- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 5 hours ago
- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
ชู“ตำบลบ้านหอย”เพิ่มสุขมีเงินออมด้วยการ“ลดเสี่ยง ลดผู้เสพ”
ชู ต.บ้านหอย อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี ตัวอย่างของความร่วมมือของคนในชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด แอลกอฮอล์ การพนัน รวมทั้งอุบัติเหตุ จับมัดรวมกันเป็นโครงการ “ลดเสี่ยง ลดผู้เสพ เพิ่มสุข มีเงินออม” เพื่อสร้างสุขให้ครอบครัวด้วยการเพิ่มเงินออม ลดปัจจัยเสี่ยงทุกๆด้าน
ที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเกาะมะไฟ ต.บ้านหอย อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย ลงพื้นที่รับฟังสรุปการดำเนินงาน “ลดเสี่ยง ลดผู้เสพ เพิ่มสุข มีเงินออม” แก้ไขปัญหาปัจจัยเสี่ยง ลดสัดส่วนหนี้สินครัวเรือน เพิ่มความสุขให้คนในครอบครัว โดยมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งขับเคลื่อนการทำงานไปพร้อมกับคนในชุมชน
ยาเสพติด แอลกอฮอล์ พนัน สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจนับแสนล้าน
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวว่า ข้อมูลปี 2566 ไทยมีจำนวนผู้ป่วยสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาเสพติดมากกว่า 63,000 คน สะท้อนถึงปัญหาที่เพิ่มขึ้น และรายงานจาก UN News และ The Diamond Rehab Thailand ระบุว่าการใช้สารเสพติด เช่น ยาบ้า และยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต มีผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นประมาณ 57,000 คน มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ HIV และโรคตับอักเสบซี จากสถานการณ์ข้างต้น จำเป็นต้องมีนโยบายเร่งด่วน ได้แก่ 1. เปลี่ยนจากลงโทษมาเน้นการบำบัด ฟื้นฟู รักษาผู้ใช้ยาเสพติด โดยร่วมกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนสร้างชุมชนเข้มแข็งป้องกันยาเสพติด “ชุมชนล้อมรักษ์” (CBTx) 2. ป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยให้ชุมชนเป็นฐาน และ 3. จัดหาอาชีพ โดยมีกองทุนสนับสนุนการประกอบอาชีพ สำหรับผู้บำบัด และผู้ที่พ้นโทษแล้ว และยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อีก ผลวิจัยการศึกษาต้นทุนผลกระทบทางสังคมปี 2564 พบว่า แอลกอฮอล์ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่า 165,450.5 ล้านบาท เฉลี่ย 2,500 บาทต่อคน และต้นทุนทางอ้อม 159,358.8 ล้านบาท จากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร นอกจากนี้สถานการณ์พฤติกรรม และผลกระทบพนันปี 2566 พบว่า 63% หรือคนไทย 35 ล้านคน เล่นพนัน ทำให้ขาดเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวันถึง 46% และมีผู้ติดหนี้พนันถึง 1.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 กว่า 5 แสนคน คิดเป็นมูลค่าหนี้สินกว่า 2 หมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,335 บาท/คน
สสส.หนุนขยายพื้นที่ชุมชนปลอดภัย
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า ในการประชุมกรรมการกองทุน สสส. ได้มีมติเห็นชอบให้ สสส. และภาคีเครือข่าย ถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานการณ์สิ่งเสพติด และผลกระทบที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยการทำงานของในพื้นที่ของ สสส. และภาคีเครือข่าย ใช้ชุมชนเป็นฐานเชื่อมกับกลไก พชอ. และการขยายงานชุมชนล้อมรักษ์ โดยขับเคลื่อนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติด และเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ ป้องกันปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่/หมู่บ้าน/ชุมชน ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 มีพื้นที่ต้นแบบ 25 พื้นที่ 5 ภูมิภาค มีแกนนำขับเคลื่อนระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ตำบล และแกนนำเครือข่าย 5 ภูมิภาค จำนวน 2,683 คน รวม 1,527 หมู่บ้าน/ชุมชน เกิดพื้นที่ต้นแบบที่ลดจำนวนผู้ติดยาเสพติดได้สำเร็จ
