- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 32 mins ago
- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 7 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
ย้ำ!!กติกาสังคมที่ไม่มีสองมาตรฐานช่วยควบคุมเรื่องร้ายจากแอลกอฮอล์ได้
“ป้ามล” ฟาดไม่เลี้ยงในวงเสวนา เพราะมีประเทศแบบนี้ ประเทศที่เงินซื้อได้ทุกอย่างที่ทำให้กติกาของสังคม-กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์ แนะวิธีแก้เรื่องเหล้ากับเยาวชนอย่าใช้วิธีชี้นิ้วเป็นพวกตรงข้ามกับเขา สอดคล้องกับ สสส. ที่ใช้กฎ กติกาของชุมชนเข้ามาดูแลคนในชุมชนเรื่องแอลกอฮอล์
ที่ผ่านมา ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ และสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก(สำนัก1) ได้จัดงาน “ThaiHealth Watch 2024 The Series ตอน เล่าเรื่องเหล้า: อยากให้เรื่องเหล้า ไม่มีเรื่องร้าย” และเวทีเสวนา: สีสันเรื่องเล่าหลายมุมกับการจัดการปัญหาเหล้าในสังคมไทย
นางสาวรุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า มีคนไทยที่ดื่มแอลกอฮอล์น้อยกว่าคนที่ไม่ดื่ม เรามีคนดื่มแค่ 30% แต่อีก 70% ของคนในสังคมไทยได้รับผลกกระทบจากเรื่องร้ายๆของคนดื่มแอลกอฮอล์ เชื่อว่าทุกคนคงเคยเห็นเรื่องร้ายจากแอลกอฮอล์จากหน้าข่าวหรือบางคนเจอกับประสบการณ์ตรง ทั้งนี้ในส่วนของ สสส.มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว เพราะ สสส.อยากดูแดสุขภาพขของคนไทยแบบองค์รวม และแอลกอฮอล์เป็นอีกหนึ่งของสาเหตุที่กระทบต่อสุขภาพของคนไทยเลยจำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษ
สำหรับนโยบายการขยายเวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบางจังหวัดนั้น ทาง สสส.เข้าใจในนโยบายของภาครัฐที่จะต้องสร้างสมดุลให้กับสังคมในทุกมิติ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ หน้าตาของประเทศ เรื่องของการท่องเที่ยวที่รัฐพูดถึงบ่อย ถ้า สสส.มีโอกาสอยากจะฝากเสียงไปให้รัฐบาลที่อยากจะให้ชั่งน้ำหนักให้รอบด้านอย่างจริงจัง เพราะว่าในส่วนของเศรษฐกิจรายได้ที่เข้ามากับเทียบกับรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากแอลกอฮอล์ว่าเป็นอย่างไร อยากให้คิดทุกมิติรวมกัน ทั้งมิติของสุขภาพ ปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดจากแอลกอฮอล์ และมิติทางสังคมที่อาจจะหาตัวเลขที่แท้จริงค่อนข้างยาก โดยเฉพาะปัญหาครอบครัวที่ประเมินมูลค่าไม่ได้ สิ่งที่รัฐบาลจะทำได้คือการดูแล กฎ กติกาสังคมให้อยู่ร่วมกันได้ทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม เพราะเราเชื่อว่า กติกาสังคมไม่ว่าจะออกกฎหมายมาอย่างใด ทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่ รายเล็ก แข่งขันกันบนกฎหมายเดียวกันว่า โดยไม่เลือกดูแลว่าจจะเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่
