วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

อึ้ง!! คนไทยสูดฝุ่น PM2.5 + บุหรี่ไฟฟ้าฉ่ำปอด ตัวการเร่งสร้างมะเร็งปอด

On May 31, 2024

จากผลสำรวจเด็ก 7 ขวบเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว หมโรคปอดเตือนสังคมไม่ควรนิ่งดูดายเรื่อง PM2.5 + บุหรี่ไฟฟ้าเผยอีก 10 ปีข้างหน้าหากรัฐไร้มาตรการการควบคุมทำให้ให้อากาศดรขึ้นเด็กไทยเสี่ยงโตไปเป็นโรคเกี่ยวกับปอดมากขึ้น ด้าน สสส.ปรับกลยุทธ์ป้องกันการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนด้วยการเปลี่ยนช่องทางการสื่อสารแบบต่างๆที่ถูกใจวัยใสดึงอินฟลูฯมาให้ความรู้

ปัจจุบันเราแถมจะแยกไม่ออกแล้วว่า ระหว่างฝุ่น PM2.5 และ(ควัน)บุหรี่ไฟฟ้า สิ่งไหนจะอันตรายมากกว่ากัน โดยเฉพาะสิ่ที่จะเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนที่กำลังจะเป็นอนาคตของชาติ ในวันนี้เรื่องฝุ่น PM2.5 ประเทศไทยยังไม่สามารถจัดการกับปัญหานี้ได้ ปัญหาเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้ากลับมามาเพิ่มเติมเข้าไปอีก หนักถึงขนาดที่ว่าผลสำรวจพบว่า เด็ก 7 ขวบก็สูบบุหรี่ไฟฟ้ากันแล้ว และยิ่งหนักไปกว่านั้นอีกบางครอบครัวกลับสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนใช้บุหรี่ไฟฟ้าอีกด้วย ลองคิดดูว่าเด็กคนหนึ่งได้รับอากาศที่เต็มไปด้วยฝุ่น PM2.5 และยังสูบบุหรี่ไฟฟ้าควบคู่ไปด้วย แล้วอีก 10-20 ปีข้างหน้าสุขภาพปอดของเด็กคนนนี้จะเป็นอย่างไร

ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ กรุงเทพฯ นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. กล่าวในพิธีเปิดกิจกรรม ThaiHealth Watch The Series 2024 ชุด “เล่นให้เป็นเรื่อง” ครั้งที่ 2 ว่า เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก สสส. ได้จัดกิจกรรม ThaiHealth Watch The Series ชื่อตอนว่า เล่นเรื่องปอด : เมื่อปอดไม่ปลอดภัย…จากฝุ่นพิษและบุหรี่ไฟฟ้า มุ่งเปิดพื้นที่ถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และแนะแนวทางป้องกันและดูแลตนเอง พร้อมพัฒนาเครื่องมือการเรียนรู้ชุด “รู้ทันกลลวงบุหรี่ไฟฟ้า” 4 ประเด็น 1.การรู้เท่าทันการตลาดของบุหรี่ไฟฟ้า 2.สารพิษที่เคลือบแฝงในบุหรี่ไฟฟ้า 3.ผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ 4.สถานการณ์และกรณีศึกษาของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากบุหรี่ไฟฟ้า มุ่งสร้างความตระหนักถึงภัยสุขภาพปอดที่มาจากอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า และฝุ่น PM2.5 ในระดับที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ

นางเบญจมาภรณ์ กล่าวว่า ปีนี้เราหยิบยกเรื่องปอดขึ้นมา เพราะปอดเป็นอวัยวะหลักที่สำคัญต่อร่างกาย และอยากที่ทุกคนรู้ว่าเรื่องบางเรื่องเกิดจากพฤติกรรมเป็นหลัก ซึ่งในวันนี้ตนอยากให้รู้ว่า สสส.เราทำอะไร ผลกระทบเกิดกับใคร เป็นสิ่งที่เราอยากทำให้เห็น อยากให้มองไปในระยะยาวจะเกิดผลที่รุนแรงอย่างไรต่ออวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกาย

นางเบญจมาภรณ์ กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้า เป็นสิ่งที่พกพาได้ง่าย รูปลักษณ์สวยงามน่ารัก ด้วยวิวัฒนาการของบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เราป่วยได้เร็วขึ้น จริงๆแล้วอาจจะไม่ใช่แค่เรื่อปอดเท่านั้น จึงมีเรื่องให้ทำว่าเราจะทำอย่างไรที่ทำให้เรื่องที่เราทำกันเป็นประจำ ที่มีผลกระทบต่อร่ากายลดลง และมีกิจกรรมที่ดีเพิ่มขึ้น

