให้มากขึ้น หากให้ อปท.ทำอย่างเดียวก็ไม่เข้าถึงทั้งหมด ต้องให้เจ้าขององค์กร หรือสถาบันเข้ามาร่วมด้วยโดยเฉพาะคณะต่างๆ โรงเรียนต่างๆมาเป็นภาคีเครือข่ายนำความรู้ และมีเทศบาลเข้าไปช่วยในการให้ความรู้และทุกคนระมัดระวังเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าซึ่งเป็นภัยเงียบที่ค่อนข้างรุนแรงกว่าบุหรี่ปกติที่สูบอยู่มาก
ปัญหาการใช้บุหรี่ไฟฟ้าคนในชุมชนยังไม่ค่อยเยอะแต่ในส่วนของนักศึกษามีค่อนข้างเยอะ ในกลุ่มประถมคาดว่ายังมีไม่มากนัก ทั้งนี้การทำงานจะมีการให้ความรู้ พร้อมมีแผ่นป้ายติดพื้นที่ปลอดบุหรี่ การประชาสัมพันธ์ สร้างกลุ่มครอบครัวปลอดบุหรี่ คนต้นแบบปลอดบุหรี่ เพื่อให้คนในชุมชนรับทราบและในอนาคตจะมีเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้าเข้าไปด้วย ซึ่งจะเป็นการทำงานเชิงรุกให้มากขึ้น
“ส่วนเรื่องของร้านค้าปลอดบุหรี่ ทาง อปท.ได้รวบรวมทำร้านค้าปลอดบุหรี่ได้ประมาณ 305 ร้านค้าจะไม่ขายบุหรี่ และไม่มีการแยกบุหรี่ขาย ส่วนร้านสะดวกซื้อมีกฎหมายควบคุมอยู่แล้ว การพูดจาและเข้าถึงนโยบายเป็นไปได้ยากจึงอยากจะฝากไปถึงภาครัฐที่มีศักยภาพในการพูดคุย จากเมื่อก่อนขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่เดี๋ยวนี้จำกัดเวลาการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ และสิ่งที่เห็นในปัจจุบันมันเปลี่ยนรูปแบบไปขายออนไลน์ที่สามารถสั่งซื้อได้ตลอดซึ่งเป็นปัญหาไม่ใช่เรื่องของร้านสะดวกซื้อแต่อย่างเดียวแล้ว เป็นเรื่องที่ประชาชนสามารถโทรสั่งมาส่งได้ถึงที่ เป็นเรื่องภาพใหญ่ที่จะต้องทำให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดความรุนแรงในอนาคต”นายภาคิน กล่าว
อปท.ปลอดบุหรี่ เป็นอีกก้าวหนึ่งของภาครัฐที่ให้ความสำคัญของปัญหาบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ที่จะช่วยสกัดการเพิ่มจำนวนของนักสูบหน้าใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติเพื่อให้พวกเขาเหล่านี้ได้มีมีสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้กับประเทศไทยต่อไป
You must be logged in to post a comment Login