ทุกวันนี้ สิ่งที่ สสส.ทำคือการพยายามนำเอาข้อเท็จจริงข้อมูลทางวิชาการ งานวิจัยต่างๆ มาเผยแพร่ให้คนไทยได้รับรู้ในหลายๆมิติรอบด้านมากขึ้นในทุกกลุ่มวัย รวมถึงการรณรงค์ให้ดูแลตนเองในเบื้องต้น แต่ต้องยอมรับกันว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคลกับการดูแลกติกาสังคมนั้น กติกาสังคมดูแลคนจำนวนมากได้มากกว่า เป็นเรื่องที่จำเป็นมากที่รัฐจะต้องให้ความสำคัญกับกติกาของสังคม
ซึ่งในส่วนของ สสส. พยายามที่จะทำให้ครบทุกมิติทางสังคม โดยเฉพาะชุมชนเขาจะรู้ปัญหาของชุมชนอยู่แล้ว แต่หลายชุมชนไม่เคยคิดว่าถ้าเขารวมตัวกัน แล้วจัดการปัญหาด้วยกติกาชุมชน กฎระเบียบบางอย่างเช่น งานบุญที่มีคนกินเหล้าตลอด ซึ่งเขาสามารถประกาศได้เป็นงานบุญปลอดเหล้าในชุมชน จะทำให้ปัญหาเหล่านี้ลดลงได้ และเป็นการจุดประกายให้ชุมชนต่างๆได้เห็นความสำคัญของกฎ กติกาของชุมชน ทาง สสส.จึงเน้นไปที่สิ่งที่คนในชุมชนเห็นชัดก่อน เช่น งานศพ งานบุญที่เดิมจะมีการดื่ม เปลี่ยนมาเป็นนโยบายของชุมชนให้งานต่างๆที่จัดขึ้นขอให้ไม่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย
นางสาวรุ่งอรุณ กล่าวว่า ที่ผ่านมาจากการทำงานของ สสส.พบว่า ประชาชนมีการรับรู้เรื่องของแอลกอฮอล์มากขึ้น ตัวอย่างเช่นวันสงกรานต์ที่มีการจัดระเบียบเปิดโซนนิ่งพื้นที่เล่นน้ำปลอดแอลกอฮอล์ในจังหวัดต่างๆรวมทั้ง กทม. สิ่งที่ สสส.ทำมาตลอดนั้น ว่าการจัดโซนนิ่งเล่นน้ำปลอดแอลกอฮอล์นั้นคนเล่นมีความสุขและมีความปลอดภัยมากกว่า และนักท่องเที่ยวเยอะขึ้น เพราะเขาพิสูจน์กันมาแล้ว หลังโควิดมาเรามีการจัดระเบียบพื้นที่เล่นน้ำ เราไม่ห้ามเรื่องการดื่มเพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคลแต่เราอยากเรียกร้องเรื่องความปลอดภัยในสังคม
ในอนาคตทาง สสส.ยังคงยืนยันและยืนหยัด และหาแนวร่วมในการทำงานมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาในหลายๆกระทรวงเห็นด้วยกับเรื่องของแอลกอฮอล์มากกว่าการรับรู้ว่ามันเป็นแค่ปัญหา และเข้ามาร่วมในการจัดการ เช่น กระทรวง พม.ที่เห็นชัดถึงปัญหาดังกล่าวจึงเข้ามาดูแลประชากรกลุ่มต่างๆที่เขาต้องดูแล เช่น กลุ่มผู้พิการ เด็กและเยาวชน สตรี เขาก็ออกมาขับเคลื่อนเรื่องเหล่านี้
ด้าน รศ.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อวิทยาการสุขภาพมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และนักวิจัยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ได้มาพูดถึงเรื่องเล่าการโฆษณา-การตลาดเหล้ายุคใหม่ต้องระวังอะไร สรุปได้ว่า แนวโน้มการดื่มของคนไทยลดลง แต่กลุ่มที่กำลังเป็นเป้าหมายใหม่ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คือ ผู้หญิง และเยาวชน ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่วนการโฆษณาอาจมารูปแบบแฝงในสื่อบันเทิง เช่น จากการศึกษาภาพยนตร์ 2,000 เรื่อง พบ 80% มีฉากดื่มแอลกอฮอล์ และอีก44% เห็นแบรนด์แอลกอฮอล์จริง และใน TOP 100 Film ในปี 2005 มีฉากดื่มแอลกอฮอล์ 282 ครั้ง
