- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 17 hours ago
- อย่าไปอินPosted 4 days ago
- ปีดับคนดังPosted 5 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 6 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 7 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
สสส. ประกาศต่อต้านการคุกคามเพศทุกรูปแบบ หลังผลวิจัยพบผู้ร่วมงานเป็นคนคุกคามทางเพศมากที่สุด
“จากประสบการณ์การถูกคุกคามทางเพศ เราเป็น TRANS เราจะใช้บริการขนส่งสาธารณะ มันเจอหลายครั้งที่คนขับรถใช้สายตามองเราทางกระจก และพูดคุยหยอกล้อว่า เราเป็น LGBTQ ก็น่าจะชอบที่มีคนมามอง มาคุยด้วย มาจีบ ทั้งๆที่จริงแล้วมันสร้างความอึดอัดให้เรา เพราะเราไม่ได้อยากอยู่ในสถานการณ์นั้น บางครั้งมันอยู่ในสถานการณ์ที่ล่วงละเมิดเลยด้วยการพูดจาที่เรารู้สึกว่าคุกคามเรา หรือการซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์แล้วคนขับเบรคบ่อยๆ แม้กระทั่งสำเร็จความใคร่เราที่อยู่ในสถานการณ์นั้นเรารู้สึกไม่สบายใจ ไม่ปลอดภัยที่จะใช้ชีวิตต่อไป สิ่งที่ทำได้คือ พอเจอหลายๆครั้ง ก็คิดว่า สิ่งนี้เราไม่อยากเกิดขึ้นกับในสังคมของเรา เราไม่อยากให้คนอื่นๆมาเจอกแบบเรา ครั้งแรกๆก็อาจจะไม่กล้าที่ว่าบันทึกเสียง ถ่ายรูปรถทะเบียนรถ ได้ปรึกษาเพื่อนถ้าเราเจอให้ถ่ายรูปทะเบียนรถ อัดเสียง แต่เราไม่ใช้ความรุนแรงโต้กลับ เพราะมันจะทำให้เราลำบากในขณะที่ยังนั่งรถอยู่”
จากประสบการณ์ตรงของการถูกคุกคามทางเพศทั้งทางตรงและทางอ้อมของน้องเก้า นายภูเบศร์ ปานเพ็ชร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตและคนข้ามเพศ มูลนิธิเอ็มพลัส ที่พูดออกมาให้สังคมรับรู้ว่า ถึงเธอจะเป็นผู้หญิงข้ามเพศ แต่เธอก็ไม่ได้ยินดีที่ให้ใครมาคุกคามทางเพศกับเธอไม่ว่าจะเป็นการพูดจาหรือการกระทำ ซึ่งมันตรงกันข้ามกับความคิดของบางคนในสังคมที่มองว่าผู้หญิงข้ามเพศหรือกระเทยชอบที่จะถูกชายหนุ่มพูดจาแทะโลมรวมไปถึงการลวนลาม
ปัจจุบันจะพบว่า ไม่ใช่เฉพาะคนข้ามเพศเท่านั้น ชายจริงและหญิงแท้ก็โดนคุกคามทางเพศกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะคนที่คุกคามทางเพศเป็นคนที่มีอำนาจเหนือกว่า และยังมีเพื่อนร่วมงาน คนใกล้ ดังนั้นสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จับมือร่วมกับภาคีเครือข่ายประกาศเจตนารมณ์ป้องกัน ต่อต้านการคุกคามทางเพศทุกรูปแบบ ทุกเพศ ทุกสถานที่ พร้อมทั้งได้สร้างชุดข้อมูลความรู้ กระบวนการเรียนรู้และจัดอบรมเกี่ยวกับการป้องกันการคุกคามทางเพศในทุกรูปแบบ เพื่อร่วมสานพลังสังคมที่ปลอดจากการคุกคามทางเพศ สามารถติดต่อที่ 02 343 1500 Facebook : สสส. หรือ Facebook นับเราด้วยคน
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส. ร่วมกับ นิด้าโพล สำรวจสถานการณ์การคุกคามทางเพศในที่ทำงาน วันที่ 9-16 พ.ค. 2567 กลุ่มตัวอย่างอายุ 20 ปีขึ้นไป 2,000 คน ทั้งข้าราชการ ลูกจ้างของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เอกชน ซึ่งเกือบ 1 ใน 4 หรือ 23.5% เคยเห็นการคุกคามทางเพศในสถานที่ทำงาน ขณะที่ 6.3% หรือ 126 คน เคยถูกคุกคามทางเพศ สิ่งที่ถูกกระทำมากที่สุดคือด้วยวาจา 50% พูด-วิจารณ์สัดส่วนร่างกาย และถึงขั้นขอหรือชักชวนให้มีเพศสัมพันธ์ 2.88% ด้านกิริยา จ้องมองแทะโลมด้วยสายตามากที่สุด 86.21%
