- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 22 hours ago
- อย่าไปอินPosted 4 days ago
- ปีดับคนดังPosted 5 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 6 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
ครบรอบ 77 ปี สถาปนาคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล คณาจารย์รุ่นใหม่ ร่วมเสวนา “บุหรี่ไฟฟ้า โกหกลวงเด็กและเยาวชน”
วันที่ 25 พฤษภาคม 2567 ได้มีการจัดกิจกรรมเนื่องในวันสถาปนาคณะสาธารสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครบรอบ 77 ปี ทางหน่วยวิชาการเครือข่ายนักสาธารณสุขจัดการปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ (สปสส.) ได้จัดกิจกรรมเสวนาวิชาการ เพื่อชี้แนะสาธารณะประเด็นปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทยที่กำลังแพร่ระบาดไปในหมู่เด็กและเยาวชนไทย ตลอดจนเป็นการสร้างกระแสรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลกในปีนี้ที่ว่า “ร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า”
อ.ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร ผู้จัดการเครือข่ายนักสาธารณสุขจัดการปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ (สปสส.) กล่าวว่า “ปัญหาการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย ขณะนี้เกิดขึ้นจาก 3 ปัจจัยด้วยกัน คือ ความเข้าใจผิดถึงความปลอดภัยของบุหรี่ไฟฟ้า การปัญหาการบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะในระบบออนไลน์ และการแทรกแซงนโยบายการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าผ่านกลไกทางการเมือง อันเกิดจากเรื่อง ปัจจัยการค้ากำหนดสุขภาพ ที่อุตสาหกรรมยาสูบหรือบุหรี่ไฟฟ้า พยายามใช้อำนาจทุนในการเข้าแทรกแซงนักการเมืองซึ่งกำลังเป็นประเด็นปัญหาที่นักสาธารณสุขรุ่นใหม่จำเป็นต้องเท่าทันต่อกลยุทธ์นี้”
อ.ดร. อลงกรณ์ เปกาลี อาจารย์ประจำภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “ปัจจุบันธุรกิจยาสูบพุ่งเป้ามาที่กลุ่มเยาวชน โดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนสามารถทำได้ ทั้งยังมุ่งส่งเสริมให้เห็นประโยชน์ของบุหรี่ไฟฟ้าผ่านวาทกรรมต่างๆ เช่น บุหรี่ไฟฟ้าช่วยให้เลิกบุหรี่มวนได้ ซึ่งสามารถทำให้เกิดความเข้าใจผิดในกลุ่มผู้รับสารได้ ข้อมูลจากการสำรวจสถานการณ์การใช้บุหรี่ไฟฟ้าพบว่า ปัจจุบันกลุ่มวัยรุ่นมีอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าสูงกว่ากลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 13-15 ปี ที่พบอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าสูงขึ้นอย่างมาก การส่งเสริมความเข้าใจ และรู้เท่าทันกลโกงของธุรกิจยาสูบจึงเป็นเรื่องที่นักสาธารณสุขไทยจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน ผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นช่องทางในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และต่อเนื่อง เพื่อปกป้องเยาวชนไทยจากพิษภัยของบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า”
ผศ.ดร.วรรณา นาราเวช อาจารย์พิเศษ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าเป็นปัญหาที่เร่งด่วน การแก้ไขปัญหาด้วยการสร้างเครือข่ายนักสาธารณสุขซึ่งกระจายอยู่ในทุกพื้นที่เครือข่ายที่กระจายทุกภูมิภาค ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำข้อมูลมาวิเคราะห์และร่วมแก้ไขปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างรอบด้าน เหล่าคณาจารย์ที่เป็นเครือข่าย ยังเป็นเสมือน role model ให้กับนักศึกษาสาธารณสุขที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศในการปกป้องให้เยาวชนและคนไทยปลอดภัยจากกลยุทธทางการตลาดของบุหรี่ไฟฟ้าที่มุ่งเป้าเยาวชนและเด็ก ดังนั้นการสร้างเครือข่ายอาจารย์จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแต่ละภูมิภาคของประเทศเพื่อแก้ปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าจึงเป็นการนำเอาความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความร่วมมือมาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป
อ.จุฑาทิพย์ คงปั้น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เพื่อให้รู้ทัน เรื่อง “หวาน” (คำโกหก) ของบุหรี่ไฟฟ้า ทางเครือข่ายนักสาธารณสุขจัดการปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ (สปสส.) ที่ประกอบไปด้วยเครือข่ายสาขาหรือคณะสาธารณสุขศาสตร์ ที่มีอยู่ทุกภูมิภาค อันได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์ลำปาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สุพรรณบุรี พิษณุโลก และสถาบันพระบรมราชชนก ร่วมกันจัดตั้งกองกำลังควบคุมยาสูบขึ้น โดยเป็นน้องๆ นักศึกษาที่เรียนในคณะสาธารณสุขศาสตร์ทั่วประเทศ เข้าฝึกอบรมในด้านการควบคุมยาสูบ โดยมีเมนเทอร์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการควบคุมยาสูบ และในปีนี้ทาง สปสส. ได้จัดอบรมรูปแบบผสม (Hybrid) เป็นรุ่นที่ 2 โดยเพิ่มปัจจัยเสี่ยงสุขภาพอีกหนึ่งปัจจัยคือ แอลกอฮอล์ เพื่อติดอาวุธเพิ่มให้กับอนาคตนักสาธารณสุขรุ่นใหม่ให้กับประเทศไทย ซึ่งหลังจากอบรมรุ่นที่ 2 เรียบร้อยแล้ว จะเปิดเป็นระบบออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจด้านการควบคุมยาสูบและแอลกอฮอล์ ได้อัพเดทความรู้และได้เครือข่ายในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงสุขภาพทั้งสองปัจจัยต่อไป ซึ่งสามารถติดตามได้จากเพจ https://www.facebook.com/ph4healthrisk
You must be logged in to post a comment Login