ส่วนการทำงานของบุหรี่ไฟฟ้ากับเด็กจากเดิมเราจะทำกับแคมเปญใหญ่ เราต้องเข้าถึงแพลตฟอร์มใหม่ๆ เช่น อินฟลูเอ็นเซอร์ ที่จะเคยหรือไม่เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเด็กๆน่าจะเชื่อมากกว่าให้เราๆไปบอก ซึ่งเราต้องเปลี่ยนช่องทางการสื่อสาร ที่คนที่จะบอกเล่านั้นจะตรงต้องกับกลุ่มเป้าหมาย จะเป็นพลังที่เรากำลังจะเริ่มทำ และทาง สสส.ได้พยายามปรับข้อมูลที่ต้องการจะสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงได้ง่ายขึ้น

“ไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM 2.5 เข้าขั้นวิกฤต กว่า 38 ล้านคนต้องอยู่ในพื้นที่ฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ในจำนวนนี้เป็นเด็กกว่า 3.5 ล้านคน ที่หายใจนำฝุ่นเข้าปอดเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 4 มวนต่อวัน ยิ่งไปกว่านั้น กลยุทธ์ตลาดบุหรี่ไฟฟ้ายังมุ่งเป้าไปที่กลุ่มเด็ก สสส. จึงเร่งสร้างการตระหนักรู้ให้กับภาคีสุขภาวะ ร่วมกันขับเคลื่อนให้ประชาชนทุกกลุ่มมีสุขภาวะที่แข็งแรงและปลอดภัย ทั้งนี้ สสส. จะจัด ThaiHealth Watch The Series 2024 ชุด “เล่นให้เป็นเรื่อง” ตลอดปี 2567 ติดตามข้อมูลได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.” นางเบญจมาภรณ์ กล่าว

นพ.วินัย โบเวจา หัวหน้าศูนย์สุขภาพปอด อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจ และภาวะวิกฤตทางเดินหายใจ โรงพยาบาลพญาไท 3 กล่าวว่า โรคมะเร็งปอด ติด 1 ใน 5 อันดับมะเร็งที่คร่าชีวิตประชากรโลก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก 2 ปัจจัยสำคัญ 1.มลพิษทางอากาศ PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐานในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอาการไอ เลือดกำเดาไหล หรือภูมิแพ้ ที่สำคัญฝุ่น PM 2.5 กระตุ้นให้สารพันธุกรรมกลายพันธ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ 2.สารพิษจากบุหรี่ไฟฟ้า ประชาชนบางส่วนมีความตระหนักเรื่องความอันตรายของสารนิโคติน แต่สารปรุงสี แต่งกลิ่นเพื่อดึงดูดผู้สูบหน้าใหม่ ที่มีกว่า 7,000 ชนิดในบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้เกิดอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อปอดรุนแรงทวีคูณ เนื่องจากไอระเหยมีขนาดเล็กเมื่อเข้าสู่เนื้อเยื่อปอดทำให้เกิดการระคายเคือง เกิดโรคหอบหืด และอักเสบในทางเดินหายใจ รวมถึงส่งผลกระทบต่อหัวใจ สมอง และฟัน จึงควรป้องกันตนเอง หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่จะได้รับมลพิษจากฝุ่น PM2.5 และไอจากบุหรี่ไฟฟ้า

“ปัญหาสุขภาพปอดเราไม่ควรจแยกระหว่างฝุ่น PM 2.5 กับปัญหาควันที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้า เราต้องมองว่าเรื่องอากาศที่มาจากฝุ่น PM 2.5 และควันบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเรื่องเดียวกัน อยากให้มองว่ามันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพของปอด เราอยากให้ดูว่าสุขภาพปอดในอีก 10 ปีข้างหน้าจะมีปัญหา ถ้าเราไม่หันมาใส่ใจกับควันและอากาศที่เราสูดเข้าไปในปอด ปัญหาหรือภัยที่เรามองข้าม และภัยจากบุหรี่ไฟฟ้าที่ทำให้ก่อมะเร็ง” นพ.วินัย กล่าว

การดูแลตนเองในส่วนตัวมองว่าควรเริ่มจากการณรงค์ ช่วยกันรณรงค์ให้ความสำคัญกับสุขภาพปอด ซึ่งเราเห็นตั้งแต่โควิดแล้วมันจะมาแรงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเราเริ่มใส่ใจและรณรงค์จะนำมาสู่การแอคชั่น ผลักดันข้อบังคับ กฎหมาย ส่วนที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กที่อยู่ ม.ต้น-ม.ปลายเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้า ดังนั้น เมื่อมีการแนะนำ รณรงค์ช่วยกันผลักดันให้อยู่ห่างไกลจากควันบุหรี่ ซึ่งจากประสบการณ์และข้อมูลที่มีภาครัฐยังคงมีมาตรการต่างๆแต่ยังคงไม่มากพอสมควร เพราะดูจากตัวเลขที่เราเห็นว่า ม.ต้น-ปลาย หรือแม้แต่ตัวเองขององค์การนามัยโลกยังพบว่า เด็กกลุ่มนี้หันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งมันจะสะท้อนถึงมาตรการของภาครัฐได้