ในสังคมรับรู้กันแล้วว่า แอลกอฮอล์มีผลกระทลต่อสุขภาพ ดังนั้นรูปแบบการตลาดของบริษัทผู้ผลิตแอลกอฮอล์จึงเปลี่ยนไป หันมาเน้นเรื่องของสุขภาพ ด้วยการเบลอเส้นระหว่างปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพและสินค้าเพื่อสุขภาพ และยังมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น แอลกอฮอล์ที่มีน้ำตาล 0% หรือมาในรูปแบบของน้ำผลไม้ เครื่องดื่มที่ดูเพื่อเป็นเครื่องดื่มสุขภาพ เช่น กลิ่นหรือรสนมเปรี้ยว ซึ่งการตลาดดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงและสังคมต้องจับตาให้ดี ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด สรุปได้ว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในฐานะปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อสุขภาพ การตลาดรูปแบบต่างๆของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นำไปสู่ผลกระทบต่อสังคมและสุขภาพ
และในเวทีเสวนา :สีสันของเรื่องเล่าหลายมุมกับการจัดการปัญหาเหล้าในสังคมไทย ที่ได้นางทิชา ณ นคร หรือป้ามล ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน บ้านกาญจนาภิเษก ได้มาพูดถึงเรื่องของปัญหาและผลกระทบของแอลกอฮอล์ที่มีต่อเยาวชนนั้นเข้ามาร่วมในเวทีเสวนาในครั้งนี้ด้วย ไม่ว่าจะงานได้ก็ตามป้ามลของเด็กๆที่จะแสดงออกถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างตรงไปตรงมา หรือที่เรียกว่าฟาดกันไม่ยั้งเลยก็ว่าได้ ในครั้งนี้ก็เช่นกัน ป้ามลได้พูดถึงปัญหาของแอลกอฮอล์ที่เยาวชนได้รับซึ่งทั้งจากทางตรงและทางอ้อมที่มาจากครอบครัว ที่เด็กๆในบ้านกาญจนฯได้รับผลกระทบอย่างมาก
และเมื่อพูดถึงแอลกอฮอล์กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล ป้ามลบอกว่า เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไม่ได้เรื่องของคนๆเดียว แต่เป็นเรื่องของคน บ้าน และนโยบาย ทุกคนต้องยอมรับในความแตกต่างกัน เราจึงจำเป็นต้องมีกติกาสังคม แต่สำหรับประเทศนี้มันเฮงซวยที่มันทำให้กติกามันไม่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นประเทศเดียวที่เงินซื้อได้ทุกอย่าง ถามว่าเรื่องดังกล่าวใครต้องรับผิดชอบนั้นคือ เราต้องทำให้กฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมันเป็นความคาดหวังที่ไม่เคยมีความหวังในประเทศนี้จริงๆ
ป้ามล แนะนำว่า สำหรับเยาวชนกับแอลกอฮอล์นั้นเราต้องตั้งสติให้ได้ว่า เหล้าไม่ใช่เรื่องของสีขาวหรือสีดำเพียงอย่างเดียว เราจะต้องรู้ว่าเยาวชนเขาคิดอะไร เขาจะมีพื้นที่ในสังคมได้อย่างไรในเมื่อแก้วเหล้าเป็นสัญลักษณ์ต่างๆของเด็ก การจะไปห้ามชี้นิ้วที่ตรงข้ามกับเด็ก คุณอย่าหวังว่าจะไปได้รับความรร่วมมือจากเด็กๆ โดยเฉพาะการห้ามหรือข้อห้ามต่างๆ แต่เราต้องแปลงข้อมูลข่าวสารไปยังเด็กๆในรูปแบบที่เขาต้องการ
You must be logged in to post a comment Login