ด้านร่างกาย 70.83% ถูกจับมือ แตะไหล่ แขน หลัง 66.67% เข้ามาใกล้หรือเบียด 8.33% ลูบ คลำ ต้นคอ บ่า หลัง 4.17% ถูกกอดจูบ และ 4.17% เคยถูกใช้กำลังบีบบังคับให้ทำกิจกรรมทางเพศ กลุ่มตัวอย่างที่ถูกคุกคามทางเพศ 62.5% ได้รับข้อความส่อไปทางเพศ 25% ได้รับภาพเคลื่อนไหวลามก 12.5% ได้รับภาพร่างกายหรืออวัยวะเพศ บุคคลที่เป็นผู้คุกคามทางเพศอันดับหนึ่ง คือ เพื่อนร่วมงาน 81.75% หัวหน้า/ผู้บังคับบัญชา 16.67% ลูกค้า/ผู้รับบริการ 8.73% ลูกน้อง/ผู้ใต้บังคับบัญชา 5.56% ผู้บริหาร/เจ้าของบริษัท 3.17% ส่วนมาตรการที่อยากให้หน่วยงานมีเพื่อจัดการกับการคุกคามทางเพศ กลุ่มตัวอย่างทั้งที่ถูกคุกคามและพบเห็นการคุกคาม 33.5% อยากให้มีบทลงโทษที่ชัดเจนกับผู้กระทำในลักษณะต่างๆ 30.4% มีนโยบายป้องกันที่ชัดเจน 25.8% มีช่องทางร้องเรียนสายตรงผู้บริหาร 25.25% มีฝึกอบรมพนักงาน
“เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างที่ถูกคุกคามทางเพศว่า ทำอย่างไรต่อจากนั้น 38.10% ไม่ทำอะไรเลย อีก 33.33% ใช้วิธีต่อว่า 3.17% ขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่อยู่ในบริเวณนั้น มีไม่ถึง 3% ที่ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกหรือแจ้งความ เช่นเดียวกับกลุ่มตัวอย่างที่เคยพบเห็นการคุมคามทางเพศ ส่วนใหญ่ 55.32% ไม่ทำอะไรเลย แต่น่ายินดีว่าอีก 29.57% เข้าไปต่อว่า 8.09% แจ้งหัวหน้า/ผู้บังคับบัญชา จากผลสำรวจรวมถึงความต้องการให้มีมาตรการจัดการป้องกันการคุกคามทางเพศที่ชัดเจน รวมไปถึงการที่ผู้ถูกคุกคามและผู้ที่พบเห็นการคุกคามทางเพศส่วนใหญ่ เลือกจะนิ่งเฉย อาจเกิดจากหลายเหตุผล ทั้งหวาดกลัว ทั้งไม่แน่ใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หรือไม่มั่นใจว่าถ้าไปร้องเรียนหรือแจ้งความ จะได้รับผลอย่างไร สะท้อนว่าการคุกคามทางเพศในสถานที่ทำงานเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เหยื่อยังรอความช่วยเหลือ ผู้ที่พบเห็นยังอยากให้มีการแก้ไข ผู้ที่ยังไม่ได้เป็นเหยื่อ ยังต้องการความปลอดภัย หากทุกหน่วยงาน องค์กร รวมพลังกันป้องกัน แก้ไข การคุกคามทางเพศ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องถึงพฤติกรรมทั้งการกระทำ วาจา สายตา ที่เป็นการคุกคามทางเพศ มีมาตรการจัดการผู้กระทำ และช่วยเหลือผู้ถูกกระทำ จะเป็นเกราะป้องกันไม่ให้เกิดการคุกคามทางเพศในที่ทำงานได้” นพ.พงศ์เทพ กล่าว
ทั้งนี้ สสส. ประกาศเจตนารมณ์ 1.บริหารงาน และปฏิบัติงานบนความเสมอภาค เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 2.สร้างวัฒนธรรมองค์กร ปลูกฝั่งค่าที่นิยมที่ดี 3.สร้างสภาพแวดล้อม ส่งเสริมความปลอดภัยในองค์กร 4.มีกลไกและกระบวนการในการป้องกันการคุกคามทางเพศ โดยยกระดับการป้องกันการคุกคามทางเพศที่เข้มข้นขึ้นด้วยมาตรฐานสากล 1.ตั้งหน่วยรับเรื่องร้องเรียนภายนอกคุ้มครองเหยื่อ 2.มีแนวปฏิบัติการรักษาความลับ 3.จัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรของ สสส. เรื่องการปกป้อง คุ้มครองการคุกคามทางเพศ และจะขยายผลไปถึงภาคีเครือข่ายกว่า 2,000 องค์กร ซึ่งอยู่ระหว่างจัดทำมาตรฐานการตรวจสอบ โดยจะไม่สนับสนุน หรือร่วมดำเนินงาน ทั้งนี้ สสส. มีภาคีเครือข่ายที่ทำงานป้องกันการคุกคามทางเพศ พร้อมสนับสนุนทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร
รศ.ดร.สุชาดา ทวีสิทธิ์ นักวิชาการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การทำงานได้ร่วมกับ สสส. พัฒนาแผนดำเนินงาน ทั้งการเก็บข้อมูลวิชาการสถานการณ์การคุกคามทางเพศกับกลุ่มชาย-หญิง และ LGBTQIA+ นำไปพัฒนาระบบบริการแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศ ขับเคลื่อนเชิงนโยบาย และเสริมศักยภาพพัฒนาหลักสูตรแนวทางเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในที่ทำงาน เพื่อผลักดันให้สถานประกอบการที่สนใจบรรจุเป็นระเบียบขององค์กร โดยจะนำเนื้อหา และกระบวนการเริ่มทดลองใช้กับเจ้าหน้าที่ และภาคี สสส. เป็นต้นแบบของหลักสูตร โดยเป็นการออกแบบมาตรการและระบบดูแล ต้องใช้การมีส่วนร่วมของพนักงานด้วย โดยเฉพาะเรื่องของระบบการร้องเรียนร้องทุกข์ มาช่วยกันออกแบบเพื่อให้พวกเขาได้เข้าถึงได้ง่าย และรู้สึกปลอดภัยที่จะเข้าถึง รวมถึงการออกแบบว่าคณะกรรมการที่สอบสวนควรเป็นใครได้บ้างที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องนี้ เป็นคนกลาง
การจะนำไปสู่มาตรการระดับประเทศนั้นรัฐบาลต้องสนับสนุน ส่งเสริมให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน และภาคประชาสังคมมีกลไก มีนโยบายและมีมาตรการรอรับเรื่องนี้ทั้งหมด ทั้งเกี่ยวกับการป้องกัน การแก้ปัญหา การเยียวยา เพราะปัจจุบันจากการสำรวจจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าประเทศไทยมีหน่วยงานทุกภาคส่วนที่มีนโยบายเกี่ยวกับเรื่องการคุกคามทางเพศมีไม่ถึง 10% นอกจากนี้ยังพบว่ากลไกภายใน วิธีการนำไปปฏิบัติจริงก็ไม่เข้มแข็ง ยังเป็นปัญหาอยู่เยอะ มันก็เลยเป็นคำตอบว่าทำไมคนถึงไม่กล้าร้องเรียน เพราะระบบมันยังไม่เอื้อ ยังไม่มิตร ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้เขาได้ ว่าเขาจะได้รับความยุติธรรมจากการร้องทุกข์ไป
นางสาวจิตติมา ภาณุเตชะ นายกสมาคมเพศวิถีศึกษา กล่าวว่า ช่องโหว่สำคัญของการคุกคามทางเพศ คือ ผู้พบเห็นอาจมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว เป็นทัศนคติที่ทำให้ตัดสินใจนิ่งเฉย ปัจจุบันสังคมตื่นตัวมากขึ้น แต่คนจำนวนมากยังไม่รู้แนวทางจัดการหากถูกคุกคามหรือพบเห็นการคุกคาม ดังนั้นหน่วยงานในระดับองค์กร ควรมีการดำเนินงาน 1.มีกระบวนการเพิ่มทักษะความรู้ให้กับพนักงาน 2.มีแนวทางการป้องกันและรับมือปัญหา รวมถึงมีช่องทางร้องเรียนขอความช่วยเหลือ 3.มีกลไกการตรวจสอบที่เชื่อมั่นได้ รักษาความลับ มีความเป็นธรรมให้ทั้งผู้ถูกกระทำ และผู้ถูกกล่าวหา ทั้งหมดนี้คือการรักษาสิทธิที่สร้างบรรยากาศการทำงานเป็นมิตร ปลอดภัย พลิกมุมมองวัฒนธรรมองค์กร ไม่ยอมรับการคุกคามทางเพศ
ท้ายสุดนี้แนวทางการป้องกันตนเองเมื่อต้องตกไปอยู่ในสถานการณ์การถูกคุกคามทางเพศนั้น ทางด้านรศ.ดร.สุชาดาและนายภูเบศร์ ได้ให้แนวทางที่สอดคล้องกัน นั่นคือ อย่างแรกต้องตั้งสติให้ได้ก่อน พยายามเก็บหลักฐานที่เป็นรูปถ่าย เสียงที่อัดไว้ จำวัน เวลา สถานที่ให้แม่น อย่าพยายามโต้เถียงด้วยความรุนแรงกับคู่กรณี ส่วนหากเป็นในองค์กร ต้องห้ามคนที่จะมากระทำกับเราให้เขาหยุด พยายามศึกษาว่าในองค์กรมีมาตรการให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้อย่างไร แล้วจึงดำเนินการตามกระบวนการ ตามขั้นตอนที่สามารถทำได้
You must be logged in to post a comment Login