ส่วนบุหรี่ไฟฟ้านั้นเริ่มมาฮิตกันมากตั้งแต่ปี 2019 จนถึงปัจจุบันพบว่ามีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และมีงานวิจัยต่างๆมารองรับ แพทย์ที่ปฏิบัติงานเริ่มพบปัญหาที่เกิดจากปอด รวมทั้งการเกิดอาการภูมิแพ้ที่เข้ามารับการรักษามากขึ้นเรื่อยๆ เรื่องนี้เป็นหนึ่งในหลายๆเรื่องที่น่ากังวล

“สิ่งที่ตนอยากใส่ใจมากขึ้น คือ เรื่องการปรุงแต่งกลิ่น สี ในบุหรี่ไฟฟ้า ที่เรียกว่าเป็นการระบาดของกลิ่นสี อันนี้เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง ในตลาดมีมากกว่า 7,000 กลิ่น สามารถหาซื้อได้ทางออนไลน์ มีการแต่งกลิ่นสีแบบดีไอวายผสมกันเองโดยแบบไม่รู้ที่มาที่ไป เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงสำหรับเด็กในรุ่นต่อๆไป” นพ.วินัย กล่าว

นพ.วินัย กล่าวว่า ในอนาคตถ้าเรายังไม่มีมาตรการใดในกลุ่มเด็กและเยาวชนจะพบว่าสารพิษจะแพร่กระจายไปยังกลุ่มนี้จะเกิดปรากฎการณ์ที่คนป่วยโรคหอบหืดมากขึ้น ปัญหาโรคปอด ปอดอักเสบมากขึ้น ซึ่งคนอาจจะมองกลายว่าเป็นเรื่องปกติเหมือนกับโรคหัวใจ วันนี้เราเห็นคนหัวใจวายเราก็ไม่ตื่นเต้นแล้ว เพราะเราชินเราเชื่อยกับเรื่องเหล่านี้ อีก 10 ปีข้างหน้าเรื่องปอดจะเป็นเรื่องปกติเพราะเราชินจนเป็นเรื่องปกติ

สำหรับ 6 แนวทางเลี่ยงเกิดโรคมะเร็งปอด 1.รับประทานอาหารบำรุงปอด อาหารประเภทที่ช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระ อาทิ แอปเปิล บรอกโคลี ถั่ว ขิง ผลไม้ตระกูลเบอร์รี 2.ออกกำลังกายบริหารปอด หายใจเข้า-ออกลึกๆ เพื่อบริหารปอด กระบังลม และกล้ามเนื้อทรวงอก 3.หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำลายปอด เช่น สัมผัสควันบุหรี่ อยู่ในพื้นที่ที่มีการเผา 4.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชม. ต่อวัน 5.ดื่มน้ำให้เพียงพอ 8 แก้วต่อวัน เพื่อให้ปอดชุ่มชื้น 6.รักษาปอดให้อบอุ่นอยู่เสมอ ห่มผ้าปิดหน้าอกให้มิดชิดในขณะนอนหลับ

ด้านนายสุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กแฟนเพจ Toolmorrow กล่าวว่า เจอเคสเด็กเจ็ดขวบเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่น่าตกใจมากที่สุด ต่างจากอดีตที่จะพบคนสูบบุหรี่เมื่อเรียนมัธยม จากการลงพื้นที่สำรวจในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาในภาคกลาง พบว่า นักเรียน 20 คนมีประสบการณ์สูบบุหรี่ไฟฟ้า เป็นผู้หญิง 18 คน  2 คนเป็นผู้ชาย เด็กนักเรียนเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้า เนื่องจากรูปลักษณ์ของบุหรี่ไฟฟ้าน่ารัก เสมือนไม่มีพิษภัย และมีรสชาติที่หวาน หอม ดึงดูดให้หลงใช้ วิธีการหาซื้อทางออนไลน์หรือใน TikTok หรือ ซื้อในชุมชนตลาดนัดทำให้เด็กประถมเข้าถึงได้ง่าย จากการพูดคุยพบว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นปรากฏการณ์ปัญหาสังคมที่ผ่านมาจากปัญหาหรือยากจน ยาเสพติดการพนัน ครอบครัวจบที่มรการศึกษา ต่ำกว่าประถมผู้ผู้ปกครองแตกแยก ซึ่งส่วนมากผู้ปกครองจะให้ความสำคัญกับการหาเงินให้ครอบครัวมากกว่าการให้เวลากับครอบครัวและโครงสร้างสังคม ที่ทำให้ขาดความสัมพันธ์ในครอบครัว จากปัญหาที่เกิดขึ้น ได้พัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบภาพยนตร์สั้นที่ให้คนดูสามารถเลือกการดำเนินเรื่องเอง (Interactive) ชื่อเรื่อง “บานปลาย” นำเสนอแนวทางการสื่อสารเชิงบวกสำหรับผู้ปกครอง เตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเด็กและเยาวชน รับชมได้ที่เว็บไซต์ https://toolmorrow.com/portfolio-item/escalate/


You must be logged in to post a comment Login