“สสส. สามารถขยายผลสร้างโมเดลจัดการปัญหายาเสพติดสู่ชุมชนอื่น ๆ อาทิ ชุมชนคนสู้เหล้า ปัจจุบันเครือข่ายองค์กรงดเหล้า มีสมาชิกกว่า 7,000 คนทั่วประเทศ เกิด“คนหัวใจเพชร” ลดเหล้าในช่วงเข้าพรรษา นำไปสู่การงดเหล้าตลอดชีวิต โดยปี 2565 มีผู้เข้าร่วม 151,948 คน สามารถประหยัดเงินได้ถึง 121,784,378 บาท นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรพี่เลี้ยงการเงินรู้ทันการพนันในพื้นที่ 9 จังหวัด สามารถปลดหนี้ ลดพนัน เปลี่ยนเงินหวยเป็นเงินออม ผ่านการสื่อสารสร้างความตระหนักในชุมชน ชักชวนให้ครอบครัวในท้องที่ต่าง ๆ ลด ละ เลิกพนัน ลดปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นได้” นพ.พงศ์เทพ กล่าว
นพ.พงศ์เทพ กล่าวว่า สำหรับ โครงการ “ลดเสี่ยง ลดผู้เสพ เพิ่มสุข มีเงินออม”ของ ต.บ้านหอย อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี ทำให้เห็นว่า วิถีชีวิตเราจะมีความสุขที่เพิ่มขึ้นได้ มันต้องมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดความสุข มีทั้งเรื่องของการลดความเสี่ยง ซึ่งอาจเกิดจากเหล้า บุหรี่ จากการที่เราต้องไปจ่ายเงินเพื่อสิ่งเสพติดต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาชญากรรมความรุนแรง และส่วนที่สำคัญ คือ เงิน การมีเงินทองได้ จะต้องลดเสี่ยง ลดเสพ มันถึงจะเกิดเงินออม และเพิ่มสุขได้ ถ้าเราใช้ระบบราชการเพียงอย่างเดียวในการควบคุมจะทำให้ยากต่อการควบคุมกลุ่มเสี่ยง แต่ถ้าเราใช้กระบวนการชุมชน ที่เป็นกรบวนการที่เราเรียกว่าชุมชนล้อมรัก หมายถึง ชุมชนจมีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนผู้เสพกลายเป็นคนปกติได้ เช่น “ยุทธการหักหอกเป็นดอกไม้” ที่ดำเนินการโดย พชอ.ประจันตคามในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด ที่จะลดความรุนแรงของผู้ป่วยและชุมชน ทำให้ผู้เสพเปลี่ยนเป็นกำลังที่สำคัญของชุมชนได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชุมชนเขาคิด และขับเคลื่อนกันเองจนประสบความสำเร็จ หรือจะเป็นโครงการที่หยุดการพนัน เพิ่มรายได้ หรือโคงการลดความเสี่ยง ที่จะเกิดอุบัติเหตุ
นางเพ็ญประภา พัวพานิช ผู้อำนวยการ รพ.สต.บ้านเกาะแดง จุดเริ่มต้นของงานชุมชนเริ่มต้นมาจากการเชิญชวนคนมาเข้าร่วมโครงการงดเหล้าเข้าพรรษา เป็นสิ่งที่เราทำมมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ทำให้เราได้บุคคลต้นแบบเลิกเหล้าตลอดชีวิต โดยใช้วัดและพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง เราเชิญชวนคนที่มีจิตอาสาเข้ามาทำงานฟื้นฟูหมู่บ้าน ซึ่งก่อนหน้านี้ในหมู่บ้านของเรามีคนดื่มเหล้าเยอะ และสถานบริการมีคนที่ดื่มเหล้าเข้าไปก่อกวนทุกวันโดยไม่ได้เข้าไปรับการรักษา เราเลยประสานกับชุมชนและได้มีโอกาสทำงานร่วมกับ สสส. และมีการพูดคุยกันกับคณะทำงานทำกิจกรรมนี้โดยยึดหลักบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) บ้าน หมายถึงชุมชน บ้าน พื้นที่ทั้งหมดในตำบล เราจะดึงมาเป็นเครือข่าย วัด คือ วัดเกาะมะไฟเป็นวัดที่ประชาชนให้ความศรัทธา โดยพระครูประโชติพรหมธรรม อดีตเจ้าคณะตำบลบ้านหอย (ปัจจุบันมารณะภาพไปแล้ว)ท่านยืนยันไม่เอาอบายมุขทุกชนิดเข้าวัด โดยจะเป็นนโยบายของวัด ไม่ให้มีการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ในวัด โดยปัจจุบันมีพระมหาณรงค์ ปัญญาวุฑโก เจ้าอาวาสเกาะมะไฟมีการสืบสานเจตนารมณ์ของพระครูประโชติพรหมธรรม”อย่าเอาวัดมาทำบาร์ อย่าเอาศาสนามาทำบ่อน” เป็นจุดเด่นของวัด และยังมีโครงการ “หมู่บ้านรักษาศีล5 “
