- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 3 hours ago
- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 7 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
สสส.-สอจร.-อบต.กุดเสลา จ.ศรีสะเกษ สานพลังชุมชนแก้ปัญหาอุบัติเหตุ ตั้ง “ด่านชุมชนปากหวาน”
สสส.-สอจร.-อบต.กุดเสลา จ.ศรีสะเกษ สานพลังชุมชนแก้ปัญหาอุบัติเหตุ ตั้ง “ด่านชุมชนปากหวาน” สื่อสารเชิงบวก-กระตุ้นเตือนในพื้นที่-ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พบ อัตราการสวมหมวกเพิ่มขึ้น จาก 33.8% เป็น 74.6% อุบัติเหตุลดลง 50% เป็นเสียชีวิตเป็นศูนย์
ณ ศูนย์การเรียนรู้ด่านชุมชนปากหวาน องค์การบริหารส่วนตำบลกุดเสลา อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) จัดพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ “ด่านชุมชนปากหวาน” พลังชุมชน หยุดยั้งอุบัติเหตุ โดยมีนายนพ พงษ์พลาดิศัย รองผู้ว่าราชการ จ.ศรีสะเกษ เป็นประธาน
นางก่องกาญจน์ ทักษ์หิรัญฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม สสส. กล่าวว่า อุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น และวัยแรงงาน ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือ รถจักรยานยนต์ ประมาณ 80% ส่วนใหญ่บาดเจ็บที่ศีรษะ เนื่องจากไม่สวมหมวกนิรภัย สอดคล้องกับข้อมูลจากกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค ปี 2562-2566 พบว่า อัตราการบาดเจ็บที่ศีรษะในผู้ใช้รถจักรยานยนต์สูงถึง 40.08% แต่มีเพียง 16.67% เท่านั้นที่ใส่หมวกนิรภัย
“หมวกนิรภัยช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บทางศีรษะได้ โดยหมวกกันน็อกสามารถช่วยให้มีโอกาสรอดชีวิต มากกว่าผู้ที่ไม่สวมใส่มากถึง 2 เท่า ลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตถึง 39% ซึ่งการส่งเสริมพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยในชุมชนมีความท้าทาย เนื่องจากข้อจำกัดด้านทรัพยากร ค่านิยม และวัฒนธรรม สสส. จึงร่วมกับ สอจร. พัฒนาแนวทางการทำงานร่วมกับชุมชน เกิดด่านชุมชนปากหวาน ที่ใช้แนวคิด BBS: Behavior Base Safety เปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนการสื่อสาร ส่งเสริมพฤติกรรมที่ปลอดภัย พัฒนาศักยภาพคนในชุมชน ให้ดูแลพื้นที่ของตนเอง เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชน ลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ศูนย์การเรียนรู้ด่านชุมชนปากหวาน เป็นก้าวสำคัญของภาคประชาสังคม ในการหันมาจัดการปัญหาของตนเองอย่างเข้มแข็ง เป็นต้นแบบจัดการปัญหาให้คนทำงานป้องกันอุบัติเหตุทั่วประเทศ” นางก่องกาญจน์ กล่าว
นายนพ พงษ์พลาดิศัย รองผู้ว่าราชการ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ด่านชุมชนปากหวาน โดย สสส. และ สอจร. เป็นโครงการที่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม ควรส่งเสริม และขยายผล จ.ศรีสะเกษ ได้ศึกษาพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ โดยมีแนวทางการขยายผล ดังนี้ 1. สร้างการรับรู้ เผยแพร่ผลสำเร็จของโครงการนี้ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น เช่น สื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด่านชุมชนปากหวาน ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบ เปิดโอกาสให้พื้นที่อื่นๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้ 3. สนับสนุน องค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพของคณะทำงาน แกนนำชุมชน 4. บูรณาการด่านชุมชนเข้ากับแผนการป้องกัน ลดอุบัติเหตุของจังหวัด กำหนดเป้าหมายขยายผล 5. ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงรูปแบบให้สอดคล้องกับบริบท และความต้องการของแต่ละชุมชน เชื่อว่าจะสามารถขยายผล การดำเนินงานด่านชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนของประชาชนใน จ.ศรีสะเกษ ได้อย่างแท้จริง
นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ประธานแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) กล่าวว่า สอจร. มุ่งเน้นสนับสนุนให้ในจังหวัดหรือพื้นที่มี “พี่เลี้ยง สอจร. หรือ “นักวิชาการ สอจร.” คอยช่วยทำหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริมให้คนในพื้นที่ สามารถจัดการปัญหาด้วยตัวเอง ตามบริบท และวิถีชีวิต ด้วยการให้ทั้งองค์ความรู้ทางวิชาการ กระบวนการเรียนรู้ สร้างเครือข่ายความร่วมมือ การพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมที่สอดคล้องกับภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่ โดยในพื้นที่ของ อบต.กุดเสลา มีสี่แยกบ้านทุ่งสว่างเป็นจุดเสี่ยง ซึ่งเป็นเส้นทางไปยัง จ.อุบลราชธานี มีรถสัญจรเป็นจำนวนมาก เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงได้เลือกพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ต้นแบบในการร่วมกันแก้ปัญหา โดยมีต้นทุนทางสังคมคือ ท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการนำชุมชน “ด่านชุมชนปากหวาน” จ. ศรีสะเกษ เกิดจากพลังร่วมของคนในพื้นที่ สอจร. ได้ให้การสนับสนุนด้านวิชาการ การอบรม เพื่อให้ชุมชนสามารถขับเคลื่อนการตั้งด่านเพื่อรณรงค์การสวมหมวกนิรภัยได้ โดยเริ่มตั้งด่านในช่วงปีใหม่ 2566 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ รพ.สต.อสม. อปพร.ปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงเก็บข้อมูลการสวมใส่หมวกนิรภัย จากการดำเนินงาน พบว่า อัตราการสวมหมวกนิรภัยเพิ่มขึ้น จาก 33.8% เป็น 74.6% อุบัติเหตุลดลง 50% เป็นเสียชีวิตเป็นศูนย์
นายนิรันดร์ชัย ถุงจันทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดเสลา จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า อบต. กุดเสลา พบปัญหาอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์สูง สาเหตุมาจากไม่สวมหมวกนิรภัย จึงได้ระดมความคิดเห็นร่วมกับผู้นำชุมชน อสม. อปพร. ประชาชนในพื้นที่ วางแผน แบ่งบทบาทหน้าที่ กระตุ้นให้ผู้ขับขี่สวมหมวกนิรภัย โดยการทักทาย ให้กำลังใจ พร้อมกับสอบถาม และบันทึกข้อมูลการสวมหมวกนิรภัย ตั้งด่านเป็นประจำสม่ำเสมอ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ด่านชุมชนปากหวานประสบความสำเร็จ คือ 1. ความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน 2. สื่อสารเชิงบวก ทำให้ชาวบ้านเกิดความรู้สึกดี ให้ความร่วมมือ ไม่ใช่การสั่งการหรือบังคับ แต่เป็นการสร้างจิตสำนึกร่วมกัน 3. บันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้เห็นสถานการณ์ปัญหา พัฒนาการที่เกิดขึ้นได้ชัดเจน 4. ได้รับการสนับสนุนทั้งองค์ความรู้จาก สสส. และ สอจร. ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีทิศทาง และต่อเนื่อง ที่สำคัญคือ สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนให้มากที่สุด เพราะเมื่อรู้สึกเป็นเจ้าของ ก็จะช่วยกันคิด ช่วยกันทำ จนเกิดเป็นพลังของชุมชน
You must be logged in to post a comment Login