- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 7 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
กรมการข้าว ลุยแก้แมลงหวี่ขาวข้าวระบาดพื้นที่นาภาคกลางสำเร็จ พร้อมแนะเทคนิครับมือ
นายนพดล ประยูรสุข ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา กรมการข้าว เปิดเผยว่า จากที่พบการแพร่ระบาดของแมลงหวี่ขาวข้าว สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างในเขตนาชลประทานภาคกลางในฤดูนาปี 2567/68 โดยพบรายงานการแพร่ระบาดครั้งแรกที่จังหวัดสุพรรณบุรี ในเดือนมิถุนายน และแพร่กระจายไปในจังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี และลพบุรี รวม 5 จังหวัดประมาณ 100,000 ไร่ อย่างรวดเร็วในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา กล่าวต่อไปว่า เมื่อกรมการข้าวได้รับรายงานการแพร่ระบาดแมลงหวี่ขาวข้าวจากหน่วยงานในพื้นที่แล้ว ได้แจ้งการเฝ้าระวังไปยังศูนย์วิจัยข้าว ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวในพื้นที่พร้อมกับให้ดำเนินการลงสำรวจพื้นที่ พิสูจน์ว่า เป็นการเข้าทำลายของศัตรูข้าวชนิดใด และให้เจ้าที่ดำเนินงานประสานกับสำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอ ในการให้ความรู้ป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวข้าวให้มีประสิทธิภาพและไม่แพร่ระบาดขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง มีศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยาเป็นตัวแทนกรมการข้าวในพื้นที่ปฏิบัติงาน ได้ทำหนังสือแจ้งเตือนถึงสำนักงานเกษตรจังหวัดในการเฝ้าระวัง
“พร้อมกันนี้ ยังได้ใช้ระบบงานศูนย์เครือข่ายด้านข้าว ภายใต้ศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช ในการแก้ปัญหาให้เกษตรกร ประสานการทำงานร่วมกันทั้งกรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด โดยแบ่งทีมปฏิบัติการเป็น 4 ทีมย่อยลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอทั้ง 2 จังหวัด ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การกำจัดแมลงหวี่ขาวข้าวอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การวินิจฉัยว่าสาเหตุที่ทำให้ข้าว มีอาการผิดปกติคืออะไร และหากเป็นแมลงหวี่ขาวข้าว การแนะนำให้ใช้สารฉีดพ่นจะให้ใช้เพียงสารชนิดเดียวผสมกับสารจับใบ และฉีดพ่นซ้ำ 2 ครั้งห่างกัน 7-10 วัน โดยแนะนำให้ใช้สารไดโนทีฟูแรน อิมิดาโคลพริด ไพมีโทรซีน และซัลฟอกซาฟลอร์ อย่างใดอย่างหนึ่ง”
นายนพดล กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน ทางศูนย์ฯ ยังได้ประชาสัมพันธ์การป้องกันกำจัดผ่านทางเว็บไซต์ และเพจเฟซบุ๊คของศูนย์ และส่งข่าวผ่านกลุ่มไลน์ศูนย์ข้าวชุมชนทุกกลุ่มในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง นอกจากนี้ยังมีการทดสอบสารป้องกันกำจัดชนิดใหม่ๆ ในพื้นที่แพร่ระบาดตำบลทับน้ำ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยนักวิชาการด้านแมลงศัตรูข้าว จากกองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าวโดยเฉพาะอีกด้วย
“จากการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดในเดือนสิงหาคมลดลงอย่างมากเหลือพื้นที่แพร่ระบาดไม่ถึง 10,000 ไร่ ในพื้นที่ของจังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี และลพบุรี แต่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่องทั้งพื้นที่ใหม่และพื้นที่เก่าซึ่งแมลงแพร่ระบาดไปแล้ว และต้องสร้างการรับรู้และให้เกษตรกรทราบถึงการเข้าทำลายของแมลงหวี่ขาวข้าว และศัตรูข้าวอื่นๆ อีกด้วย” นายนพดล กล่าว
นายนพดล กล่าวเพิ่มเติมว่า แมลงหวี่ขาวข้าว เป็นแมลงขนาดเล็กประเภทแมลงปากดูด มีวงจรชีวิตสั้นประมาณ 17-24 วัน ตัวเต็มวัยมีปีกสีขาว 2 คู่ แต่ปีกบางไม่แข็งแรงจึงเคลื่อนที่ไปได้ไม่ไกล สามารถขยายพันธุ์ได้เร็ว เพราะวงจรชีวิตสั้นแล้ววางไข่ได้มากถึง 100-240 ฟอง ใต้ใบข้าว มักเข้าทำลายตั้งแต่ระยะต้นกล้าถึงระยะออกดอก จากลักษณะของแมลงประเภทปากดูดที่ดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโตใบข้าวจะมีสีเหลืองส้ม และหากไม่ป้องกันกำจัดจะทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้”
“เนื่องด้วยเป็นแมลงที่มีช่วงอายุสั้น จึงแพร่พันธุ์กระจายได้รวดเร็ว ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่ฝนทิ้งช่วงไม่ต่อเนื่อง มีช่วงที่อากาศแห้งแล้งเหมาะสมกับการแพร่ระบาดของแมลงชนิดนี้ และส่วนหนึ่งที่ทำให้การแพร่ระบาดขยายวงกว้างไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ เป็นผลมาจากการที่เกษตรกรไม่คุ้นเคยกับแมลงหวี่ขาวข้าว การป้องกันกำจัดในช่วงแรกๆ จึงไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร มีการใช้สารกำจัดแมลงผิดประเภท หรือใช้สารผสมอื่นๆมากเกินความจำเป็นซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพของสารกำจัดแมลงหวี่ขาวข้าวลดลง” นายนพดล กล่าว
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา ได้ให้ข้อแนะนำเพิ่มเติมว่า สิ่งที่อยากให้เกษตรกรได้ให้ความสำคัญ คือ ต้องหาสาเหตุของการทำให้ข้าวมีการเจริญเติบโตผิดปกติให้ได้ก่อนว่า เกิดจากสาหตุอะไร แมลง หรือโรคข้าวชนิดใดเข้าทำลาย แล้วใช้วิธีการที่เหมาะสมตามแต่สถานการณ์การแพร่ระบาด หากระดับการแพร่ระบาดรุนแรงหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็จำเป็นต้องใช้สารเคมีป้องกันกำจัด แต่ต้องใช้ให้ถูกชนิด อัตรา และเวลาที่เหมาะสมจึงจะมีประสิทธิภาพ และสุดท้ายเกษตรกรบางรายมีกังวลว่า แมลงหวี่ขาวข้าวจะเป็นแมลงพาหะนำโรคไวรัสมาแพร่ระบาดด้วยนั้น เพราะความเข้าใจผิดที่เห็นว่าใบข้าวมีสีส้มเหลืองนั้น ขอชี้แจงสาเหตุจริง ๆ ที่ใบข้าวมีสีส้มเหลืองเกิดจากการดูดกินน้ำเลี้ยงของแมลง และแมลงเองไม่ได้เป็นแมลงพาหะนำโรคข้าวชนิดใดไปแพร่ระบาดกับต้นข้าวที่ถูกดูดกินน้ำเลี้ยงนั้นเลย
You must be logged in to post a comment Login