นอกจากนี้ยังได้ผนวกกิจกรรมเรื่องต่างๆเข้ามา เช่น ยุทธการหักหอกเป็นดอกไม้ ชุมชนคนสู้เหล้า หลักสูตร “พี่เลี้ยงการเงิน รู้เท่าทันการพนัน” และเครือข่ายภาคีตะวันออก ร่วมใจลดอุบัติเหตุทางถนนเช่น ตรงหน้าวัดและหน้าโรงเรียนมักจะเกิดอุบัติเหตุเป็นประจำ เนื่องจากมีรถผ่านไปมาเยอะ จากการสำรวจพบว่าพื้นฐานของการเกิดอุบัติเหตุคือ การดื่มแล้วขับ เลยเป็นจุดที่ทำให้เรามาทำงานกับเครือข่ายงดเหล้า และได้มีการประสานกับหน่วยงานต่างๆ โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานจนเรามีบุคคลต้นแบบเลิกเหล้ามาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบันซึ่งเรามีคนต้นแบบมากกว่า 50 คน
ปีแรกที่เราทำงานงดเหล้าเข้าพรรษามีคนเข้าร่วมเพียง 24 คน ในปีนั้นเรามีคนประกาศเลิกเหล้าตลอดชีวิต เพราะได้เห็นว่าการออมเงินทำให้มีเงินเหลือ สามารถเลี้ยงดูครอบครัว ลดปัญหาการใช้ชีวิตของคนในครอบครัวได้ เลยทำให้เขาประกาศเลิกเหล้าตลอดชีวิตเป็นจำนวน 3 คน จนเป็นบุคคลต้นแบบ และนำมาขยายต่อในงานต่างๆ
“สำหรับการเลิกเหล้าในครอบครัว มักจะได้รับการสนับสนุนจากภรรยาและคนในครอบครัว และมีกิจกรรมให้กับแม่บ้าน เช่น กิจกรรมสตรีปันรักปลูกผักเลิกเหล้า ชวนกันทำกิจกรรมเลิกเหล้า และทำการเกษตร ปลูกพืชผักกินเองในชุมชน” นางเพ็ญประภา กล่าว
รวมทั้งเราได้มองถึงสภาพแวดล้อมต่างๆในชุมชน เช่น เรื่องเด็ก กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ที่กำลังจะไหลเข้ามาในชุมชน เราได้ใช้เด็กมาทำกิจกรรมตีฆ้องร้องป่าว นักสืบน้อย และกิจกรรมฝากเหล้าไว้กับตำรวจ และการจัดงานบุญประเพณีปลอดเหล้า ผลจากการทำกิจกรรมมาต่อเนื่อง ส่งผลให้ชุมชนมีการตั้งวงดื่มสุราน้อยมาก ทำให้อุบัติเหตุลดลงอย่างเห็นได้ชัดทั้งบริเวณหน้า วัด โรงเรียน และสถานบริการ ถ้าจะมีมักจะเป็นบุคคลภายนอกชุมชนเข้ามา
ที่ผ่านมาเรามีการเก็บข้อมูลว่าก่อนเลิกเหล้า หรืออบายมุขเราจะมีเงินเท่าไหร่ และหลังเลิกแล้วเรามีเงินเพิ่มขึ้นเท่าใด ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่าเบื้องต้นอย่างน้อยในครอบครัวจะมีเงินเพิ่มขึ้น 2,000 บาทต่อเดือน สูงสุดประมาณเกือบหมื่นบาท ตรงจุดนี้ทำให้คนในชุมชนเห็นภาพชัด เมื่อภาพการทำงานชัดเจนขึ้นผู้นำในชุมชนเริ่มเข้าไปทำงานเรื่องยาเสพติดที่เกิดในชุมชนเกาะมะไฟเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยใช้กระบวนการ CTBx โดยเป็นการทำงานร่วมกับผู้นำในท้องที่สแกนผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยให้มาเขียนบอกคนที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้เสพและผู้ค้าใส่ลงกล่องโดยไม่ต้องเปิดเผยชื่อ และคณะทำงานจะเข้ามาดูรายชื่อที่น่าสงสัย ซึ่งต้องทำงานคู่ไปกับภาคอำเภอ ซึ่งสามารถจัดการได้เป็นเคสๆไป ซึ่งขบวนการนี้อาจทำได้ลำบาก เพราะมีเรื่องของกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง อาจจะเกิดการไม่ยอมรับหรือปะทะกันได้
อีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้คือ การให้เยาวชนในพื้นที่เป็นคนขับเคลื่อน เช่นกิจกรรม ตีฆ้องร้องป่าว หรือกิจกรรมนักสืบน้อย จะทำหน้าที่สำรวจตรวจตราว่าร้านค้ามีการซุกซ่อนหรือมีการขายเหล้าหรือไม่ หรือคนในงานมีการพกพาเหล้าเข้ามาหรือไม่ ถ้าเด็กรู้จะไปแจ้งผู้ใหญ่บ้านหรือคณะทำงาน ส่วนคณะทำงานจะเข้าไปประสานจะไม่ให้เกิดการปะทะกัน
ปัจจัยของความสำเร็จ นางเพ็ญประภา กล่าวว่า ตอนที่ทำใหม่ๆนั้น เกิดการต่อต้าน เพราะวิถีของคนที่นี่ทุกเย็นจะมีการรวมตัวนั่งดื่ม ส่งเสียง เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้กับเยาวชน ดังนั้นเราต้องหาคนที่มีจิตอาสาจริงๆมาช่วยหมู่บ้าน มาช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมของหมู่บ้านได้ เช่น กลุ่ม อสม. เราจะหาคนเหล่านี้มาช่วยกันขับเคลื่อนการทำงานให้ประสบความสำเร็จ และยังมีกลุ่มเยาวชนที่คอยเป็นหูเป็นตาให้กับชุมชน
You must be logged in to post a comment Login