- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 23 mins ago
- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 7 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
ชป.เฝ้าระวังฝนตกหนักเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน เตรียมพร้อมรับมือน้ำป่าไหลหลาก
นายอัฏฐวิชย์ นาควัชระ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 สั่งการและกำชับให้โครงการชลประทานในพื้นที่ 3 จังหวัด (เชียงใหม่ ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) ให้เฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ตามประกาศ กนช. ฉบับที่ 8/2567 วันที่ 21 กรกฎาคม 2567 ให้เฝ้าระวังในช่วงวันที่ 24 – 31 กรกฎาคม 2567 โดยจังหวัดเชียงใหม่ คาดการณ์ว่าจะมีฝนตกหนักในเขตอำเภออมก๋อย และฝนตกปานกลางอำเภอดอยเต่า อำเภอแม่แจ่ม อำเภอฮอด อำเภอกัลยานิวัฒนา อำเภอเชียงดาว อำเภอพร้าว อำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย ซึ่งเป็นพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม รวมทั้งบริเวณตัวเมืองเชียงใหม่ที่มักเกิดน้ำท่วมขังบริเวณที่ลุ่มต่ำอยู่ประจำ
สำหรับสถานการณ์น้ำในเขตพื้นที่สำนักงานชลประทานที่ 1 ณ 27 กรกฎาคม 2567 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เขื่อนขนาดใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล มีปริมาณน้ำ 157 ล้าน ลบ.ม. (คิดเป็น 59% ของความจุอ่างฯ) เขื่อนแม่กวงอุดมธารา มีปริมาณน้ำ 110 ล้าน ลบ.ม. (คิดเป็น 42% ของความจุอ่างฯ) ยังอยู่ในเกณฑ์ควบคุม ส่วนอ่างฯขนาดกลาง 13 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 57.56 ล้าน ลบ.ม. (คิดเป็น 56% ของความจุอ่างฯ) ด้านอ่างฯขนาดเล็ก 116 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 36.85 ล้าน ลบ.ม. (คิดเป็น 56% ของความจุอ่างฯ)
ส่วนสถานการน้ำพื้นที่จังหวัดลำพูน อ่างฯขนาดกลาง 4 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 20.17 ล้าน ลบ.ม. (คิดเป็น 58% ของความจุอ่างฯ) อ่างฯขนาดเล็ก 38 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมประมาณ 11.54 ล้าน ลบ.ม. (คิดเป็น 56% ของความจุอ่างฯ)
ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ฮ่องสอน มีปริมาณน้ำ 831,020 ลบ.ม. (คิดเป็น 94% ของความจุอ่างฯ) มีการพร่องน้ำออกจากอ่างฯวันละประมาณ 35,424 ลบ.ม. ส่วนอ่างเก็บน้ำม่อนตะแลง มีปริมาณน้ำ 428,239 ลบ.ม. (คิดเป็น 79% ของความจุอ่างฯ) มีการพร่องน้ำออกจากอ่างฯวันละประมาณ 5,912 ลบ.ม. เพื่อเตรียมพื้นที่ไว้รองรับปริมาณฝนที่จะตกลงมาอีกในระยะต่อไป
ในการนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 ได้สั่งการและกำชับโครงการชลประทานทุก ให้เตรียมพร้อมรับมือและเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม เน้นย้ำให้ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 67 ของ กนช. อย่างเคร่งครัด ที่สำคัญให้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานในจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือนและสร้างการรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชน ตามนโยบายของรัฐบาล และร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หากหน่วยงานหรือประชาชนต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่โครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือโทร. สายด่วนกรมชลประทาน 1460
You must be logged in to post a comment Login